นายอาร์เจย์ ชาร์มา ผู้อำนวยการใหญ่ ของ โนเกีย ประจำประเทศไทยและกัมพูชา เผยถึงเรื่องราวการปรับเปลี่ยนภาพลักษณ์แบรนด์และให้ข้อมูลเกี่ยวกับพันธกิจของบริษัทในการผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร
โนเกีย จัดแสดงไฮไลต์เทคโนโลยีพร้อมกลยุทธ์ของบริษัทภายหลังปรับภาพลักษณ์แบรนด์ใหม่ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพันธกิจระยะยาวของบริษัทเพื่อขับเคลื่อนและเร่งการเปลี่ยนสู่ดิจิทัลและการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่งาน ‘Amplify Thailand’ ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ วันนี้ โดยกลยุทธ์ล่าสุดนี้จะช่วยผลักดันให้โนเกียขึ้นสู่แถวหน้าด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีเครือข่ายทั่วประเทศ ในขณะเดียวกันนำเสนอโซลูชันเครือข่ายรุ่นใหม่ และนวัตกรรมเทคโนโลยีสำหรับ B2B ที่จะช่วยให้องค์กรธุรกิจและผู้ให้บริการเครือข่าย (CSP) สามารถสนับสนุนให้ประเทศไทยปลดล็อกศักยภาพด้านดิจิทัลและสร้างโอกาสด้านดิจิทัลไลเซชั่นได้เต็มศักยภาพยิ่งขึ้น
ภายในงาน นายอาร์เจย์ ชาร์มา ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท โนเกีย ประจำประเทศไทยและกัมพูชา ได้เผยให้ทราบถึงความเคลื่อนไหวและกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีล่าสุดของบริษัท รวมถึงข้อมูลการดำเนินกิจการในปัจจุบันของโนเกีย (ประเทศไทย) ต่อด้วยการนำเสนอเนื้อหาที่น่าสนใจจากนายเทเรนซ์ แมคเคบ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านเทคโนโลยี บริษัท โนเกีย ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และประเทศญี่ปุ่น ที่มาเผยถึงภาพรวมเกี่ยวกับความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี รวมทั้งนวัตกรรมและโซลูชันทางเทคโนโลยีล่าสุดของโนเกีย
ตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมล่าสุดที่โนเกียได้นำมาแสดงในประเทศไทยหลังจากจัดแสดงในงาน Mobile World Congress 2023 (MWC’23) ณ กรุงบาร์เซโลน่า ประเทศสเปน ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ได้เผยถึงบทบาทของบริษัทในการผลักดันด้านดิจิทัลไลเซชั่นในประเทศไทย และหนทางที่จะช่วยส่งเสริมให้กลุ่มลูกค้าของโนเกียสามารถเปลี่ยนผ่านและเตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่โลกดิจิทัลที่สมจริง เชื่อมต่อถึงกัน และไร้รอยต่อยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้จะสามารถทำให้สำเร็จได้ผ่านนวัตกรรมและโซลูชันล่าสุดจากโนเกีย ที่จะพลิกโฉมอุตสาหกรรมหลักของประเทศไทยสู่ความเป็นดิจิทัล ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้อุตสาหกรรมเหล่านั้นสามารถเพิ่มขีดความสามารถด้านผลิตภาพที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้
เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นดังกล่าว โนเกีย ได้จัดซีรีย์งานแสดงผลงานทางเทคโนโลยีขึ้นมากมายเพื่อเผยให้เห็นสุดยอดนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีทั้งหมดสำหรับองค์กรธุรกิจ รวมทั้งเครือข่ายเคลื่อนที่ เครือข่ายคลาวด์ และเทคโนโลยีโครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย โดยมีไฮไลต์สำคัญที่คัดสรรมาเป็นพิเศษกับผลงานที่โนเกียได้นำไปจัดแสดงในงานระดับโลกอย่าง Mobile World Congress 2023 ที่ผ่านมา สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าโนเกียมีจุดยืนที่ชัดเจนกับการกำหนดอนาคตของอุตสาหกรรมในประเทศไทย และผลักดันความก้าวหน้าในด้านเศรษฐกิจสังคมโดยการช่วยสนับสนุนผู้ให้บริการเครือข่ายและองค์กรในประเทศไทยตลอดเส้นทางของ 5G และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล
นวัตกรรมที่นำมาจัดแสดงในงาน ประกอบด้วย
- MX Industrial Edge
- Nokia MX Industrial Edge คือ โซลูชัน Edge สำหรับองค์กรที่พร้อมสำหรับอนาคต ซึ่งสามารถเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของเทคโนโลยีด้านปฏิบัติการ (OT) ที่เป็นการผสานความรวดเร็วเข้ากับความง่ายในการใช้งานของโมเดล edge-as-a-service เข้ากับสถาปัตยกรรมเอดจ์ที่มีประสิทธิภาพสูง ยืดหยุ่น และปลอดภัย โซลูชันนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการในภารกิจที่สำคัญสำหรับสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรมที่เน้นความสำคัญในสินทรัพย์
- Nokia MX Industrial Edge ที่เอื้อต่อกรณีการใช้งานด้านธุรกิจที่สำคัญสำหรับองค์กร เช่น การติดตามแบบเรียลไทม์ของสัญญาณวิดีโอและการแจ้งเตือน รวมทั้งโซลูชันการวิเคราะห์วิดีโอขั้นสูงสำหรับการใช้งานในภารกิจสำคัญ อาทิ การรับรองคุณภาพและความปลอดภัย
- NetGuard Cybersecurity Dome
- NetGuard Cybersecurity Dome คือ โซลูชันด้านความปลอดภัยระบบ Orchestration ระดับรางวัล ที่มาพร้อมกับกรณีใช้งาน 5G ที่ติดตั้งล่วงหน้าสำหรับการรับรองความปลอดภัยเครือข่าย ทีมดูแลด้านความปลอดภัยผ่านระบบ Orchestration สามารถเลือกกรณีใช้งาน 5G ได้จากแคตตาล็อกแบบครบวงจร (Comprehensive catalogue) ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคมทั้งหมด ตั้งแต่สถานีฐาน (RAN) จนถึงโครงข่ายขนส่ง (Transport) และโครงข่ายหลัก (Core)
- บริการเหล่านี้อยู่บนพื้นฐานความสามารถของระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบตรวจหาและตรวจสอบแบบขยาย หรือ XDR (Extended Detection and Response) ที่เก็บข้อมูล รวบรวม วิเคราะห์ และเทียบเคียงความสัมพันธ์ของข้อมูลความปลอดภัยจากแหล่งข้อมูลจากหลากหลายที่มา และทำให้สมบูรณ์ขึ้นด้วยบริบทด้านการสื่อสารโทรคมนาคมที่จะช่วยให้ทีมฝ่ายปฏิบัติการด้านความปลอดภัยเข้าถึงความเสี่ยงทางธุรกิจ ปรับปรุงพัฒนาการตัดสินใจ รวมถึงการควบคุมค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น
- กลุ่มผลิตภัณฑ์โซลูชันเครือข่ายออปติคอล (Nokia Optical Product Solutions Portfolio)
- ผลิตภัณฑ์และโซลูชันเครือข่ายออปติคอลของโนเกีย ช่วยให้สามารถใช้งานเครือข่ายที่เพิ่มขึ้นได้อย่างไม่จำกัด เพื่อเปิดใช้งานการเชื่อมต่อพื้นฐานสำหรับการสื่อสารแบบเครือข่าย โซลูชันของโนเกียที่เพิ่มความสามารถของเครือข่ายนับจากเครือข่ายเอดจ์ (Edge) และข้ามไปถึงระบบการเชื่อมต่อสัญญาณข้อมูลแบบระยะไกล/ แกนหลัก (long-haul/core) และใต้ทะเล ไปพร้อมกับการลดความซับซ้อนในการทำงานของเครือข่ายให้มีความฉลาดและเป็นอัตโนมัติยิ่งขึ้น เพื่อส่งมอบบริการที่มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นและลดค่าใช้จ่ายการเป็นเจ้าของเครือข่าย (TCO)
- โซลูชันเครือข่ายอัตโนมัติ (Network Automation) ของโนเกียจะช่วยให้ผู้ให้บริการด้านการสื่อสาร ผู้ประกอบธุรกิจให้บริการ Webscale และองค์กรขนาดใหญ่สามารถเพิ่มผลประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- ความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมของโนเกียที่ขับเคลื่อนผ่านการพัฒนาชิปเซ็ตขึ้นเอง
- ชิปเซ็ต ReefShark ของโนเกีย มาเพื่อเสริมพอร์ตเครือข่าย 5G แบบครบวงจรให้โนเกีย เป็นการเพิ่มความชาญฉลาดและประสิทธิภาพให้กับเสาอากาศ MIMO ขนาดใหญ่ และโมดูลระบบ AirScale สำหรับชิปเซ็ตที่โนเกียได้พัฒนาขึ้นและนำไปต่อยอดเพื่อประสบการณ์การใช้งานที่เพิ่มขึ้นนี้มาพร้อมกับซิลิคอนดีไซน์ เช่นเดียวกับความชำนาญของบริษัทในการพัฒนาเสาอากาศสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่และนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์จาก Nokia Bell Labs ที่ทำให้โซลูชันที่มีสมรรถนะสูงและประสิทธิภาพสูงเกิดขึ้นจริงได้
- แพลตฟอร์มที่เปิดใช้งานชิป PSE-6s ของโนเกีย ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานเครือข่ายมั่นใจในเครือข่ายการส่งข้อมูลออปติคอลว่าสามารถปรับขนาดสัญญาณให้สอดคล้องกับความต้องการความจุที่เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ เพื่อส่งมอบบริการคลื่นความถี่แบบไฮสปีดสูงด้วยประสิทธิภาพที่รวมถึง400GE และ 800GE ขณะเดียวกันยังช่วยลดการใช้พลังงานในเครือข่ายลงอีกด้วย
- ชิปเซ็ต Quillion รองรับโมดูล GPON, XGS-PON, NG-PON2 และ Multi-PON (เช่น GPON+XGS-PON) ของโนเกีย มาพร้อมความหนาแน่นของพอร์ตในระดับชั้นนำของอุตสาหกรรม และความสามารถในการไม่ปิดกั้นแบบเต็มขั้น และยังประหยัดพลังงานได้ถึง 50% ช่วยเพิ่มคุณสมบัติทางการแข่งขัน รวมถึงการนำเสนอนวัตกรรมและสิ่งที่แตกต่างในเวลาที่เหมาะสม โนเกียได้ตัดสินใจเชิงกลยุทธ์เพื่อใช้ประโยชน์จากความสามารถในการออกแบบ ASIC การประมวลผลเครือข่ายประสิทธิภาพสูงที่เป็นที่ยอมรับ และพัฒนาชิปเซ็ต Quillion ขึ้นมา
- ซิลิคอนประมวลผลเครือข่าย FP5 ของโนเกีย กับคุณสมบัติที่พัฒนาแบบก้าวกระโดดของเครือข่าย IP อันทรงประสิทธิภาพ ที่ยังมาพร้อมคุณสมบัติใหม่ที่ช่วยปกป้องการรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายจากภัยคุกคามด้านความปลอดภัยอีกด้วย ชิปเซ็ต FP5 คือ ซิลิคอนรูตติ้งที่มาพร้อมการเข้ารหัสแบบ Integrated Line Rate Encryption สำหรับบริการเครือข่ายแบบ L2, L2.5 และ L3 ที่ความเร็วสูงสุดได้ถึง6 Tb/s โดยชิปเซ็ต FP5 ได้สร้างนิยามใหม่ด้านความยั่งยืนให้กับการวางเส้นทางเครือข่าย IP โดยช่วยลดการสิ้นเปลืองพลังงานได้ถึง 75% เมื่อเทียบกับชิปเซ็ตรุ่นก่อน
- ชาร์จพลังเครือข่ายแบบซูเปอร์ผ่าน NPO
- ระบบการวางแผนและเพิ่มประสิทธิภาพเครือข่าย (Network Planning and Optimization (NPO)) ที่ดีที่สุดในพอร์ตดิจิทัลของโนเกีย ซึ่งช่วยในการเติบโตที่ยั่งยืนให้กับธุรกิจเครือข่ายเคลื่อนที่ โดยระบบนี้จะช่วยเสริมประสิทธิภาพให้กับลูกค้าในแง่ของการส่งมอบพอร์ตฟอลิโอ เครื่องมือ และกระบวนการที่เป็นนวัตกรรมใหม่
- พอร์ตฟอลิโอ Automation and Digitalization ของโนเกียที่กำหนดประสิทธิภาพเครือข่ายไว้ที่จุดศูนย์กลาง ซึ่งออกแบบมาเพื่อช่วยผลักดันวิวัฒนาการพอร์ตฟอลิโอให้รองรับกับเทคโนโลยีใหม่สำหรับการแยกข้อมูลของโครงข่ายสถานีฐาน (RAN disaggregation) ด้วย O-RAN และ vRAN นำมาซึ่งความยั่งยืนเชิงสภาพแวดล้อมผ่านการออกแบบของเครือข่ายเคลื่อนที่และการส่งมอบบริการ NPO
นายอาร์เจย์ ชาร์มา ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท โนเกีย ประจำประเทศไทยและกัมพูชา กล่าวว่า “เรายังคงยึดมั่นในการสนับสนุนประเทศไทยให้เดินหน้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งเทคโนโลยีของเราสามารถช่วยในการผลักดันการเปลี่ยนสู่ดิจิทัลในทุกภาคอุตสาหกรรม เราเชื่อว่าอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากผลิตภาพที่เพิ่มขึ้น โซลูชันเพื่อความยั่งยืนที่ได้รับการส่งเสริม และการเข้าถึงที่มากขึ้นผ่านการบริหารจัดการโซลูชันดิจิทัล โนเกียได้ทุ่มเทอย่างต่อเนื่องเพื่อให้การสนับสนุนแก่คู่ค้าและลูกค้าของเราตลอดเส้นทางนี้ และเราหวังที่จะได้ผลักดันให้เกิดการพัฒนาประเทศได้อย่างต่อเนื่องต่อไป”