Reskill

แค่เทรนนิ่งไม่พอ….!! อยากรอดต้องรู้จัก ปรับปรุงทักษะ (Reskil) ของบุคลากร

ถึงเวลาปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ด้วยการเพิ่ม (UpSkill) และปรับปรุง (Reskill) ให้แก่บุคลากร เพื่อให้ธุรกิจก้าวข้ามขีดจำกัดในยุคที่สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงเร็ว…


highlight

  • กลไกหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คือ “คน” ดังนั้น การช่วยให้พนักงานพัฒนา และยกระดับทักษะให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ จึงนับเป็นเรื่องสำคัญ และเร่งด่วน
  • หลายองค์กรโดยเฉพาะองค์กรใหญ่ ๆ กำลังตื่นตัวเพื่อ “รีสกิล” (Reskill) บุคลากรในองค์กร เพื่อเพิ่มศักยภาพทั้งเชิงปฎิบัติ และทฤษฏี เราจะเห็นธุรกิจมิติใหม่ ๆ อย่าง ธนาคารไทยพาณิชย์ SCB ได้ “รีเฟรม” (Reframe) องค์กรพร้อมกับ “รีสกิล” (Reskill) จนเกิดเป็น SCB Academy เป็นต้น

จากรายงานของ World Economic Forum กล่าวว่า 35% ของทักษะหลัก จะถูกเปลี่ยนแปลงระหว่างปี 2015 ถึง 2020 ในขณะที่กว่า 40% ของพนักงานได้กล่าวว่า พวกเขายังขาดทักษะความชำนาญเฉพาะทาง

ที่จะมาเติมเต็มในตำแหน่งงานที่กำลังเผชิญอยู่ US Bureau of Labor Statistics เผยว่า ในทุก ๆ 5 ปี ทักษะที่เรามีจะมีค่าเหลือครึ่งเดียว และด้านผลสำรวจจาก Mckinsey ก็ยืนยันไปในทางเดียวกันว่า

โดยภายในปี 2030 มีการคาดการณ์ว่าแรงงานกว่า 375 ล้านคน จำเป็นต้องพัฒนาทักษะของตนเอง และเสริมทักษะใหม่ ๆ เพื่อให้สอดรับกับการทำงานในอนาคต

Reskilling ทางรอดขององค์กรยุคใหม่

การมีทักษะและความสามารถในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในโลกปัจจุบันและอนาคต จึงกลายเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และพลวัตของมันทำให้อะไรหลาย ๆ

อย่างไม่สามารถคาดเดาได้ จึงไม่แปลกที่ในยุคสมัยนี้เราถึงได้ยินคำว่า Reskill อยู่ตลอดเวลา ซึ่งการพัฒนาทักษะที่มีอยู่ (Reskill) และเสริมทักษะใหม่ (Upskill) จะเป็นกุญแจสำคัญสำหรับคนทำงานในอนาคต

องค์กรควรหันกลับมามองว่า พนักงานของตนยังมีทักษะที่เหมาะกับงานในอนาคตอยู่หรือไม่ และส่งเสริมให้มีการพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นอาจกล่าวได้ว่า บนโลกที่เทคโนโลยีเข้ามากลืนกิน และเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมของการทำงานทั่วโลก

ทำให้หลายองค์กรเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและวิถีการทำงานใหม่ ลุกลามถึงกลุ่มธุรกิจเล็ก ๆ และกลุ่มฟรีแลนซ์ สิ่งหนึ่งที่เราทุกคนต้องรับรู้ คือ เราต้องปรับตัว เสริมองค์ความรู้ หรือต้องอัพเลเวลด้วยทักษะใหม่ ๆ เพื่อพิชิตชัยสมรภูมิธุรกิจที่แข่งขันกันอย่างเข้มข้น

แน่นอนว่า กลไกหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คือ “คน” ดังนั้น การช่วยให้พนักงานพัฒนา และยกระดับทักษะให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ จึงนับเป็นเรื่องสำคัญ และเร่งด่วน

Reskill

 

แต่ประเด็นอยู่ที่ว่า หลายองค์กรนั้นยังไม่เข้าใจถ่องแท้ถึงความหมายของคำว่า เทรนนิ่ง (Training) และรีสกิล (Reskill) ทำให้เกิดความสับสน ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน และประสิทธิผลของผลงานที่ไม่เต็มที่ 

การสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อขับเคลื่อนองค์กร ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า “ปัญหาขององค์กรอยู่ตรงไหน เราจะอุดรูรั่วและสร้างเส้นทางใหม่ ๆ ได้อย่างไร” สิ่งหนึ่งที่หลายองค์กรคิด คือ การส่งบุคลากรเข้า “เทรนนิ่ง” (Training) ในแต่ละเรื่อง

ซึ่งเป็นแนวคิดการแก้ปัญหาที่เริ่มต้นจากการถ่ายทอดประสบการณ์ ปัญหา แนวทางแก้ไข จากผู้ที่มีประสบการณ์สูงสู่คนที่อยู่ในระดับล่าง หรือโดยส่วนมากคือการนำกลุ่มคนระดับผู้นำเข้าอบรมเรื่องใหม่ ๆ

เพื่อหาแนวทางออกรวมกัน ซึ่งมักจะได้ผลในการแก้ไขปัญหาในระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะคนที่อยู่ระดับล่างลงมาจะไม่เข้าใจว่าองค์กรกำลังทำอะไร และต้องการขับเคลื่อนอย่างไร ทำให้เราต้องจัด “เทรนนิ่ง” (Training) เป็นกลุ่มให้มีความเชี่ยวชาญอยู่ตลอดเวลา

แต่สุดท้ายบุคลากรก็จะเกิดความเคยชิน และอาจเกิดความเบื่อหน่ายที่ต้องเทรนนิ่งเรื่องเดิม ๆ แต่สำหรับ “รีสกิล” (Reskill) เสมือนทางออกในยุคนี้ คือ เป็นการฝึกฝนและพัฒนาความรู้และทักษะใหม่ ๆ ที่เราไม่เคยเรียนรู้มาก่อน

และเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการปฏิบัติงานของธุรกิจในอนาคต ทั้งฮาร์ดสกิลและซอฟต์สกิลต่าง ๆ เพื่อสร้างให้เกิดความเชี่ยวชาญและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่จากการเรียนรู้บนประสบการณ์

Reskill

หลายประเทศ เร่งสร้าง ระบบ Learning EcoSystem พัฒนา “คน”

ปัจจุบันหลายประเทศให้ความสนใจเกี่ยวกับการสร้างระบบ Learning ecosystem มากขึ้น อย่างประเทศสิงคโปร์ ได้มีการสนับสนุนการเงินแก่ประชาชนภายใต้โครงการ Individual Learning Accounts เพื่อให้ผู้ใหญ่สามารถรีสกิลผ่านคอร์สอบรมได้ตลอดชีวิต

หรือประเทศเยอรมนี ได้ปรับนโยบายการประกันการว่างงาน (Employment Insurance) มาเป็นการสนับสนุนการเงินเพื่อการพัฒนาทักษะตลอดชีวิตแก่พลเมือง ประเทศฟินแลนด์ วางรากฐานระบบ Learning ecosystem ตั้งแต่เริ่มเรียนหนังสือ

โดยนำเทคโนโลยี และแหล่งความรู้จากภายนอก เช่น ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญหรือพิพิธภัณฑ์ มาประกอบการศึกษา เพื่อให้เด็กมีทักษะที่พร้อมสำหรับใช้ชีวิตในศตวรรษที่ 21 สำหรับประเทศไทย หลายองค์กรโดยเฉพาะองค์กรใหญ่ ๆ กำลังตื่นตัว

เพื่อ รีสกิลบุคลากรในองค์กร เพื่อเพิ่มศักยภาพทั้งเชิงปฎิบัติ และทฤษฏี เราจะเห็นธุรกิจมิติใหม่ ๆ อย่าง ธนาคารไทยพาณิชย์ SCB ได้ “รีเฟรม” (Reframe) องค์กรพร้อมกับรีสกิล จนเกิดเป็น SCB Academy ขึ้น เป็นต้น

และยังมีอีกหลายกลุ่มบริษัทฯ ได้สนใจส่งบุคลากรเข้าร่วมรีสกิลเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม นอกจากองค์กรใหญ่ ๆ แล้ว ยังมีกลุ่มคนที่ตื่นตัวและสนใจในการรีสกิล เพราะถ้าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้

อาจเกิดการปรับเปลี่ยนการทำงานก็เป็นได้ อาทิ พนักงานบริษัท (Self-Employee) ในช่วงอายุ 25-40 ปี ที่ต้องเสริมทักษะใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างโอกาสและการเติบโตต่อการทำงานในอนาคต กลุ่มธุรกิจขนาดเล็ก (Small Business) เป็นกลุ่มที่อ่อนไหว

ต่อการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ แต่ก็เป็นข้อดีที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานได้อย่างรวดเร็วและตลอดเวลา และสุดท้าย กลุ่มฟรีแลนซ์ (Freelancer) อาทิ ติวเตอร์ กราฟิกดีไซน์ ที่ต้องเสริมทักษะใหม่ ๆ

เพราะปัจจุบันเทรนด์หลักสูตรหรือโปรแกรมมีเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ถ้าคนกลุ่มนี้ไม่อัปเกรดทักษะใหม่ ๆ เรียนรู้แต่โปรแกรมเดิม จะทำให้ไม่สามารถต้านทานคู่แข่งและต่อยอดธุรกิจของตัวเองได้

เมื่อเราเข้าใจแล้วว่าสิ่งเดียวที่จะทำให้คนทำงานอย่างเรา ๆ อยู่รอด มีโอกาสไปต่อในโลกที่ยุคเทคโนโลยีคืบคลานเข้ามาแย่งงานของคนนั้น คือการ Reskill หรือการเรียนรู้ พัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต

ปัญหาที่ตามมาก็คือหลาย ๆ คนอยาก Reskill แต่ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน? แต่ที่แน่ ๆ คือ สำหรับพนักงาน คนทำงานทั่ว ๆ ไป เราก็ไม่ควรรอแต่ให้องค์กรมาเติมทักษะให้เรา เพราะเรื่องของพัมนาทักษะเป็นสิ่งที่เราต้องค่อย ๆ เติม เสริม ฝึกฝน

Reskill

โดยถ้าเราอยากมีทักษะอะไรใหม่ เราต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ เพราะกว่าจะใช้มันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เราอาจต้องรออีก 2-3 ปี เช่น ถ้าวันนี้เราเป็นพนักงานประจำสาขาของธนาคารที่คอยรับทำธุรกรรมอยู่ที่หน้าเคาน์เตอร์

เราอาจพอมองเห็นแล้วว่าในอนาคตอันใกล้ จำนวนสาขาและพนักงานในสาขาอาจต้องลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งแปลว่าเราก็ไม่ควรนั่งรอให้สาขาต้องถูกปิดตัวก่อน แต่เราต้องรีบสร้างทักษะใหม่ ๆ เพื่อมารองรับงานใหม่ที่เราจะไปทำ หรือต่อยอดจากทักษะเดิมที่มี

ที่สำคัญเราต้องคอยเตือนตัวเองไว้ว่า เราไม่จำเป็นต้องเรียนทุก ๆ อย่างในวันนี้ แต่อาจใช้วิธีค่อย ๆ เก็บเกี่ยว เติมความรู้เพื่อต่อยอดงานใหม่สำหรับในอนาคต ว่ากันง่าย ๆ ก็คือ “แค่อยู่กับที่ก็ถอยหลังแล้ว” อาจไม่ใช่คำพูดเกินจริงสำหรับยุคสมัยนี้ ที่เทคโนโลยี และความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: ชลัมพ์ ศุภวาที (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)
*** ขอขอบคุณภาพประกอบบางส่วนจาก www.pexels.com 
**** ขอขอบคุณข้อมูลจาก SEAC โดย อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ
SEAC ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่

ประกันภัยไทยวิวัฒน์