หนี้สาธารณะ คือ “การกู้ยืมเงินของรัฐบาลเมื่อรัฐบาลมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย จึงจําเป็นต้องกู้เงินมาใช้จ่าย ซึ่งหนี้สาธารณะของไทยพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดยอดคงค้างหนี้สาธารณะของไทยสิ้นเดือนมิถุนายน 2567 มีจำนวน 11,541,664.47 ล้านบาท หรือ คิดเป็น 63.54% ของ GDP
แบ่งเป็นหนี้รัฐบาล 10,161,260.99 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจ 1,078,550.66 ล้านบาท หนี้รัฐวิสาหกิจที่ทำธุรกิจในภาคการเงิน* (รัฐบาลค้ำประกัน) 189,269.12 ล้านบาท และหนี้หน่วยงานของรัฐ 112,583.70 ล้านบาท
ทั้งนี้หากเราดูข้อมูลในส่วนของหนี้รัฐบาลไทยกู้โดยตรง รวมทั้งหมด 9,834,969.94 ลบ. คิดเป็น 82.33% ของหนี้สาธารณะทั้งหมด (ไม่รวมหนี้รัฐวิสาหกิจ กองทุนเพื่อการฟื้นฟู และหน่วยงานอื่นๆ)
ขณะที่หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2567 ประกอบด้วย หนี้ในประเทศ 98.81% และหนี้ต่างประเทศ 1.19% ของหนี้สาธารณะคงค้างทั้งหมด ซึ่งเป็นหนี้ระยะยาว 84.64% และหนี้ระยะสั้น 15.36%
ซึ่งในส่วนของหนี้ในประเทศที่รัฐบาลไทยกู้โดยตรงนั้น จะไม่สามารถจำแนกเป็นแหล่งเงินกู้ได้แต่จะแบ่งเป็นเครื่องมือการกู้ ซึ่งเครื่องมือการกู้ที่คัญคือ 1.ตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาลที่รัฐบาลจำหน่ายให้คนทั่วไปและให้ผลตอบแทนดอกเบี้ยเป็น Fix income (หรือผลตอบแทนที่ตายตัวตามสัญญา มีความเสี่ยงน้อย) 2.การกู้เบิกเงินเกินบัญชี 3.สัญญากู้ยืมเงิน
โดยเจ้าหนี้ของรัฐบาลนั้น มีทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา (ส่วนใหญ่เป็นกองทุน ธนาคารพาณิชย์ บริษัทประกันต่างๆ) ซึ่งในไตรมาส 2 ของปี 2567 มูลค่าคงค้างตราสารหนี้ของไทยอยู่ที่ 17 ล้านล้านบาท คิดเป็น 95% ของ GDP โดยตลาดตราสารหนี้ไทยขยายตัวเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมาจากการเพิ่มขึ้นของพันธบัตรรัฐบาลเป็นส่วนสำคัญ
แต่หากเป็นหนี้ต่างประเทศในตอนนี้ไทยเป็นหนี้อยู่ 3 เจ้าหลักๆ รวมทั้งหมดราว 103,169 ลบ. แบ่งตามแหล่งเงินทุนได้ดังนี้
ธนาคารโลก (IBRD) | 541 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 18,930 ลบ. |
ธนาคารพัฒนาเอเซีย (ADB) | 1,013 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 35,414 ลบ. |
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) | 1,396 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 48,825 ลบ. |
ซึ่งการที่รัฐบาลก่อหนี้นั้น หากสูงเกินไปจะเพราะถ้ามากเกินไปอาจจะทำให้เกิดปัญหาสภาพคล่องของการจ่ายคืนหนี้ นอกจากนี้หนี้สาธารณะที่สูงเกิน 60% ของ GDP ก็อาจจะทำให้ความเชื่อมั่นของประเทศลดน้อยลง ซึ่งจะส่งผลต่อการเข้าลงทุนในประเทศไทย และการมีหนี้เท่ากับต้องมีการจ่ายดอกเบี้ย หรือที่เรียกว่าต้นทุนทางการเงิน ซึ่งจริงๆแล้วการก่อหนี้นั้นมีผลดีหลายอย่างในแง่ของการพัฒนาประเทศ ยกตัวอย่างเช่น หากรัฐบาลกู้หนี้มาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ และทำให้ GDP เติบโตสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะถือว่าเป็นการก่อหนี้ที่เกิดประโยชน์นั่นเอง
ที่มา : สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ , สมาคมตราสารหนี้ไทย
ติดตามผ่าน TikTok ได้ที่ : https://www.tiktok.com/@thebusinessplus
Line Business+ : https://lin.ee/pbIHCuS
IG : https://www.instagram.com/businessplus.newgen2021/
#TheBusinessPlus #Businessplus #BusinessPlus #นิตยสารBusinessplus #หนี้สาธารณะ #หนี้ต่อGDP #หนี้สินรัฐบาล