Digital Transformation

“บุคลากร” คือ Talent ใหม่ของการทำ Digital Transformation

Digital Transformation กำลังเป็นโจทย์ใหญ่ที่องค์กรและอุตสาหกรรมในปัจจุบันหันมาตระหนักและให้ความสนใจ โดยได้มีการรวมกลยุทธ์ด้านไอทีเข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจ ภายใต้ภาวะผู้นำและแนวในการสร้างวัฒนธรรมใหม่ร่วมกัน เพื่อเปลี่ยนแปลงธุรกิจให้ทันกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และการแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

จะเห็นว่าหลายองค์กรมีการรวมกลยุทธ์ด้านไอทีเข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจเป็นกลยุทธ์ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น รวมทั้งมีการพิจารณานำเทคโนโลยีมาช่วยและเปลี่ยนแปลงธุรกิจ เพื่อตอบรับกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและการแข่งขันทางธุรกิจ รวมทั้งพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป

นอกจากนี้เพื่อให้ดิจิทัลทรานส์ฟอร์มธุรกิจให้เร็วขึ้น ภายใต้งบการลงทุนที่น้อยลง “บุคลากร” ยังเป็นหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญของการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในธุรกิจ รวมทั้งต้องมีมุมมองสถานการณ์แบบองค์รวมอีกด้วย

ทั้งนี้ อิชิโร ฮาระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก ผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญด้านการปรับเปลี่ยนองค์กรธุรกิจในรูปแบบดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในเครือบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง จำกัด ประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยภายในงาน Digital Transformation Day ครั้งแรกในประเทศไทย ว่า

เทรนด์การทรานส์ฟอร์มของอุตสาหกรรมหลักในประเทศไทยหลักๆอยู่ในภาต ธุรกิจการเงิน อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมรถยนต์ ธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภค

โดยเทคโนโลยีและนวัตกรรมล่าสุด เพื่อการทรานส์ฟอร์มธุรกิจให้เร็วขึ้น ด้วยงบการลงทุนที่น้อยลง ได้แก่ สมาร์ทไฟแนนซ์โซลูชั่น ที่ใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อยกระดับกระบวนการทางการเงินที่ทันสมัย โซลูชั่น SAP Industry Template บนแพลตฟอร์มคลาวด์ โซลูชั่นด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Digital Transformation) และการบริหารจัดการคนเก่งในองค์กร (Talent Management)

รวมไปถึงเทคโนโลยีกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ (Robotic Process Automation – RPA) และโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ ด้าน Credit Scoring & AI Leading Targeting สำหรับการปรับปรุงการขาย การจัดการและการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้เห็นภาพ “การไหล” ของ “สิ่งต่าง ๆ” โดยใช้เทคโนโลยีการวิเคราะห์ภาพจากดาวเทียม เพื่อใช้ในการทำการตลาด (Spatial Marketing)

ในส่วนของขั้นตอนการผลิตยังสามารถใช้เครื่องจักรโรงงานขนาดเล็กที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ในการเพิ่มผลิตภาพ (Data Driven Manufacturing with miniature factory machine with IoT & AI demo for productivity) และ ดิจิทัล ซับพลายเชน เพื่อมอบประสบการณ์ที่เหนือกว่าให้ลูกค้าพร้อมกับการเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด

นอกจากนี้ ยังมีโซลูชั่นแกนหลักด้านดิจิทัล (Digital Core) ได้แก่ Smart Finance และ ABeam Cloud โรงงานดิจิทัล (Digital Factory): คุณภาพการผลิตที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ดิจิทัล บีไอ (Digital BI): Analytics และ Big Data, ดิจิทัล ซับพลายเชน ที่เอื้อต่อการทรานส์ฟอร์มอุตสาหกรรม

ทั้งนี้หมดชี้ให้เห็นว่า ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น เป็นการเปลี่ยนแปลงคุณค่าให้กับลูกค้าโดยใช้การเชื่อมต่อระหว่างองค์กรกับดิจิทัลไลซ์เซชั่น ซึ่งเป็นสิ่งที่เร่งด่วนสำหรับตลาดในประเทศไทยที่กำลังได้รับผลกระทบอยู่ในขณะนี้ นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่เกี่ยวกับความเป็นผู้นำในความพยายามทางด้านดิจิทัล (Leadership of digital efforts) และวัฒนธรรม ดิจิทัล (Digital culture) รวมถึงการรับรู้ ซึ่งกลายมาเป็นเงื่อนไขของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล แม้จะเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งในการตระหนักถึงกลยุทธ์มาก่อน

“ในการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นทางธุรกิจ ‘บุคลากร’ เป็นหนึ่งในปัจจัยความสำเร็จที่สำคัญ อย่างไรก็ตามการทำงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแบบดิจิทัลในองค์กรใด ๆ ไม่เพียงแต่ต้องการเทคโนโลยี แต่ยังรวมถึงการจัดการเชิงกลยุทธ์ ความเป็นผู้นำ กระบวนการทำงาน และการจัดการทรัพยากรมนุษย์

ซึ่งจะต้องบูรณาการในทิศทางเดียวกัน เพื่อความยืดหยุ่นในการทำงาน ความสามารถในการปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลก ควบคู่กับการสนับสนุนการเติบโตอย่างต่อเนื่องในอนาคต สิ่งสำคัญที่สุดคือองค์กรจะต้องพิจารณาสถานการณ์ในภาพรวมและจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการทำธุรกิจ ” ฮาระ กล่าวทิ้งท้าย

 

ส่วนขยาย

* บทความเรื่องนี้น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์ในมุมมองที่น่าสนใจ 
** เขียน: กฤษฎาพร วงศ์ชัย  (บรรณาธิการ และผู้สื่อข่าว)

สามารถกดติดตามข่าวสารและบทความทางด้านเทคโนโลยีของเราได้ที่

Digital Transformation