คลื่นความถี่

ทำไมยุคดิจิทัล ถึงต้องการเทคโนโลยี LTE-TDD บนคลื่น 2300 MHz

เมื่อโทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตกลายเป็นอวัยวะที่ 5 ของผู้บริโภคในยุคดิจิทัล จนทำให้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกมีการเติบโตเพิ่มมากขึ้น แต่คลื่นความถี่กลับเป็นทรัพยากรมีปริมาณจำกัด และไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ให้บริการเครื่อข่ายต่างๆ ต้องคิดหาทางออกที่ดีกว่าเพื่อรองรับนวัตกรรมบริการต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นอีกมากมาย โดยเฉพาะการพัฒนาคลื่นความถี่สู่ LTE-TDD ซึ่งในปัจจุบันกำลังเป็นที่นิยมในประเทศที่มีปริมาณการใช้งานดิจิทัลสูงมากอย่างจีนและอินเดีย

การเกิดขึ้นของ Internet of Things (IoT) การเชื่อมต่อระหว่าง Machine to Machine (M2M) ที่ไม่ได้มีแค่คนที่ติดต่อกัน แต่คอมพิวเตอร์กำลังส่งข้อมูลถึงกัน ทำให้เกิดบริการใหม่ๆ เช่น รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง, อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านที่ควบคุมได้ผ่านสมาร์ทโฟน และอีกหลายอย่างที่เราจะจินตนาการได้กำลังเกิดขึ้น

ในปี 2020 สมาคมจีเอสเอ็มคาดการณ์ว่าการเข้าถึงการใช้งานของอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงบนมือถือทั่วโลกจะเพิ่มเป็น 60% เป็นเหตุให้จำนวนคลื่นความถี่ที่ให้บริการในปัจจุบันไม่เพียงพอ และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของ LTE-TDD ในประเทศไทย ด้วยคลื่นความถี่ 2300MHz

ปัจจุบันสหภาพโทรคมนาคมนานาชาติ ผู้กำหนดมาตรฐานโทรคมนาคมโลก หรือ ITU ได้กำหนดให้ LTE-TDD และคลื่นความถี่ 2300MHz เป็นมาตรฐานเทคโนโลยีแล้ว เท่ากับเป็นการยืนยันว่า แนวโน้มของผู้ใช้งานมือถือทั่วโลก กำลังใช้ดาต้า หรืออินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

จากกรณีศึกษาหลายประเทศที่น่าสนใจ เช่น ประเทศจีน ที่มีประชากรประมาณ 1.37 พันล้านคน มีอัตราเฉลี่ยใช้ SIM CARD 1.79 SIMต่อคน เท่ากับว่าทุกคนมีอุปกรณ์พกติดตัวมากกว่าแค่สมาร์ทโฟน อาจมีการเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่นๆ รวมถึงมีการใช้งานแบบ M2M และจำนวนการใช้งานก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้านผู้ให้บริการหลัก 3 รายในจีน ได้แก่ China Unicom, China Telecom และ China Mobile  ได้ใช้เทคโนโลยี LTE-TDD บนคลื่น 2300MHz ทั้งหมด โดยเฉพาะ China Mobile ที่ถือว่าเป็นผู้ให้บริการที่มีโครงข่าย 4G ใหญ่ที่สุดในโลก มีจำนวนโครงข่าย 2300 + 2600MHz รวมอยู่กว่า 1.5 ล้านโครงข่าย


และอีกหนึ่งประเทศที่น่าสนใจ คือ ประเทศอินเดีย ที่มีประชากรประมาณ 1.31 พันล้านคน ไล่เลี่ยมากับจีน โดยอินเดียเป็นประเทศที่ใหญ่และมีประชากรหนาแน่น ทำให้มีความต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่สูงตามไปด้วย ผู้ให้บริการที่ใช้เทคโนโลยี LTE-TDD บนคลื่น 2300 เช่น Airtel มีผู้ใช้ 276.5 ล้านราย, Jio มีผู้ใช้ 112.6 ล้านราย, Aircel มีผู้ใช้ 90.6 ล้านราย เป็นต้น

ทั้งนี้ จากการศึกษาข้างต้น พิสูจน์ให้เห็นว่า LTE-TDD บนคลื่นความถี่ 2300 MHz มีความต้องการและเป็นที่นิยมทั่วโลกโดยGlobal Mobile Supplier Association(GSA) เปิดเผยว่า มีผู้ให้บริการ 97 รายจาก 56 ประเทศทั่วโลกเริ่มติดตั้งและใช้งานเชิงพาณิชย์ โครงข่าย LTE-TDD เรียบร้อยแล้ว สำหรับประเทศใกล้เคียงกับไทย เช่น Kingtel ในกัมพูชา, YTL ในมาเลเซีย, ผู้ให้บริการหลายรายในอินโดนีเซีย, Softbank และ UQ Communication ในญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศ ดังนั้นหากนำมาใช้ในประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูงในปริมาณมาก ก็จะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้บริโภคชาวไทย

ด้าน GSMA ได้เปิดเผยว่า การติดตั้งโครงข่าย 4G LTE เริ่มตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมา ถึงปี 2016 มีการเชื่อมต่อผ่านโครงข่าย 4G LTE กว่า 1,100 ล้านจุด และคาดว่าการเชื่อมต่อจะเพิ่มเป็น 2,500 ล้านในปี 2020 ในจำนวนนี้คาดว่ามีการเชื่อมต่อด้วยเทคโนโลยี LTE TDD กว่า 22%

ทั้งนี้ ดีแทคจึงเร่งพัฒนาคลื่นความถี่ 2300 MHz ที่มีช่องสัญญาณกว้างถึง 60 MHz ออกมาใช้งานในอนาคต เพื่อให้บริการ 4G LTE-TDD สามารถรองรับบริการโมบายบรอดแบนด์ และฟิกซ์บรอดแบนด์ที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่ความเร็ว 300 Mbps และสามารถเพิ่มความเร็วขึ้นได้อีก และคาดการณ์ว่าช่วงปลายปีนี้ดีแทคจะนำเทคโนโลยี 4G LTE-TDD ออกมาให้บริการแบบจัดเต็มอีกด้วย ซึ่งจะช่วยให้ดีแทคสามารถรองรับความต้องการของผู้บริโภคยุคดิจิทัลได้ทุกรูปแบบอย่างแน่นอน