ผู้เชี่ยวชาญเห็นพ้องกันว่า สิ่งสำคัญในการก้าวไปข้างหน้าคือ การดำเนินงานร่วมกันในด้านสิทธิมนุษยชน

ผู้เชี่ยวชาญที่ได้ร่วมอภิปรายในงานสัปดาห์รณรงค์ความยั่งยืนทางสังคมของวารสาร Economist เห็นพ้องว่า ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้นในหลายประเทศ ห่วงโซ่อุปทานและอุตสาหกรรมต่างๆ งานปกป้องและเคารพสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่บุคคล องค์กร และหน่วยงานราชการต่างต้องคำนึงถึงเช่นเดียวกัน กฎระเบียบและนโยบายจะต้องสะท้อนถึงประโยชน์ของการทำงานร่วมกัน ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก ควรมีการรวบรวมมุมมองทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยต้องขจัดนโยบายการเลือกปฏิบัติและเรื่องประเด็นส่วนตัวที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกันออกไป

คริส เซาธ์เวิร์ธ เลขาธิการของหอการค้านานาชาติในสหราชอาณาจักรได้กล่าวว่า “การดำเนินการร่วมกันในด้านสิทธิมนุษยชนจะต้องเป็นส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหา การแก้ไขปัญหาจะง่ายขึ้น ก็ต่อเมื่อทุกคนให้ความร่วมมือกัน พวกเราทุกคนจะต้องเดินไปข้างหน้าและปรับวิธีการปฏิบัติงานของพวกเรา”

ซูซาน ไวส์ รองประธานอาวุโสฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์และการสื่อสารของเจทีไอได้กล่าวเสริมว่า “วิธีที่ดีที่สุดในการปกป้องสิทธิมนุษยชนคือ การปฏิบัติตามหลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติ ซึ่งใช้สำหรับทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจ เป้าหมายในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติคือ การเรียกร้องให้มีความร่วมมือต่อกันมากยิ่งขึ้น แต่ในทางกลับกัน หน่วยงานและองค์กรภายใต้สหประชาชาติกลับเรียกร้องให้มีการแยกอุตสาหกรรมบางประเภทออกจากความร่วมมือดังกล่าว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ทำให้พวกเขาไม่สามารถนับรวมอุตสาหกรรมยาสูบซึ่งมีผู้คนกว่า 100 ล้านคนเพียงอุตสาหกรรมเดียว รวมถึงเกษตรกรยาสูบอีกกว่า 40 ล้านคน”

แม้จะมีข้อยกเว้นดังกล่าว เจทีไอก็ประสบความสำเร็จในการผลักดันเยาวชนกว่า 60,000 คน เข้าร่วมโครงการ ARISE และได้ดำเนินการตรวจเยี่ยมเกษตรกรกว่า 345,000 ครั้งในปี 2563 ซึ่งทั้งหมดนี้ มีส่วนช่วยให้เจทีไอไปสู่มาตรฐานสูงสุดด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องจากการดำเนินงานทั่วโลก

เซาธ์เวิร์ธ ยังได้เสริมอีกว่า “บริษัทต่างๆ ได้สร้างผลกระทบในเชิงบวกให้กับสังคมจากกรณีการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เปลี่ยนโรงงานมาเพื่อสร้างเครื่องระบายอากาศ หรืออุตสาหกรรมด้านแฟชั่นได้นำพรสวรรค์มาสร้างสรรค์ชุดพีพีอี บริษัทและธุรกิจต่างๆ รวมตัวกันเพื่อตอบสนองความต้องการ และเติมเต็มช่องว่างที่ทางหน่วยงานราชการและสาธารณสุขไม่สามารถทำได้”

ตามที่ระบุไว้ในรายงานจาก Oxfam โรคโควิด-19 ทำให้ความเหลื่อมล้ำเพิ่มมากขึ้นในแทบทุกประเทศ ด้วยจำนวนผู้คนที่ยากจนเพิ่มขึ้นจาก 200 ล้านคนเป็น 500 ล้านคนในปี 2563 ไวส์ได้กล่าวอีกว่า “จำนวนคนที่เสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนเพิ่มขึ้นควบคู่ไปกับจำนวนตัวเลขผู้ยากจน ในการจัดการกับปัญหาเหล่านี้ จำเป็นที่จะต้องมีความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและบริษัทต่างๆ รวมถึงอุตสาหกรรมยาสูบที่แข็งแกร่งขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน”

นอกจากนั้นไวส์ยังสรุปว่า “เราขอเรียกร้องให้หน่วยงานราชการและผู้กำหนดนโยบายตระหนักว่า ทุกสิ่งในโลกนี้ไม่ได้แยกออกจากกัน  และทุกองค์กรต้องต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนร่วมกัน ไม่เฉพาะเพียงบุคคลใดบุคคลหนึ่งเท่านั้น โดยการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน มีผู้คนเป็นจำนวนมากหลายล้านคน รวมถึงเกษตรกรยาสูบอีกกว่า 40 ล้านคนซึ่งจะได้รับประโยชน์นี้โดยตรง”

เกี่ยวกับเจทีไอ

เจทีไอเป็นผู้นำในด้านยาสูบที่มีการดำเนินงานมากกว่า 130 ประเทศทั่วโลก บริษัทยังเป็นเจ้าของแบรนด์วินสตันซึ่งเป็นแบรนด์บุหรี่อันดับสองของโลก และแบรนด์คาเมลซึ่งเป็นแบรนด์ที่อยู่นอกสหรัฐอเมริกาและมีส่วนแบ่งการขายมากที่สุดสำหรับทั้งสองแบรนด์ รวมถึงแบรนด์อื่นๆ เช่น เมเวียสและแอลดี เจทีไอยังดำเนินกิจการในตลาดผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้า เช่น Ploom โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เจทีไอมีการจ้างพนักงานกว่า 44,000 คนและได้รับรางวัล Global Top Employer เป็นเวลา 7 ปีติดต่อกัน เจทีไอยังเป็นสมาชิกของกลุ่มบริษัทในเครือเจแปน โทแบคโค กรุ๊ป สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชม www.jti.com