พลิกโฉมโลกยานยนต์ กับ IATF 16949

ทิศทางการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์กำลังปรับทิศทางใหม่ ซึ่งกำลังอาศัยเทคโนโลยีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการตอบสนองได้มากขึ้น จากการปรับเปลี่ยนมาตรฐาน IATF 16949 ซึ่งจะพลิกโฉมโลกยานต์ในท้ายที่สุด ดังนั้น มาพบคำตอบจากองค์กรชั้นนำของไทยในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง และฟังคำแนะนำเพื่อให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนได้ต่อไปในอนาคตกัน

 

IATF 16949 คืออะไร?

 

คือ ระบบบริหารงานด้านคุณภาพสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ หรือ IATF 16949: 2016 Automotive Quality Management System Standard

 

สำหรับมาตรฐาน IATF 16949 เป็นมาตรฐานข้อกำหนดระบบบริหารงานคุณภาพของอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งอาศัยพื้นฐานของข้อกำหนด ISO 9001:2015 เพื่อให้เหมาะสมในการนำไปปฏิบัติงานได้จริง และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้มาตรฐานดังกล่าวมีการปรับเปลี่ยนจากมาตรฐานฉบับเดิม โดยเพิ่มมุมมองที่กว้างขึ้น และในระดับที่ครอบคลุมทั้งระดับปฏิบัติการ (Operational Level) และระดับกลยุทธ์ (Strategic Level) โดยมุ่งเน้นบทบาทของผู้บริหารระดับสูง เพื่อที่จะกำหนดการดำเนินงานภายในและนอกองค์กร ที่เกี่ยวกับจุดประสงค์และทิศทางกลยุทธ์ขององค์กรได้ในอนาคต

 

จาก ISO 9001 สู่ IATF 16949

 

ISO/TS 16949

IATF 16949

1.   Scope 1.   Scope
2.   Normative references 2.   Normative references
3.   Terms and definitions 3.   Terms and definitions
4.   Quality Management System 4.   Context of the organization
5.   Management Responsibility 5.   Leadership
6.   Resource management 6.   Planning
7.   Product realization 7.   Support
8.   Measurement, analysis and improvement 8.   Operation
9.   Performance evaluation
10. Improvement

 

ดังนั้น จากตารางจะเห็นได้ว่า มาตรฐาน IATF 16949 ดังกล่าว มีการปรับเปลี่ยนขอบข่าย บทนิยาม และข้อกำหนดของระบบบริหารงานคุณภาพ โดยมีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มเติมรายละเอียด ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนบริบทขององค์กร ความเป็นผู้นำ และการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้ผู้บริหารระดับสูงทั่วโลกมีการประเมินผลการควบคุมอย่างเป็นอิสระ (Independent Assessment) ซึ่งช่วยให้สามารถรับรองระบบการบริหารงาน และสิ่งเสริมต่อองค์กรในการบริหารจัดการระบบต่าง ๆ และรับรองความเสี่ยงของแต่ละองค์กร

 

อย่างไรก็ตาม บนความคาดหวังของลูกค้าในยุคดิจิทัล ผู้ประกอบการค่ายรถยนต์ ตลอดจนผู้ผลิตชิ้นส่วนทั้งหลาย หรือกล่าวง่าย ๆ ว่าทั้ง Supply Chain ของอุตสาหกรรมนี้ ต้องวางบทบาทของตัวเองอย่างไร กระทั่งต้องลงทุนพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถแข่งขันอย่างไร

 

พบคำตอบของโฉมหน้าการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมยานยนต์ จากองค์กรชั้นนำของไทย

 

QAD Inc.

 

car

 

หากพูดถึง “ระบบมาตรฐานคุณภาพ” แน่นอนอาจไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับผู้ผลิตรถยนต์ แต่ในยุคที่อุตสาหกรรมยานยนต์แข่งขันรุนแรง ทั้งยังมีการเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามา Disrupt ธุรกิจอย่างรวดเร็ว โดย Terry Onica, Director Automotive, QAD USA ผู้เชี่ยวชาญที่คร่ำหวอดในอุตสาหกรรมยานยนต์ ได้ฉายภาพความก้าวของเทคโนโลยียานยนต์ในอีก 10-20 ปีข้างหน้าว่า

 

“จะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีไปสู่ยุคที่มีการใช้ระบบเชื่อมต่อ และผสานเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สมองกลเข้ามาในรถยนต์มากขึ้น ทำให้รถยนต์รุ่นใหม่ ๆ จึงอัดแน่นไปด้วยฟังก์ชันดิจิทัล”

 

ขณะที่ การเติบโตของเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่มาพร้อมข้อบังคับต่าง ๆ ส่งผลให้ผู้ผลิตรถยนต์ต้องเปลี่ยนแนวคิดด้านการทำธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเพื่อไดร์ฟรายได้แบบเดิม สู่กระบวนการบริหารความเสี่ยงด้วยการจัดการมาตรฐานคุณภาพมากขึ้น ซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมการดำเนินงานได้ตลอดห่วงโซ่อุปทาน เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน ธุรกิจสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที

 

Stephen Fowler กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชีย QAD Inc. ให้มุมมองว่า QAD มุ่งให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการความเสี่ยงทางธุรกิจ และปรับกระบวนการผลิตให้สอดรับกับแผนอุตสาหกรรมในยุค 4.0 ตลอดจนมาตรฐานด้านการจัดการคุณภาพใหม่ ๆ เช่น IATF 16949 เพื่อจะขับเคลื่อนการทำงานให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐานข้อบังคับ และสามารถตอบสนองความคาดหวังของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นได้ดียิ่งขึ้นทั้งในด้านคุณภาพที่สม่ำเสมอและภายในเวลาที่กำหนด

 

กลยุทธ์ขับเคลื่อนของ QAD

 

  • มุ่งจับมือพันธมิตรท้องถิ่นเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานใหม่กับผู้ประกอบการในตลาดนั้น ๆ ให้มีความเข้าใจอย่างถูกต้อง ซึ่งจะให้ทีมจาก QAD มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ระดับโลกในอุตสาหกรรมยานยนต์ และมั่นใจว่าด้วยความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมยานยนต์
  • ด้วยความชำนาญทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับโลก จะทำให้โซลูชัน ERP บนคลาวด์ และมาตรฐาน IATF 16949 เข้าไปช่วยให้ลูกค้าสามารถปรับปรุงคุณภาพกระบวนการผลิต และการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็ว

 

car

สถาบันยานยนต์ หรือ TAI

 

รัชนิดา นิติพัฒนาภิรักษ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สถาบันยานยนต์ หรือ TAI ได้อัพเดตสถานการณ์อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยให้ฟังว่า ภาพรวมของไทยยังอยู่ในจุดได้เปรียบประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคอาเซียน โดยหากพิจารณาจากยอดการผลิตรถยนต์ในปี 2560 (เดือน ม.ค. – ธ.ค.) ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยมีจำนวนทั้งสิ้น 1,988,823 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 2.28%

 

บทบาทของ TAI นับจากนี้ ยังคงให้น้ำหนักกับการส่งเสริมผู้ประกอบการชิ้นส่วนยานยนต์ภายใต้ 4 ภารกิจหลัก ดังนี้

 

  • การให้บริการข้อมูลและงานวิจัยพัฒนาอุตสาหกรรม ทั้งงานวิจัยเชิงสนับสนุนนโยบายภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน
  • การให้บริการทดสอบมาตรฐาน และคำแนะนำในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  • การพัฒนาบุคลากร โดยมุ่งให้ผู้ประกอบการนำเทคโนโลยีมาเพิ่ม Productivity ในการผลิตมากขึ้น
  • การให้บริการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมศุลากร และ สมอ. ในการเป็นผู้ตรวจรับรองกระบวนการผลิตในประเทศไทยสำหรับผู้ประกอบการที่เข้ามาใน Free Zone

 

ทั้งนี้ จะขยายบทบาทการทำงานให้สอดรับกับแนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ ทำให้ภารกิจของ TAI จากนี้ไป จะรุกส่งเสริมอุตสาหกรรมอากาศยานเพิ่มขึ้น เพราะหากสามารถยกระดับผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ให้ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการใน Supply Chain ของผู้ผลิตชิ้นส่วนอากาศยานได้ก็จะช่วยเพิ่มมูลค่าของอุตสาหกรรมนี้ได้มากขึ้น โดยสร้างเครือข่ายผู้ผลิตชิ้นส่วนที่สามารถผลิตชิ้นส่วนป้อนให้กับอุตสาหกรรมอากาศยาน โดยอาศัยแนวคิดแบบคลัสเตอร์ ดีเวลลอปเมนต์ เพื่อกระตุ้นเชิญชวน และสร้างความมั่นใจให้กับผู้ผลิตชิ้นส่วนรายอื่น ๆ เข้ามาร่วมกันสร้างเครือข่ายให้แข็งแกร่ง

 

car

 

สมาคมการค้าไทย-ยุโรป หรือ TEBA

 

เสกสรรค์ ไตรอุโฆษ รองนายกสมาคมการค้าไทย-ยุโรป หรือ Thai-European Business Association TEBA บอกว่า TEBA เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ประกอบการเอกชนในปี 2009 โดยวางตัวเป็นองค์กรอิสระเพื่อเป็นตัวกลางประสานการทำงานและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างผู้ประกอบการไทยและยุโรป

 

สำหรับ TEBA ยังมีภารกิจในการ Monitor ความเคลื่อนไหวด้านกฎระเบียบทางการค้าระหว่างประเทศต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้กับองค์กรสมาชิก ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจในโลกยุคใหม่ให้ประสบความสำเร็จ รวมทั้งมีบทบาทในการเป็น Influencer ด้วยการเข้าร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้มีอำนาจตัดสินใจเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล และอีกมากมาย

 

ทั้งนี้ ปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยยังคงอยู่ใน Position ที่ Strong โดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งจะเห็นชัดว่ามีการเติบโตต่อเนื่องทุกปี เพราะไทยเป็นประเทศที่มี Economy of Scale และ Innovation ตอบโจทย์ตลาด แต่ผู้ประกอบการไม่ควรประมาท โดยเฉพาะมาตรฐานสินค้าควรจะพัฒนาไปในทิศทางเดียวกับมาตรฐานโลก

 

เสกสรร ให้คำแนะนำผู้ประกอบการไทย ดังนี้

  • ผู้ประกอบการไทยต้องเปลี่ยนมุมมอง เรื่องซื้อเทคโนโลยีใหม่เป็นต้นทุน และความเสี่ยง เพราะเทคโนโลยีใหม่ไม่ได้เป็นที่ยอมรับหรือใช้ได้เสมอไปเสีย
  • ผู้ประกอบการไทยจะต้องเร่งปรับตัว และพยายามนำ Innovation มาใช้กับธุรกิจให้มากยิ่งขึ้น
  • พัฒนาบุคลากรให้มีขีดความสามารถและเข้ามาสู่ระบบการผลิตมากขึ้น เพื่อให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกยานยนต์ยุคใหม่

 

อย่างไรก็ตาม จากการเปลี่ยนแปลงองค์กรตามมาตรฐาน  IATF 16949 ดังกล่าวจะช่วยให้องค์กรสามารถปรับตัวให้อยู่รอดได้ในสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีความซับซ้อนมากขึ้น เพื่อให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน โดยช่วยลดค่าใช้จ่ายให้ลดลง เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรต่างๆ ในอุตสาหกรรมยานยนต์ได้เปรียบในการแข่งขัน และมีโอกาสสู่การสร้างมาตรฐานระดับสากล และการปรับตัวในสภาวะการณ์ปัจจุบัน เพื่อขยายการเติบโตของธุรกิจในอนาคตได้อย่างแท้จริง