ปรับพื้นฐานสร้าง New Gen รับมือโลกใหม่ด้วย ‘ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21’

เราอาจได้ยินคำว่า ‘ทักษะใหม่ที่คนทำงานต้องเรียนรู้’ กันมามาก ไม่ว่าจะเป็นการ Upskill, Reskill, Newskill ซึ่งความจริงแล้ว ถือเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของคนวัยทำงาน และถือเป็นเรื่องท้าทายเนื่องจากคนจำนวนครึ่งต่อครึ่ง ที่ไม่สามารถยกระดับตัวเองได้สำเร็จ นั่นเพราะพื้นฐานความรู้ของเราเป็นแบบเก่าอยู่

“We cannot build the future for our youth, but we can build our youth for the future.” เราไม่อาจจะสร้างอนาคตให้คนรุ่นใหม่ได้ แต่เราสามารถเตรียมการเขาให้พร้อมสำหรับอนาคตได้

คำกล่าวจาก Franklin D. Roosevelt อดีตประธานาธิบดีคนที่ 32 ของสหรัฐอเมริกา จึงมีการตั้งคำถามหลายครั้งว่า เราจะเตรียมการอะไรดี สำหรับโลกที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงนี้ ควรเป็นองค์ความรู้แบบไหน

The Next Normal of Education
ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทุกวัน เรามักมีคำถามว่าควรจะเรียนอะไรดี อาชีพอะไรที่จะยังคงอยู่ หลังจากการเข้ามาของหุ่นยนต์ AI และโลกในยุค Digital ที่กำลัง Disrupts ธุรกิจแบบเดิมได้ มีการคุยเรื่อง Digital Transformation มาโดยตลอด และปี 2566 สิ่งเดียวที่จะทำให้เราอยู่รอดในตลาดแรงงาน คือทุกคนต้องรู้จักที่จะ Learn Unlearn และ Relearn

 

ตั้งแต่เกิดการระบาดของไวรัส Covid-19 ถือเป็นจุดเปลี่ยนของภาคการศึกษาอย่างแท้จริง นักเรียน นักศึกษา ต่างพึ่งพาแพลตฟอร์มออนไลน์ในการเรียนรู้มากขึ้น ขณะที่ผู้สอนต่างพึ่งเทคโนโลยี เพื่อปรับหลักสูตรการสอนมากขึ้น ทั้งหมดคือรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน

ที่น่าสนใจกว่านั้น จากการประเมินของ World Economic Forum ระบุว่า ไม่เกิน 5 ปีจากนี้ ทั่วโลกจะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพิ่มมากขึ้น ทำให้กว่า 50% ของลูกจ้างจำเป็นต้อง Reskill ใหม่ หรือการที่มี Skill เดิม โดยต้องเรียนรู้ใหม่เพื่อปรับตัวรองรับอนาคต โดยประเมินว่าจากภัยคุกคามนี้จะส่งผลกระทบโดยตรงกับ 375 ล้านตำแหน่ง จะมีการแทนที่ด้วยเครื่องจักรกล

 

คำถามที่น่าสนใจคือ เมื่อโลกการศึกษาถูกท้าทาย จากทั้งปัจจัยภายนอกและใน ทั้งอุตสาหกรรม เราต้องปรับตัวอย่างไร?

คุณกาญจนา อธิบายเพิ่มเติมว่า จากจำนวนคนเกิดน้อยลง ส่งผลให้ภาคการศึกษารับผลกระทบจากนักเรียนที่ลดลง ทำให้เกิดปัญหาต่อมา คือ วิธีการเรียน และวิธีสอน ไม่สอดคล้องกับตลาดแรงงาน โดยข้อมูลจาก Research ของ Kaplan University Partners สรุปได้ว่า มหาวิทยาลัยจะเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่กำลังจะโดน Disrupt ในอีกไม่นาน

 

ทำให้เทรนด์การศึกษากำลังจะ shift จาก “การเรียนมหาวิทยาลัยเอาปริญญาเพื่อให้ได้งาน” เป็น “การทำงาน เพื่อให้ได้ปริญญา”

PwC, Walmart, Starbucks, Disney มีโปรแกรมพิเศษที่ Recruit เด็กมัธยมไปทำงาน และใช้เวลาทำงานแทนการเรียนแบบนับหน่วยกิต โดยจับมือกับมหาวิทยาลัยที่มี Online Degree พนักงานก็ไปทำงานตามปกติ เพื่อเก็บสะสมชั่วโมงการทำงาน ให้ครบตามที่ตั้งไว้ แล้วก็ลงเรียนออนไลน์ ในวิชาที่หลักสูตรนั้นกำหนดไว้

และเมื่อครบทั้งชั่วโมงทำงานและวิชาที่เรียนก็จะได้ปริญญาเลย โดยบริษัทเหล่านี้เป็นคนออกค่าเรียนให้พนักงานด้วย เป็นการซื้อใจให้พนักงานอยู่ยาว ๆ

ตัวอย่างโปรแกรมของ Disney ชื่อ “Disney Aspire” มีสาขาวิชาให้เลือกหลากหลาย ตั้งแต่ปริญญาตรีจนถึงปริญญาโท หรือ วิชาเฉพาะทาง สำหรับตำแหน่งงานนั้น ๆ โดยที่ไม่ต้องมีปริญญาก็ได้

 

ทั้งนี้ องค์กรใหญ่ ๆ ในสหรัฐฯ เริ่มมีโปรแกรมแบบนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ และอีกไม่นาน คงไม่มีความจำเป็นต้องเรียนในมหาวิทยาลัย และบริษัทต่าง ๆ อาจพัฒนาหลักสูตรขึ้นมาเอง เพื่อ Train พนักงานในแต่ละหน้าที่ กระทั่งจัดตั้งหน่วยงาน innovation/research ขึ้นภายใน เพื่อนำ talent เข้ามาทำงานโดยเฉพาะ

 

คุณกาญจนา ระบุว่า World Economic Forum เคยให้ข้อมูลถึงความสามารถในการแข่งขันโลกทุกปีจะพบว่า คุณภาพการศึกษาทั้งระดับพื้นฐานมัธยมและอุดมศึกษาของไทย อยู่ในระดับรั้งท้ายในอาเซียน โดยใช้คำว่า ‘คุณภาพต่ำอย่างผิดปกติ’ จึงเกิดคำถามชวนสงสัยว่า อนาคตจากนี้ ภาพรวมการศึกษาไทย ซึ่งตกอยู่ในวิกฤตการเรียนรู้ จะมีทางแก้ปัญหาแบบใด อย่างไร เพราะทักษะสำหรับพลเมืองในศตวรรษที่ 21 ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในห้องเรียนอีกต่อไป

 

ความท้าทายของมหาวิทยาลัย
การแข่งขันเพื่อรั้งอันดับ ‘สถานะ’ มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด ท่ามกลางการแข่งขันระหว่างสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาต่าง ๆ ทวีความรุนแรงขึ้นทั่วโลก ขณะที่อีกนัยหนึ่งนักศึกษาต่างต้องเตรียมตัวเองเพื่อลงแข่งขันในสนามสอบ เพื่อให้ได้ที่นั่งเรียนในสาขาวิชาชีพที่ใฝ่ฝัน เพราะนั่นหมายถึงโอกาสก้าวหน้าในชีวิตหลังพ้นรั้วมหาวิทยาลัย โดยผู้ที่มีผลการเรียนและคุณสมบัติที่ดีกว่า มักจะได้รับโอกาสทางอาชีพที่ดีกว่าในสภาวะตลาดการจ้างงานที่มีการแข่งขันสูง

 

“ถ้าย้อนกลับไป 10 ปีที่แล้ว การศึกษาไทยยังไม่ได้รับผลกระทบมากเท่านี้ ปัจจุบัน ภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สำหรับมหาวิทยาลัยแล้ว ก็ต้องบอกว่า นี่คือยุคแห่งการเอาตัวรอด เพราะจำนวนเด็กก็ลดลง ขณะที่หลักสูตรการเรียนการสอนไม่ได้ปรับปรุงให้ทันสมัย จนกลายเป็นปัญหาสะสม นักศึกษาที่จบออกมาไม่ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน เพราะเรียนมาแต่ใช้ไม่ได้”

 

เพื่อเตรียมความพร้อมในอนาคต สำหรับการปรับพื้นฐาน รับมือโลกใหม่ด้วย ‘ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21’  โรงเรียนนานาชาติ BROMSROVE INTERNATIONAL SCHOOL THAILAND เป็นหนึ่งในโรงเรียนขนาดกลาง ชั้นนำของประเทศไทย ที่มีหอพักภายในโรงเรียน นั่นทำให้โรงเรียนสามารถสนับสนุนชีวิตการเรียนของนักศึกษาได้อย่างเต็มที่ตลอดวัยเด็ก ไม่ว่าจะเป็นด้านการกีฬา ดนตรี ศิลปะ หรือการเรียนในสายเฉพาะที่ตัวเด็กนั่นใฝ่ฝัน โรงเรียนนานาชาติบรอมส์โกรฟเป็นโรงเรียนแรกของโรงเรียนในเครือบรอมส์โกรฟ สหราชอาณาจักร (Bromsgrove School UK) ที่เปิดมาแล้วกว่า 500 ปี

 

ปัจจุบัน โรงเรียนนานาชาติบรอมส์โกรฟมีอยู่ 2 แคมปัส โดยที่โรงเรียนอนุบาลชั้นปี Pre-Nursery ถึง Yr.1 (2-4 ขวบ) จัดตั้งอยู่ที่รามคำแหง ระหว่างที่ชั้นประถมจนถึง อายุ 18 ปี จะเรียนอยู่ที่แคมปัสใหญ่ที่มีนบุรี-หนองจอก ที่มีหอพักพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกระดับชั้นนำของโลก ที่รองรับนักเรียนมากกว่า 200 คน และเด็ก ๆ ที่อยู่ประจำจะได้รับการดูแลอย่างทั่วถึงตั้งแต่ลุกออกจากเตียง

 

ทั้งนี้ โรงเรียนนานาชาติบรอมส์โกรฟ จึงเป็นสถานที่การศึกษานานาชาติที่ช่วยเตรียมพร้อมเด็กนักเรียนเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัยทั่วโลกด้วยหลักสูตรอังกฤษ IGCSE, B-TECH และ A-Levels ที่ถูกถอดมาจากโรงเรียนแม่ที่สหราชอาณาจักร

 

เขียนและเรียบเรียง : คุณกาญจนา ภวัครานนท์ ลูกสาวผู้ก่อตั้งโรงเรียนนานาชาติ BROMSGROVE INTERNATIONAL SCHOOL Thailand
Line Business+ ได้ที่ : https://lin.ee/pbIHCuS
IG ได้ที่ : https://www.instagram.com/businessplus.thailand/
#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #BROMSROVE #BROMSROVEINTERNATIONALSCHOOLTHAILAND #ทักษะแห่งศตวรรษที่21