หนัง Crazy Rich Asians เวอร์ชั่นพจมานที่เราคุ้นเคยบนจอทีวี วันนี้โลดแล่นบนหนัง Hollywood กลายเป็นกระแสฮอตทั่วโลก ถึงแม้ว่าในประเทศไทยจะค่อนข้างไม่เป็นกระแสก็ตาม ทั้งนี้ในชีวิตจริงของหลายครอบครัวมหาเศรษฐี ก็ไม่ได้สวยหรูตลอดทาง ดังนั้น เราจึงขอตีแพร่อีกด้านหนึ่งของชีวิตมหาเศรษฐีระดับเอเชีย ซึ่งถ้านางเอกต้องพบเจอแล้วล่ะก็ อาจต้องคิดแล้วคิดอีก
ช่วง 4 ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ที่มีสินทรัพย์กว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเอเชียนั้น เอาชนะเศรษฐีต่าง ๆ ในทุกทวีป อีกทั้งแค่จีนเพียงประเทศเดียว ก็มีมหาเศรษฐีอาศัยอยู่มากกว่าสหรัฐอเมริกาด้วยซ้ำ
ทั้งนี้ตามการจัด 25 อันดับ ของ Bloomberg Billionaires Index มีครอบครัวเอเชีย ติดอันดับอยู่ 3 ครอบครัว ดังนี้
ครอบครัว Ambanis
มูลค่าสุทธิ: $43 billion
ครอบครัวที่ร่ำรวยที่สุดของอินเดีย สร้างรายได้นับพันล้านเริ่มต้นจาก Dhirubhai Ambani ผู้ก่อตั้ง บริษัท Reliance Industries ยักษ์ใหญ่ด้านน้ำมันและก๊าซในปัจจุบัน ซึ่งเสียชีวิตในปี 2002 ส่งผลให้มรดกตกทอดมาถึงลูกชายของเขา Mukesh และ Anil
โดยทั้งคู่เกิดความขัดแย้งระหว่างกัน ส่งผลให้ต้องแบ่งแยกการบริหารธุรกิจเสมอมา และล่าสุดเกิดเหตุการณ์ขึ้นอีกครั้งหลังจาก Mukesh พี่ชายซื้อธุรกิจไร้สายของ Anil สั่นคลอนความสัมพันธ์อันเปราะบางของทั้งคู่มากยิ่งขึ้น
สำหรับ Mukesh เขากลายเป็นคนที่ร่ำรวยที่สุดในอินเดีย จากความสามารถและมุมมองการทำธุรกิจตามรอยพ่อเขา
ครอบครัว Kwoks
มูลค่าสุทธิ: $34 billion
ครอบครัว Kwok เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของโลก ผู้ก่อตั้ง Sun Hung Kai Properties ผู้สร้างอาคารที่สูงที่สุดในเมืองหลายแห่งของฮ่องกง นอกจากนี้ยังมีธุรกิจขนาดใหญ่ในจีนแผ่นดินใหญ่อีกด้วย
แต่ความร่ำรวยนั้น ก่อให้เกิดความโชคร้ายบดบังพี่น้องทั้ง 3 คนของตระกูลทั้ง Thomas, Raymond และ Walter เนื่องจากในปี 1997 Walter ถูกลักพาตัวเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ โดยเขาได้รับการปล่อยตัว หลังจากที่ครอบครัวจ่ายเงินค่าไถ่มากกว่า 77 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพียงไม่กี่ทศวรรษต่อมา เขาถูกบังคับให้เขาออกไปจากบริษัท จากความบาดหมางในครอบครัว ทั้งนี้ ในปี 2014 Thomas ก็ถูกตัดสินว่าทุจริตจากการรับสินบน และเรย์มอนด์เข้ามาเป็นประธานรุ่นต่อมา
ครอบครัว Lees
มูลค่าสุทธิ: $31 billion
Lee Byung-chull ผู้สร้างอาณาจักรซัมซุงในปี 1938 กว่าจะมาเป็นซัมซุงนั้น เริ่มต้นมาจากร้านขายของชำเล็ก ๆ โดยขายพวกผลไม้ และปลา หลังจากนั้นจึงขยายการเติบโตสู่อุตสาหกรรมต่าง ๆ อีกมากมาย
โดยลูกชาย Lee Kun-hee เข้ามาบริหารหลังจากพ่อเสียชีวิตในปี 1887 โดยเปลี่ยนแปลงการตลาดของซัมซุง จากเมื่อก่อนขายสินค้าคุณภาพไม่สูงมากนัก สู่สินค้าระดับไฮเอนด์ที่เราเห็นทุกวันนี้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนำไปสู่ยุครุ่งเรืองที่สุดของซัมซุงในเวลาต่อมา
หลังจากที่ Kun-hee เป็นกระแสหลังจากที่มีอาการหัวใจวายในปี 2014 ลูกชายของเขา Lee Jae-yong หนึ่งในสี่พี่น้อง ได้กลายเป็นหัวเรือใหญ่ของซัมซุงในปัจจุบัน
ทั้งนี้ ครอบครัวซัมซุงมีข่าวด้านลบอยู่เสมอมา โดยมรสุมครั้งใหญ่เกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อ Jae-yong เป็นข่าวหน้าหนึ่งจากการติดสินบนและคอร์รัปชั่นในปีที่ผ่านมา หลังจากพบการโอนเงินจากบริษัทย่อยของซัมซุง ไปยังกองทุนที่มีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการเมืองของอดีตประธานาธิบดี Park Geun-hye