‘เครดิตสวิส’ อ่วมหนัก! ผลงาน Q3/65 ขาดทุนกว่า 4 พันล้านดอล จ่อรื้อโครงสร้างใหม่ เน้นลดต้นทุน-เสริมแกร่งการเงิน

ในการดำเนินธุรกิจใด ๆ ก็ตาม เมื่อเกิดผลลัพธ์จากการดำเนินธุรกิจไปในทิศทางที่ไม่ค่อยเป็นที่น่าหพึงพอใจนัก แน่นอนว่าสิ่งต่อมาที่จะเกิดขึ้นคือการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการบริหารให้ธุรกิจดำเนินไปในทิศทางที่ดีขึ้น เช่นเดียวกับกรณีของ ‘เครดิตสวิส’ ที่ได้มีการประกาศว่าทำการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการบริหารองค์กร ภายหลังจากการเปิดเผยผลประกอบการประจำไตรมาส 3/65 ออกมาแย่กว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้อย่างมาก

โดย ‘เครดิตสวิส’ เปิดเผยตัวเลขผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 3/65 ระบุ มีผลขาดทุนสุทธิอยู่ที่ 4.034 พันล้านฟรังก์สวิส (ประมาณ 4.09 พันล้านดอลลาร์) ขณะที่รายรับของกลุ่มอยู่ที่ระดับ 3.804 พันล้านฟรังก์สวิส ลดลงจาก 5.437 พันล้านฟรังก์สวิสในไตรมาสที่ 3/64 สำหรับอัตราส่วนเงินกองทุน CET1 ซึ่งเป็นมาตรวัดการละลายของธนาคารอยู่ที่ 12.6% ลดลงเมื่อเทียบกับ 14.4% ในไตรมาส 3/64 และ 13.5% ในไตรมาส 12/65 ด้านผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้นที่มีตัวตนอยู่ที่ -38.3% ลดลงจาก -15% ในไตรมาส 2/65 และ 4.5% ในไตรมาส 3/64 ทั้งนี้ ถือเป็นการพลิกมาขาดทุนจากไตรมาส 3/64 ที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 434 ล้านฟรังก์สวิส

ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าการคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่คาดว่า ‘เครดิตสวิส’ จะขาดทุน 567.93 ล้านฟรังก์สวิส อีกทั้งตัวเลขดังกล่าวถือเป็นการพลิกมาขาดทุนเมื่อเทียบกับไตรมาส 3/64 ที่มี ที่โพสต์ในไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว

ทั้งนี้ ‘เครดิตสวิส’ ตั้งข้อสังเกตว่าที่ผลดำเนินงานในไตรมาสนี้มีผลขาดทุน เป็นผลมาจากด้อยค่าของฟรังก์สวิสจำนวน 3.655 พันล้านฟรังก์ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินสินทรัพย์ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชีใหม่ อันเป็นผลมาจากการทบทวนเชิงกลยุทธ์

อย่างไรก็ดี ภายใต้แรงกดดันจากนักลงทุน ‘Ulrich Koerner’ ซึ่งเป็น CEO คนใหม่ของ ‘เครดิตสวิส’ เปิดเผยว่า ธนาคารจะปรับโครงสร้างใหม่อย่างจริงจัง เพื่อการลงทุนและลดความเสี่ยงต่อสินทรัพย์เสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งใช้เพื่อกำหนดความต้องการเงินทุนของธนาคาร นอกจากนี้ยังตั้งเป้าที่จะลดฐานต้นทุนลง 15% หรือประมาณ 2.5 พันล้านฟรังก์สวิสภายในปี 2568 นอกจากนี้ คาดว่าจะต้องเสียค่าปรับโครงสร้างจำ 2.9 พันล้านฟรังก์สวิสภายในสิ้นปี 2567

สำหรับแผนการเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้ ‘เครดิตสวิส’ แยกธนาคารเพื่อการลงทุนออกเป็นธุรกิจอิสระภายใต้ชื่อ ‘CS First Boston’ โดยจะระดมเงินทุนจำนวน 4 พันล้านฟรังก์สวิสผ่านการออกหุ้นใหม่และการเสนอขายสิทธิ และสร้างหน่วยปล่อยทุน เพื่อลดผลตอบแทนที่ไม่ใช่ธุรกิจเชิงกลยุทธ์

เป้าหมายคือการลดสินทรัพย์เสี่ยงและความเสี่ยงลง 40% ในแต่ละช่วงการปรับโครงสร้าง ขณะที่ยังตั้งเป้าที่จะจัดสรรเกือบ 80% ของเงินทุนให้กับการบริหารความมั่งคั่งของธนาคาร รวมถึงการจัดการสินทรัพย์ และการตลาดภายในปี 2568

‘Ulrich Koerner’ กล่าวว่า ธนาคารจะมีเสถียรภาพมากขึ้น และจะทำกำไรได้อย่างยั่งยืน ภายใต้กลยุทธ์ใหม่นี้ ซึ่งธนาคารจะปรับโครงสร้างเพื่อการลงทุนครั้งใหญ่ รวมถึงการลดต้นทุนอย่างมีนัยสำคัญ และเสริมความแข็งแกร่งของฐานเงินทุนให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

สำหรับ ‘Ulrich Koerner’ เข้ารับตำแหน่งในเดือนกรกฎาคม 2565 หลังจากการลาออกของ ‘Thomas Gottstein’ หลังจากที่ธนาคารบันทึกผลขาดทุนสุทธิในไตรมาสที่ 2/65 จำนวน 1.593 พันล้านฟรังก์สวิส ซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้มาก

ทั้งนี้ ‘เครดิตสวิส’ ประสบปัญหาในปีที่ผ่านมาจากรายได้ของวาณิชธนกิจที่ซบเซา รวมถึงการสูญเสียจากการถอนธุรกิจในรัสเซีย และค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์เดิมและความล้มเหลวในการบริหารความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอื้อฉาวของกองทุนป้องกันความเสี่ยง ‘Archegos’

 

เขียนและเรียบเรียง : เพชรรัตน์ แสงมณี

 

ที่มา : BBC, Businessinsider

ติดตาม Business+ ได้ที่ : https://www.thebusinessplus.com/

Line Business+ ได้ที่ : https://lin.ee/pbIHCuS

IG ได้ที่ : https://www.instagram.com/businessplus.newgen2021/

#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #เครดิตสวิส #CreditSuisse