ไม่กี่วันที่ผ่านมานี้ รัฐบาลไทยประกาศยกระดับมาตรการควบคุมโรค Covid-19 ระดับ 4 เนื่องด้วยยอดจำนวนผู้ป่วยรายวันเพิ่มพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดวันที่ 27 ก.พ. 2022 มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่ถึง 24,719 ราย เพิ่มขึ้น 206% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวในเดือนที่ผ่านมา
ซึ่งสถานการณ์การกลับมาระบาดอย่างรุนแรงของ Covid-19 นี้ กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกเช่นกันไม่ต่างกัน‘ฮ่องกง’ เขตการปกครองพิเศษประเทศจีน ที่กำลังเผชิญกับการระบาดในระลอก 5 ภายใต้นโยบาย ‘COVID Zero’ ที่รัฐบาลตัดสินใจดำเนินตามรอยโมเดลแบบฉบับ อู่ฮัน
ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจ คือ ผลลัพท์ที่ตามมาของมาตรการดังกล่าว อาจเป็นอุปสรรคที่ขัดขวางการดำเนินธุรกิจ และเศรษฐกิจของประเทศได้
COVID Zero คือ อะไร
COVID Zero คือ นโบายควบคุมโรค Covid-19 โดยมีเป้าหมายให้การติดเชื้อภายในประเทศเป็นศูนย์
ซึ่ง ฮ่องกง ได้ดำเนินการตามนโบายดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนไม่มีการติดเชื้อภายในประเทศ และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข แต่ในทางกลับกันผลลัพท์ตามเศรษฐกิจภายในประเทศกลับย่ำแย่ลง
มีรายงานจาก Aljazeera ระบุว่า ฮ่องกำลังเผชิญกับระลอก 5 ที่มีผู้เชื้อรายใหญ่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งปัญหาที่ตามมา คือ จำนวนผู้ป่วยที่พุ่งสูงขึ้น โดยศูนย์ป้องกันโรคของฮ่องกงรายงานสถิติผู้ป่วย Covid-19 รายงานตัวเลขล่าสุดของ วันที่ 26 ก.พ. 2022 ฮ่องกง มีผู้ติดเชื้อรายใหม่มากถึง 17,063 เสียชีวิตเพิ่มอีก 66 ราย
ทำให้เตียงรักษาไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย และต้องใช้พื้นที่ท่องเที่ยวบางแหล่งที่ร้างจากนักท่องเที่ยวเปลี่ยนเป็นโรงพยาบาลสนามแทน
รวมถึงราคาอาหารสดเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากฮ่องกงพึ่งพาอาหารสดจากการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เมื่อพบว่าพนังงานขับรถบรรทุกอาหารสดติดเชื้อไวรัสเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้เกิดปัญหาการขาดแคลนอาหารสดในฮ่องกง และทำให้อาหารสด โดยเฉพาะสินค้าผักบางรายการราคาเพิ่มขึ้นถึง 2-3 เท่า
ซึ่งล่าสุดทางด้านรัฐบาลฮ่องกงได้เร่งนโบายอัดฉีดงบประมาณกว่าราว 1.7 แสนล้านดอลล่าร์ฮ่องกง (หรือประมาณ 7.05 แสนล้านบาท) เพื่อผยุงเศรษฐกิจให้ดำเนินต่อไป ด้วยการแจกบัตรกำนัลมูลค่า 10,000 ดอลล่าร์ฮ่องกง หรือราว 41,694 บาท (คิดเป็น 2 เท่าตัวของเงินที่แจกในปี 2021) ให้ประชาชนราว 6.6 ล้านคน โดยสามารถนำไปใช้สำหรับอุปโภคบริโภค ลดหย่อนภาษี และถือเป็นการช่วยผู้ประกอบการที่กำลังประสบการณ์ปัญหาด้านธุรกิจ ทั้งผ่อนปรนค่าเช่า และอุดหนุนค่าไฟอีกด้วย
Gary Ng นักเศรษฐศาสตร์จากบริษัท Natixis (บริษัทธนาคารเพื่อการลงทุน) ได้ออกมาพูดถึงการอนุมัติเงินอุดหนุนจากรัฐบาลที่มอบให้กับประชาชนในครั้งนี้ว่า
“สิ่งที่น่ากังวลมากที่สุดสำหรับฮ่องกงในตอนนี้ คือ แม้คุณจะมีบัตรกำนัล แต่จะสามารถนำไปใช้ได้ที่ไหน ในเมื่อหลายธุรกิจต้องปิดตัวลง หรือต้องปิดให้บริการเร็วขึ้น”
สำหรับประเทศไทย ด้านกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ประกาศมาตรการควบคุม Covid-19 ระดับ 4
โดยขอความร่วมมือให้ประชาชนหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารร่วมกัน งดดื่มสุราในร้านอาหาร งดเดินทางข้ามจังหวัดโดยใช้รถสาธารณะ รวมไปถึงให้หลีกเลี่ยงเดินทางออกนอกประเทศ
ซึ่งมาตราการดังกล่าว ยังคงเป็นลูปเดิมของวงโคจรที่ธุรกิจไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบกับผลที่ตามมาอีกครั้งได้
ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ ที่ประเทศไทยก็มีมาตรการที่เข้มข้นต่อสู้กับสถานการณ์ Covid-19 ที่รุนแรง หากจำกันได้ช่วง ปี 2020 ที่ผ่านมาประเทศประกาศล็อคดาวน์ ปิดประเทศอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนมีนาคม 2020 กินระยะไปหลายเดือน ด้วยนโยบายงดการรับประทานอาหารภายในร้านอาหาร งดการเดินทางท่องเที่ยวในและต่างประเทศ ประกาศเคอร์ฟิว และขอความร่วมมือ work from home จากภาคเอกชน
และเป็นที่ทราบกันดีกว่า จากเหตุการณ์ครั้งนั้น ผลกระทบที่ตามมา ส่งผลให้หลายธุรกิจไม่สามารถแบกรับค่าใช้จ่ายโดยไม่มีรายรับได้อีกต่อไป จนต้องปิดตัวลงในที่สุด ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร หรือร้านค้าปลีกที่มีตัวเลขยอดการขายหายไปกว่า 20-25% (ตามรายงานจากสมาคมผู้ค้าปลีกไทย) และสร้างความเสียให้กับกลุ่มแรงงานดังกล่าว ด้วยจำนวนกว่า 3.4 ล้านคน มากที่สุดในบรรดากลุ่มแรงงานอื่น ๆ (ตามรายงานจาก pier.or.th)
ซึ่งในปี 2022 นี้ เมื่อช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา นักวิเคราะห์หลายฝ่ายได้มองว่าภาคอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจไทยจะค่อย ๆ ฟื้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่เมื่อมองในสถานการณ์ล่าสุดนั้น หากมาตรการที่มีผลบังคับใช้เข้มงวดขึ้น อาจเป็นอีกแรงฉุดรั้งของการเติบโตของเศรษฐกิจไทย
สำหรับในช่วงที่การกลายพันธุ์ของโรคระบาด ไม่ได้ส่งผลรุนแรงต่อมนุษย์เหมือนอย่างที่ผ่านมา จนหลาย ๆ ประเทศเปิดให้เป็นไข้หวัดประจำถิ่น โรคระบาด Covid-19 ในตอนนี้ ก็คงไม่น่ากลัวเท่ากับนโยบายที่ทำให้เศรษฐกิจต้องสะดุดอีกครั้ง
เขียนและเรียบเรียง : ธนัญญา มุ่งสันติ