ติดอาวุธสู้เทรนด์ธุรกิจขนส่งยุค 4.0

ถือเป็นช่วงโอกาสการค้าที่เปิดกว้างมากสำหรับภาคขนส่งและโลจิสติกส์ในปีนี้ ซึ่งข้อมูลของ SCB Economic Intelligence Center เรื่อง ‘TRANSPORT & LOGISTICS 2020’ ที่ระบุชัดเจนว่า เทรนด์โลจิสติกส์ 2020 ธุรกิจขนส่งพัสดุของไทยมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องราว 35% คิดเป็นมูลค่าราว 66,000 ล้านบาท

ข้อมูลชุดนี้สะท้อนถึงโอกาสที่เปิดกว้างมากสำหรับภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ ทั้งผู้ประกอบการรายใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก แต่จุดสำเร็จที่จะบอกว่าคุณคว้าโอกาสนั้นได้มากกว่า ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรของคุณสามารถใช้ประโยชน์จากกลไกนี้ได้ดีเพียงไหน

วรินทร สีสุขดี
ผู้อำนวยการส่วนผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ NOSTRA LOGOISTICS
บริษัท จีไอเอส จำกัด

เพราะหัวใจของธุรกิจนี้ไม่ใช่เพียงกระบวนการขนส่งสินค้า แต่รวมถึงการวางแผนและควบคุมการไหลของสินค้าและบริการ การส่งข้อมูลข่าวสารไปยังกลุ่มลูกค้า และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ หรือการลดต้นทุน สะดวกรวดเร็ว ลดความผิดพลาด

มีระบบการบริหารคลังสินค้า การบริหารจัดการกับลานตู้สินค้า การบริการจัดการโลจิสติกส์แบบเบ็ดเสร็จ (One stop Service) โดยใช้ระบบ GPS เข้ามาบอกตำแหน่งของรถขนส่งสินค้า ระบบ RFID ติดตามสินค้า การใช้ AI (Artificial Intelligence) ในกระบวนการโลจิสติกส์ให้เป็นไปอย่างถูกต้องรวดเร็วและแม่นยำ อันจะเข้ามาเพิ่มโอกาสในการสร้างขีดความสามารถศักยภาพการในการแข่งขัน ให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันและอนาคต

อีกทั้งรู้ข้อมูลเชิงลึกถึงพฤติกรรมของคนขับรถด้วยเซ็นเซอร์ที่มีความสามารถตรวจสอบอุณหภูมิรถวิ่ง ควบคุมเวลาเปิดปิดประตูรถเพื่อป้องกันการจอดและเปิดประตูขนส่งสินค้านอกเส้นทาง รวมถึงมีเซ็นเซอร์อื่น ๆ และกล้องที่ติดรอบคันรถ อีกทั้งยังสามารถติดตั้งเซ็นเซอร์ในจุดที่ต้องการข้อมูล เช่น ที่ปัดน้ำฝน เปิดไฟเลี้ยวหรือเปล่า เมื่อเกิดอุบัติเหตุมีการตอบสนองอย่างไร โดยข้อมูลทั้งหมดจะแจ้งเตือนไปยังส่วนกลาง

Telematics Technology ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยสนับสนุนความปลอดภัยในการขับขี่ตลอดเส้นทางการขนส่ง เก็บข้อมูลพฤติกรรมการขับรถ และข้อมูลเครื่องยนต์โดยละเอียด ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่าง ๆ ทั้งภายในเครื่องยนต์ และอุปกรณ์ตรวจสอบพฤติกรรมคนขับ หรือ Driving Behavior Monitoring เพื่อนำข้อมูลมาประเมิน, วิเคราะห์, พัฒนาประสิทธิภาพการขับรถ และการวางแผนบำรุงรักษารถยนต์ นำข้อมูลที่ได้มาแสดงผลผ่าน NOSTRA LOGISTICS Telematics Solutions

และปัจจุบันเราพัฒนาตัวเองเป็นแพลตฟอร์ม NOSTRA LOGISTICS Analytics Platform โซลูชันที่เราให้บริการ จะช่วยแก้ปัญหาความแตกต่างของระบบติดตาม GPS โดยเราจะทำการเชื่อมต่อ (integrate) ข้อมูลจากระบบต่าง ๆ ให้เข้ามารวมกัน และสามารถวิเคราะห์ผลร่วมกันได้บนระบบเฉพาะของ NOSTRA LOGISTICS Analytics Platform ที่เป็นแพลตฟอร์มศูนย์กลางระบบการบริหารจัดการและติดตามรถ

ข้อมูลที่รวมอยู่ใน Platform สามารถใช้ในจัดการวางแผนระบบงานขนส่ง และนำมาวิเคราะห์และสรุปรายการออกมาในรูปแบบของ Report & Dashboard ช่วยแก้ปัญหาการจัดการฐานข้อมูลภายในองค์กร และพร้อมสำหรับการทำ Big Data Analytics ซึ่งนำไปใช้เป็นข้อมูลช่วยตัดสินใจเพื่อบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจได้มากกว่าข้อมูลการติดตามรถโดยทั่วไป

โดยสามารถสนับสนุนการทำงานขนส่งใน 3 ด้าน ได้แก่ Tracking & Fleet Management การติดตามกลุ่มรถ, Safety Management การบริหารจัดการความปลอดภัย และ Shipment Management การบริหารจัดการรอบรถ ที่มีจุดเด่นในด้านความสามารถในการสร้างและเลือกเส้นทางการขนส่ง และสามารถสร้างจุดขนส่งสินค้าได้หลายจุด (Multidrop) และติดตามรถขนส่งได้แบบ Real-time

หากจะถามว่า ผู้ประกอบการขนส่งและโลจิสติกส์ไทยจะเริ่มต้นอย่างไร และควรปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจบริการแบบเก่าแบบไหน เพื่อพิชิตโอกาสใหม่ ๆ ในธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์ 4.0 ก็ต้องบอกว่า เพื่อการเดินสู่เป้าหมายสูงสุด (Ultimate Goal) การสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ โดยปรับปรุงห่วงโซ่คุณค่าเป็นแนวทางการพัฒนาชุดขีดความสามารถแข่งขันใหม่โดยเฉพาะธุรกิจขนส่งยุค 4.0 ที่ต้องใช้เครื่องมือและระบบใหม่ ๆ ทีเริ่มนำมาใช้ในการปรับเปลี่ยนนั้นจะช่วยปรับปรุงส่วนผสมของผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอยู่ได้ในหลากหลายรูปแบบ

โดยต้องไม่ลืมว่า ตลอดขั้นตอนการปรับเปลี่ยนทั้งหมดนั้น ระดับการมีส่วนร่วมของพนักงานเป็นสิ่งที่มีความสำคัญพอ ๆ กับระดับการมีส่วนร่วมของลูกค้า และเพื่อสามารถสนับสนุนการทำงานให้สำเร็จลุล่วง บริการจากเราสามารถ Integration ออกแบบซอฟต์แวร์เฉพาะเจาะจง ให้สามารถดึงศักยภาพของ Hardware มาใช้งานได้อย่างคุ้มค่า ซึ่งรวมกับจุดเด่นด้านบริการ Service หรือการให้บริการที่สามารถยืดหยุ่นตามความต้องการของลูกค้า นั่นคือหลักการทำงานของเรา

และการมีทีมงานที่เป็นมืออาชีพ (Profession + Dynamic) หมายถึงบุคลากรมืออาชีพ ที่มีความเชี่ยวชาญที่เฉพาะทาง พร้อมที่จะออกแบบและพัฒนาโซลูชันที่แก้ปัญหาและตอบโจทย์ในธุรกิจของลูกค้าได้ทันเวลา ในราคาการให้บริการที่เหมาะสม (Reasonable Price) สามารถมองภาพผลตอบแทนของการลงทุนของลูกค้าในระยะยาว (ROI)

เรามีการสร้างและกำหนด KPI หรือตัวชี้วัดร่วมกันกับลูกค้าและผู้ให้บริการขนส่ง เช่น การส่งสินค้าตรงเวลา อันเป็นหัวใจของการขนส่ง เรื่องการส่งที่มีคุณภาพ ถูกต้อง ของไม่เสียหาย ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกวัดผลเป็นเปอร์เซ็นต์ เพื่อนำเอาข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาปรับปรุงให้การบริการดียิ่งขึ้นตลอดเวลา”

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่ง แต่คำถามคือ เราปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมได้เร็วยิ่งกว่าไหม และเรานำเสนอห่วงโซ่คุณค่าของบริการนั้นได้ดีกว่าเดิมไหม เพราะถ้าใช่ คุณก็จะประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก…!!!