Skill

KBank กับภารกิจ Re-Skill และ Up-Skill คนหลาก Gen

การพัฒนาทักษะ (Skill) ของบุคลากร ต้องเปิดโอกาสให้ได้เรียนรู้ทั้งเรื่องงาน และไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตส่วนตัว ผ่านการเรียนรู้ใหม่ที่เรียนได้ทุกที่ทุกเวลา…


highlight

  • ธนาคารกสิกรไทย (KBank) ตั้งเป้าก้าวสู่การเป็น “องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล” (Data-Driven Bank) เตรียมสานต่อโครงงการยกระดับทักษะ (Skill) ให้แก่บุคลากรภายใน ผ่านแนวคิด การเรียนรู้แบบนำตนเอง (Self-Directed Learning) ด้วยแผนในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ขึ้น ชื่อว่า “4Dx Learning Development Framework” หรือ “4Dx”

กสิกร ยกระดับ Skill คน ด้วยวิธี Self-Directed Learning หวังพลิกโฉมบุคลากรก้าวทันยุค 4.0

กระแส ดิจิทัลดิสรัปชั่น (Digital Disruption) ที่เกิดขึ้น ทำให้วันนี้องค์กรชั้นนำในทุกๆ อุตสากรรมจำเป็นต้องปรับตัวในหลากหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการพัฒนาธุรกิจ การปรับกลยุทธ์ ให้สอดรับกับกระเเสพฤติกรรมผู้บริโภค 

ทั้งนี้หากมองให้ลึกกระแสดังกล่าวไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อรูปแบบของการดำเนินธุรกิจเท่านั้น แต่ยังสร้างผลกระทบในรูปแบบลูกโซ่ โดยเฉพาะกับตัวบุคลากรภายในองค์กร ที่ถือฟันเฟืองหลักสำคัญที่อาจจะเป็นสิ่งที่จะตัดสินความอยู่รอดขององค์กร

เป็นเหตุให้องค์กรต้องปรับเพิ่มทักษะที่จำเป็นต้องเสริมทักษะใหม่ (upskill) และการเพิ่มทักษะใหม่ที่จำเป็น (reskill) ให้แก่ บุคลากร เพื่อธุรกิจ หรือองค์กรสามารถอยู่รอดท่ามกลางโลกดิสรัปชั่น (Disruption) ธุรกิจได้

และต้องดำเนินการในทันที ไม่ว่าพนักงานจะเห็นด้วย หรือไม่ก็ตาม ล่าสุด BusinessPlus ได้มีโอกาสพูดคุยกับ นางสาวขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในประเด็นดังกล่าวซึ่งได้ให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจว่า

Skill
ขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

ปัจจุบันเป็นยุคที่ดิจิทัลเทคโนโลยีเข้ามามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของคนทุกเพศทุกวัย อีกทั้งมีองค์ความรู้ใหม่เกิดขึ้นตลอดเวลา ส่งผลให้วิธีคิดของการบริหารจัดการ และพัฒนาทรัพยากรบุคคลจำเป็นต้องเปลี่ยนไปด้วย

เพื่อสร้างสร้างองค์ความรู้ที่พนักงานเข้าถึงได้ง่าย ตรงกับพฤติกรรม ความต้องการ สภาพแวดล้อมการทำงาน และความต้องการหลากหลาย ซึ่ง ธนาคารกสิกรไทย ในฐานะที่เป็นแบงค์ที่ส่งมอบบริการที่ดีเยี่ยมในทุกธุรกรรมทางการเงินให้ผู้ใช้บริการ 

ที่มีเป้าหมายในการส่งมอบบริการได้ทุกในทุกแพลตฟอร์มชีวิตของลูกค้า เราจึงต้องการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจในหลาย ๆ ด้าน และก้าวสู่การเป็น องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data-Driven Bank) ที่เข้าใจพฤติกรรมของลูกค้าให้มากที่สุด

และนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า และให้บริการได้อย่างเหนือความคาดหวัง แต่เนื่องจากกสิกรไทยเป็นธนาคารพาณิชย์ที่ให้บริการมาอย่างยาวนาน จึงทำให้บุคลากรภายในองค์กรของเรามีหลาก เจเนอเรชั่น (Generation) 

โดยมีสัดส่วนพนักงานใน Gen ต่าง ๆ ได้แก่ Gen Baby Boomer 5.9%, Gen X  20.3%, Gen Y  67.8% และGen Z  6.1%  ซึ่งความแตกต่างกันของคนภายในองค์กรของกสิกรทำให้เรามองหาวิธีการที่จะสร้างกระบวนการเรียนรู้

ที่ช่วยเสริมขีดความสามารถให้ทุก Gen เข้าใจ และใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอซึ่งทักษะความสามารถที่ธนาคารต้องการให้พนักงานมีมากที่สุดในขณะนี้ คือ ทักษะการวิเคราะห์ (Analysis thinking) การหาความต้องการเชิงลึก (Customer Requirement)

ทักษะในการทดลอง และขยายผล (Experimenting and expand the results) และทักษะเกี่ยวกับการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management Skills) อาทิ การเป็นผู้นำ (Lead Change) การสื่อสาร (Communication) หรือ People Management Skills

ดังนั้นหนึ่งในกลยุทธ์หลักของธนาคารกสิกรไทยตั้งแต่ปี พ. ศ. 2561 เป็นมาคือการยกระดับขีดความสามารถทางด้านทักษะ และความคิด ในแต่ล่ะ Gen

โดยเน้นการอบรมพนักงานให้มุ่งใช้ข้อมูลเพื่อนำเสนอโซลูชั่นที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าทุกคน และเพื่อการตัดสินใจขั้นสูงในองค์กร ธนาคารจึงได้จัดทำ แผนในการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ขึ้น ชื่อว่า 4Dx Learning Development Framework หรือ 4Dx

Skill

ซึ่งถูกออกแบบมาเพื่อพัฒนาความรู้ ความสามารถให้แก่พนักงาน และเพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมขององค์กร ซึ่งแผน 4Dx จะประกอบไปด้วย 4 แก่น ได้แก่

  • ภาวะผู้นำแบบดิจิทัล (Digital Financial Leadership)
  • ความสามารถด้านดิจิทัล (Digital Talents)
  • วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่สนับสนุนด้านดิจิทัล (Digital Culture & Life Style)
  • การเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจทัล (Digital Change Enablement)

*ในขณะที่ x ตัวเร่งความเร็ว (Xcelerator)

ซึ่งในแก่นของ การสร้างภาวะผู้นำแบบดิจิทัล ธนาคารได้เตรียม โปรแกรมเพื่อพัฒนาความพร้อมของผู้บริหารทั้งในด้านทักษะความสามารถ และทัศนคติ เพื่อที่จะสามารถสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพได้

โดยมีโปรแกรมพิเศษในรูปแบบการเข้าอบรมออฟไลน์ สำหรับผู้บริหารที่จะเข้าร่วม (MDP) ที่ได้จัดหมวดหมู่หลักสูตรการเรียนรู้ไว้แล้วเพื่อพัฒนาทั้งด้าน Leading Business

และ Leading People การเรียนรู้แบบออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำแบบดิจิทัลที่สำคัญ และ Community ที่ทำให้ได้รับความรู้ และข้อมูลที่ทันสมัยอยู่เสมอ

Skill

แก่น ความสามารถด้านดิจิทัล ธนาคารกสิกรจะ แบ่งออกเป็น 2 ด้าน โดยด้านของ Data Analytic Program จะเตรียมพนักงานให้พร้อมสู่องค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล เพื่อนำข้อมูลของธนาคารมาวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า

เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบริการให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้มากที่สุด ซึ่งมีรูปแบบการพัฒนาทั้งการอบรมจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และแชร์ประสบการณ์จากการสัมมนาของนักคิด นักปฏิบัติชั้นนำระดับประเทศ และระดับโลก

เพื่อเติมเต็มความรู้ ความเข้าใจถึงความสำคัญ และทักษะการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น PowerBI, Qlik Sense และ Python เป็นต้น และการเรียนรู้แบบออนไลน์ จากสถาบันชั้นนำทั้งไทย และต่างประเทศ เพื่อตรียมพร้อมไว้สำหรับการเรียนรู้ของพนักงานที่สามารถพัฒนาตนเองได้ทุกที่ ทุกเวลา 

ด้าน Digital Literacy Program สร้างความสามารถด้านดิจิทัลให้แก่พนักงานธนาคารทุกคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลได้อย่างราบรื่น ซึ่งโปรแกรมนี้แบ่งความสามารถดิจิทัลออกเป็น 3 ระดับ  (Live, Execute และ Lead) ตามเป้าหมายที่ธนาคารกสิกรไทย

โดยจะเน้นรูปแบบการเรียนรู้แบบออนไลน์ และการสร้างชุมชนเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกัน และกัน เรียกว่าจะพัฒนาทั้งแบบ ออนไลน์ และออฟไลน์ ควบคู่กัน

ส่วนแก่น วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมในการทำงานที่สนับสนุนด้านดิจิทัล ธนาคารจะสร้างวัฒนธรรม และสภาพแวดล้อมที่กระตุ้นให้พนักงานเพิ่มขีดความสามารถมในทักษะด้านดิจิทัล  มีการจัดทอล์กภายใต้ชื่อ YES Talk ขึ้น

โดยเป็นพื้นที่ ให้พนักงานโชว์ศักยภาพในการสร้างแรงบันดาลใจให้กับเพื่อนพนักงาน  K-Style DIY เป็นกิจกรรมที่สร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานด้วยมุมมองที่ต่างจากการทำงานนอกจากนี้ยังมีสัมมนาระดับองค์กรที่มี Speaker และ Influencer  นักคิด นักปฏิบัติ

มาช่วยแบ่งปันประสบการณ์ เพื่อให้พนักงานมีความรู้ ความสามารถที่จะทำสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นในองค์กร โดยจะเน้นให้พนักงานสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความสนใจ หรือ On-demand นั้นคือ เราเปิดโอกาสให้พนักงานเลือกเรียน

และออกแบบการเรียนรู้ในเรื่องที่ตนสนใจได้  นอกจากนี้ยังมีโครงการ การพัฒนาภาวะผู้นำผ่านโครงการ K-Coaching Academy โดยมีการจัดหลักสูตรพัฒนาทักษะการโค้ชตามมาตรฐานสากล (International Coaching Federation: ICF) ให้แก่กลุ่มผู้บริหาร

ในขณะเดียวกันยังจัดโครงการ “พี่อยากโค้ช น้องอยากคุย” เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานได้เลือกผู้บริหารในระดับผู้บริหารฝ่าย และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการมาเป็นโค้ชให้แก่ตนเอง

Skill

ส่วนแก่นสุดท้าย การเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจทัล กสิกรเตรียมสร้างเครือข่ายผู้แทนเพื่อช่วยสื่อความด้านการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ให้แก่องค์กร (Change Maker) ธนาคารได้ริเริ่มจัดกิจกรรมนี้ขึ้นเพื่อพัฒนาทักษะให้กับ Change Maker

ที่กระจายอยู่ในทุกฝ่ายงานของธนาคาร โดยเน้นความคล่องตัวในการทำงาน ความยืดหยุ่น และความรวดเร็ว (Strategically move with speed and agility) เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร

ซึ่งทั้งหมดจะถูกดูแลโดยหน่วยงาน KBank Digital Academy ขับเคลื่อน และกำหนดระดับของการพัฒนาแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ

  1. Live Digital โดยทำความเข้าใจให้พนักงานให้ยอมรับการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ และเปิดรับการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยน และเพิ่มความสามารถในด้านดิจิทัล
  2. Execute Digital พัฒนาพนักงานให้สามารถนำเทคโนโลยีมาเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และนำพาพนักงานอื่นไปสู่แนวคิดการทำงานใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง
  3. Lead Digital สร้างพนักงานให้สามารถนำเทคโนโลยีมาสร้างโซลูชั่น และนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า และนำธนาคารไปสู่การเป็น Beyond Banking

Skill

ทั้งนี้ KBank Digital Academy ได้เริ่มต้นจากการออกแบบการเรียนรู้ และพัฒนาออนไลน์แพลตฟอร์มซึ่งเป็นช่องทางการเรียนรู้ที่สนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบเรียนด้วยตนเอง (Self-Learning) สำหรับพนักงานทุกคน

Skill

นอกจากนี้ ภายในปี 2562 ธนาคารยังได้เตรียมเสริมหลักสูตรให้พนักงานเลือกที่จะเรียนรู้กว่า 4,000 หลักสูตร โดยพนักงานของธนาคารกสิกร จะสามารถเลือกเรียนรู้ได้ตามความต้องการ

ซึ่งหลักสูตรเหล่านี้มาจากการพัฒนาให้ตอบโจทย์ธุรกิจและไลฟ์สไตล์ จากพาร์ทเนอร์ด้านหลักสูตรออนไลน์ (Online Course) ระดับแนวหน้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่าง SkillLane TBAC Coursera edX

และจากความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยเสริมศักยภาพการทำงานให้บุคลากรกว่า 21,000 คน มุ่งสู่วัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วยตัวเอง Self-Directed Learning อย่างเต็มรูปแบบ พนักงานจะได้เรียนรู้แบบไร้ขีดจำกัด ทุกที่ทุกเวลา

เราเชื่อว่าการนำ Digital Learning Platform ของ SkillLane เข้ามาเพิ่มเป็นอีกช่องทางเรียนรู้จะทำให้พนักงานแต่ละคนสามารถเรียนผ่านออนไลน์ได้อย่างไม่จำกัด พนักงานบางคนอาจจะเรียนได้ปีละมากกว่า 100 หลักสูตร

ถ้ามีความพยายามและสนใจในการเรียนรู้ รวมทั้งจะมีการพัฒนาหลักสูตรใหม่ที่พนักงานสนใจในอนาคตให้มากยิ่งขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มการเรียนรู้ของพนักงานเป็น 20 หลักสูตรต่อคนต่อปี ภายใน 3 ปี

นอกจากนี้กสิกรยังมี Kasikorn Library ห้องสมุดออนไลน์ที่มีหนังสือจำนวนกว่า 19,000 เล่ม และ Ookbee หนังสือหรือนิตยสารออนไลน์ ซึ่งพนักงานทุกคนสามารถเข้าถึงได้ผ่านคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือทุกที่ ทุกเวลา 

Skill

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: วิทยา กิจชาญไพบูลย์ (บรรณาธิการบริหาร)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com, 
FB : RedSun Thailand Tokpokki

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่  www.facebook.com/businessplusonline

ประกันภัยไทยวิวัฒน์