ในปี 2567 มูลค่ารวมของแบรนด์ใหญ่ 100 บริษัทของโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 20% (SOURCE : Kantar) และมีการปรับตัวขึ้นของมูลค่าบริษัทบางแบรนด์อย่างก้าวกระโดด และขึ้นมาเป็นบริษัทอันดับต้นๆ ของโลก อย่างเช่น NVDA (Nvidia Corporation) ซึ่งทำธุรกิจการผลิตชิปรายใหญ่ของโลก ซึ่งช่วงที่ผ่านมาราคาหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างร้อนแรง จนมูลค่าบริษัทเคยพุ่งไปแตะ 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (ล้มแชมป์ Apple ไปช่วงหนึ่ง)
อย่างไรก็ตามการจัดอันดับโดย Kantar เราพบ 5 อันดับแรกของบริษัทระดับโลกที่มีมูลค่าสูงที่สุด มาเปรียบเทียบกับบริษัทในไทย ดังนี้
จะเห็นได้ว่า 5 อันดับระดับโลกที่มูลค่าสูงที่สุดนั้น เป็นบริษัทเทคโนโลยี และมาจากสหรัฐอเมริกาทั้งหมด โดยจะมีเพียง Tencent (เทนเซ็นต์) เป็นบริษัทไอทีที่ใหญ่ที่สุดในจีนเพียงรายเดียวที่อยู่ในอันดับที่ 10
โดยบริษัทที่เป็นดาวรุ่ง ที่มีมูลค่าพุ่งขึ้นร้อนแรง 3 อันดับแรกได้แก่
1.NVIDIA มูลค่าพุ่ง 178%
2.Instagram มูลค่าพุ่ง 93%
3.facebook มูลค่าพุ่ง 79%
ทีนี้มาดู 5 อันดับบริษัทในตลาดหุ้นไทยที่มูลค่าสูงที่สุดกันบ้าง โดย ‘Business+’ รวบรวมจากมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market Cap) ในช่วงวันที่ 13 มิ.ย.67 จะเห็นว่าบริษัทที่ใหญ่ที่สุด 5 อันดับของไทยอยู่ในธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป ไม่เหมือนบริษัทระดับโลกที่ส่วนใหญ่เป็นบริษัทเทคโนโลยี ขณะที่ของไทยส่วนใหญ่เป็นบริษัทผูกขาดธรรมชาติ ทั้งในส่วนของปตท.ซึ่งทำเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำมัน หรือ ทอท.ที่เป็นสนามบินแห่งชาติของไทย หรือแม้กระทั่ง ADVANC ก็เป็นบริษัทผูกขาดธรรมชาติที่ทำเกี่ยวกับเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ
โดยอันดับที่ 1 คือ บมจ.เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (DELTA) ซึ่งเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนอันดับ 2 คือ บมจ.ปตท. (PTT) ธุรกิจน้ำมัน อันดับที่ 3 ท่าอากาศยานไทย (AOT) อันดับที่ 4 บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคม และอันดับที่ 5 ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ธุรกิจพลังงาน
ทั้งนี้มูลค่าบริษัทจะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งเกิดจากราคาหุ้นที่เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยพื้นฐาน ผลประกอบการ และข่าวของบริษัทในช่วงเวลานั้นๆ