จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุกเบิกการใช้ Generative AI อย่างมีความรับผิดชอบ ในวงการการศึกษาไทย ด้วยการเปิดตัว ‘ChulaGENIE’ ร่วมกับ Google Cloud

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุกเบิกการใช้ Generative AI อย่างมีความรับผิดชอบ
ในวงการการศึกษาไทย ด้วยการเปิดตัว ‘ChulaGENIE’ ร่วมกับ Google Cloud

  • ChulaGENIE’ แอปพลิเคชัน Generative AI ที่มีความสามารถหลายภาษา (Multilingual) และรองรับข้อมูลหลายประเภท (Multimodal) บนแพลตฟอร์ม Vertex AI ของ Google Cloud ได้รับการพัฒนามาโดยเฉพาะเพื่อรองรับการวิจัยและการเรียนรู้ ของประชาคมที่มีความหลากหลายของจุฬาฯ
  • เครื่องมือ Responsible AI บน Google Cloud Vertex AI ทำให้ ChulaGENIE สามารถมอบประสบการณ์ การใช้เครื่องมือ Generative AI ที่ปลอดภัย เป็นส่วนตัว และน่าเชื่อถือให้กับบุคลากร คณาจารย์ และนิสิตกว่า 50,000 คน
  • จุฬาฯ เปิดโอกาสให้คณาจารย์ นิสิต และบุคลากรสามารถเข้าถึงคอร์ส Google AI Essentials ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งมีแผนพัฒนาร่วมกับ Google Cloud เพื่อสร้างโมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่ สำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา

 

  • จากซ้ายไปขวา: รองศาสตราจารย์ ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; อรรณพ ศิริติกุล Country Director, Google Cloud ประเทศไทย; Rahul Sharma, Managing Director, Public Sector, Google Cloud เอเชีย แปซิฟิก

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (จุฬาฯ) มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย ร่วมกับ Google Cloud ประกาศตัวโครงการ ‘ChulaGENIE’ เพื่อบุกเบิกการพัฒนาและส่งมอบแอปพลิเคชันที่นำเอาเทคโนโลยี Generative AI อันล้ำสมัยที่สุดในโลกอันหนึ่ง มาให้ประชาคมจุฬาฯ ใช้งานได้อย่างปลอดภัย เชื่อถือได้ และไม่มีค่าใช้จ่าย โดยคาดว่าในระยะแรก ChulaGENIE จะเปิดให้คณาจารย์และบุคลากรใช้งานได้ในเดือนมกราคม 2568 และจะเปิดให้บริการแก่นิสิตทุกคนได้ภายในเดือนมีนาคม 2568 โดยชื่อ ChulaGENIE ย่อมาจาก ‘Chula’s Generative AI Environment for Nurturing Intelligence and Education’

ด้วยการผสานรวมกับ Model Garden บน Vertex AI ทำให้ ChulaGENIE เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สามารถค้นหาและเลือกใช้โมเดล AI พื้นฐานที่ได้รับการคัดสรรอย่างดี ซึ่งแต่ละโมเดลมีจุดเด่นและความเหมาะสมกับงานที่แตกต่างกัน ในระยะแรกผู้ใช้สามารถใช้งาน Gemini 1.5 Flash หรือ Gemini 1.5 Pro ของ Google และในอนาคตอันใกล้จะมีตัวเลือก ในการใช้โมเดล Claude จาก Anthropic และโมเดล Llama จาก Meta อีกด้วย

ผู้ใช้ ChulaGENIE สามารถใช้ความสามารถในการรองรับหลายภาษา (multilinguality) ของโมเดล Gemini เพื่ออธิบายหัวข้อที่ซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่าย รวมถึงสร้างเนื้อหาในภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่น ๆ ด้วยความรวดเร็วและความแม่นยำ และด้วยความสามารถในการรองรับข้อมูลหลายประเภท (multimodality) และขอบเขตการประมวลผลช่วงบริบทที่ยาว (long context window) ของโมเดล Gemini ทำให้ผู้ใช้สามารถอัปโหลดเอกสารที่มีความยาวและซับซ้อน (เช่น เอกสารที่มีความยาว 1.4 ล้านคำ พร้อมตาราง แผนภูมิ และภาพประกอบ) รวมถึงไฟล์ PDF โดยโมเดล Gemini สามารถประมวลผลเนื้อหาและองค์ประกอบภาพในเอกสารเหล่านี้เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ดึงข้อมูลหรือวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักวิจัยที่ต้องการสรุปวรรณกรรมทางวิชาการหรือวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่

ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ในการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้าน AI ของประเทศไทย (AI University) วันนี้จุฬาฯ ประกาศจับมือกับพันธมิตรระดับโลกเพื่อเร่งรัดการพัฒนา Responsible AI เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมไทยในระยะยาว การใช้แพลตฟอร์ม Vertex AI ของ Google Cloud ซึ่งรวมเอาความสามารถที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการด้านความปลอดภัย และความเป็นส่วนตัวไว้ในที่เดียว รวมถึงความยืดหยุ่นในการเลือกโมเดลผ่าน Model Garden และความสามารถในการปรับแต่งโมเดลพื้นฐานที่ทรงพลังให้เหมาะกับความต้องการที่หลากหลายและการตอบสนองได้แม่นยำ ด้วยความสามารถเหล่านี้ ทำให้จุฬาฯ สามารถพัฒนา ChulaGENIE ได้ภายในเวลาไม่ถึงสามเดือน ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทยที่มีแอปพลิเคชัน Generative AI สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาและวิจัยในระดับอุดมศึกษา โดยยึดหลัก Responsible AI และตอบสนองความต้องการของประชาคมในวงกว้าง โดยจุฬาฯ มีแผนที่จะร่วมมือกับ Google Cloud เพื่อพัฒนา ChulaGENIE ให้ดียิ่งขึ้น และส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม AI ด้านการศึกษาที่พัฒนาขึ้นเองในประเทศให้ใช้งานได้จริงเพื่อสนับสนุนการศึกษาทุกระดับ”

เสริมศักยภาพให้ประชาคมจุฬาฯ ด้วย AI ที่ปรับแต่งได้และมีความรับผิดชอบ

จุฬาฯ เตรียมเพิ่มฟังก์ชันใหม่บน ChulaGENIE เร็ว ๆ นี้ โดยประชาคมจุฬาฯ จะสามารถสร้างตัวช่วยเฉพาะทางที่ปรับแต่งได้สำหรับงานเฉพาะด้าน ตัวอย่างของตัวช่วย AI ที่ปรับแต่งได้ มีดังนี้:

  • ตัวช่วยด้านการวิจัย ที่ถูกปรับแต่งในประเด็นเฉพาะ เช่น ประสิทธิภาพของเทคนิคการกักเก็บคาร์บอนต่าง ๆ ในวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม หรือการปรับปรุงการจราจรในเขตเมืองในด้านวิศวกรรมโยธา ซึ่งจะช่วยให้อาจารย์และนิสิตสามารถเชื่อมโยงหรือค้นหาความเชื่อมโยงในงานวิจัย รวมถึงเสนอคำถามหรือสมมติฐานใหม่ ๆ ได้
  • ตัวช่วยด้านการศึกษา ที่พัฒนาจากตำรา หรือฐานข้อมูลด้านการศึกษาและอาชีพ พร้อมข้อมูลแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศและข้อพิจารณาด้านจริยธรรม ช่วยให้นิสิตได้รับคำแนะนำที่ปรับให้เหมาะสมและเป็นเฉพาะบุคคลในการเลือกหลักสูตรและการวางแผนเส้นทางอาชีพได้
  • ตัวช่วยด้านการบริหารและธุรการ ที่สามารถเข้าใจและตอบคำถามในประเด็นต่าง ๆ เช่น การสมัครเรียน การลงทะเบียน ทุนการศึกษา การจัดการอาคารสถานที่ หรือการสนับสนุนด้าน IT เป็นต้น

เสริมศักยภาพให้ประชาคมจุฬาฯ ด้วย AI ที่ปรับแต่งได้และมีความรับผิดชอบ

จุฬาฯ เตรียมเพิ่มฟังก์ชันใหม่บน ChulaGENIE เร็ว ๆ นี้ โดยประชาคมจุฬาฯ จะสามารถสร้างตัวช่วยเฉพาะทางที่ปรับแต่งได้สำหรับงานเฉพาะด้าน ตัวอย่างของตัวช่วย AI ที่ปรับแต่งได้ มีดังนี้:

  • ตัวช่วยด้านการวิจัย ที่ถูกปรับแต่งในประเด็นเฉพาะ เช่น ประสิทธิภาพของเทคนิคการกักเก็บคาร์บอนต่าง ๆ ในวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม หรือการปรับปรุงการจราจรในเขตเมืองในด้านวิศวกรรมโยธา ซึ่งจะช่วยให้อาจารย์และนิสิตสามารถเชื่อมโยงหรือค้นหาความเชื่อมโยงในงานวิจัย รวมถึงเสนอคำถามหรือสมมติฐานใหม่ ๆ ได้
  • ตัวช่วยด้านการศึกษา ที่พัฒนาจากตำรา หรือฐานข้อมูลด้านการศึกษาและอาชีพ พร้อมข้อมูลแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศและข้อพิจารณาด้านจริยธรรม ช่วยให้นิสิตได้รับคำแนะนำที่ปรับให้เหมาะสมและเป็นเฉพาะบุคคลในการเลือกหลักสูตรและการวางแผนเส้นทางอาชีพได้
  • ตัวช่วยด้านการบริหารและธุรการ ที่สามารถเข้าใจและตอบคำถามในประเด็นต่าง ๆ เช่น การสมัครเรียน การลงทะเบียน ทุนการศึกษา การจัดการอาคารสถานที่ หรือการสนับสนุนด้าน IT เป็นต้น

นายอรรณพ ศิริติกุล Country Director, Google Cloud ประเทศไทย กล่าวว่า “ที่ Google Cloud เราเชื่อมั่นว่าประโยชน์ของ AI ขึ้นอยู่กับความแม่นยำและการนำไปใช้อย่างรับผิดชอบ แพลตฟอร์ม Vertex AI ของเราช่วยให้องค์กรต่าง ๆ อย่างเช่น จุฬาฯ สามารถนำ Responsible AI ไปใช้ได้จริงผ่านฟีเจอร์ต่าง ๆ เช่น Grounding บริการประเมินโมเดล และเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์มาตรฐานที่เข้มงวดในด้านการกำกับดูแลข้อมูล ความเป็นส่วนตัว และการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา การเปิดตัว ChulaGENIE อย่างรวดเร็วของจุฬาฯ ตอกย้ำคุณค่าของแนวทางที่เน้นแพลตฟอร์มเป็นศูนย์กลาง (platform-first approach) สำหรับโครงการริเริ่มด้าน AI เชิงกลยุทธ์ ซึ่งช่วยให้สามารถพัฒนา ติดตั้ง และจัดการ AI ได้ในวงกว้าง ประกอบกับการพัฒนาโมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่สำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และโครงการพัฒนาทักษะ AI ของ Google จะช่วยเปิดโอกาสใหม่ ๆ ในด้านการวิจัยและวิชาการ ซึ่งในท้ายที่สุดจะสร้างประโยชน์ให้กับสังคมไทยของเรา”

###########################################

ติดตามผ่าน TikTok ได้ที่ : https://www.tiktok.com/@thebusinessplus
Line Business+ : https://lin.ee/pbIHCuS
IG : https://www.instagram.com/businessplus.newgen2021/
#TheBusinessPlus #Businessplus #BusinessPlus #นิตยสารBusinessplus