อำพลฟูดส์ฯ นวัตกรรมอาหารไทย สู่ตลาดโลก

ตระกูล ‘เทพผดุงพร’ ผู้ริเริ่มตำนานพ่อค้ามะพร้าวสู่อุตสาหกรรมอาหารระดับโลก ก่อการโดย อำพล เทพผดุงพร เริ่มต้นจาก ‘หจก.อุดมมะพร้าว’ ห้องแถวขนาดเล็กของชุมชนท่าเตียน แหล่งค้าส่งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศเมื่อกว่า 50 ปี ที่ผ่านมา เป็นสถานที่เริ่มต้นขึ้นของตำนาน ‘กะทิชาวเกาะ’

โดยการขนส่งมะพร้าวมาจากเกาะสมุย ขนส่งทางเรือกลไฟปริมาณเป็นแสนลูกต่อวัน ความสำเร็จขณะนั้นเกิดจากความขยันและซื่อสัตย์ต่อลูกค้า จนก้าวสู่การเป็นโรงงานขนาดใหญ่ของจังหวัดนครปฐม ก่อนมาเป็นอำพลฟูดส์ ในวันนี้

 เข้าไปอ้อนวอนแม่ค้าตลาดเฉลิมโลก ชื่อแม่สงวนตื้ออยู่ตั้งแต่เช้ามืดยันสาย จนแกยอมให้ผมนำกะทิซองไปฝากขาย 20 ถุงๆ ละ 10 บาท ตกเย็นแม่สงวนโทรเข้าบ้านบอกให้ไปเก็บสินค้ากลับ แต่พอวันรุ่งขึ้นกะทิซองเริ่มขายได้ด้วยกลยุทธ์ที่แม่สงวนใช้คือ การขายพ่วงซื้อกะทิสด 10 กิโล ต้องซื้อกะทิซอง 2 กิโลกรัม

 ต่อเมื่อการคมนาคมขนส่งเชื่อมต่อด้วยเส้นทางถนน ส่งผลต่อพ่อค้าคนกลางลดน้อยลง กระทบต่อกิจการค้าส่งมะพร้าวของตระกูลเทพผดุงพร นำมาซึ่งการปรับตัวทางธุรกิจโดยการเริ่มต้นการผลิตกะทิสำเร็จรูป ‘ชาวเกาะ’

บริษัท อำพลฟูดส์ โพรเซสซิ่ง จำกัด ก่อตั้งปี พ.ศ.2519 แต่เริ่มจำหน่ายสินค้าปี พ.ศ.2523 ซึ่งต้องใช้เวลาในการสร้างการยอมรับ เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงความเชื่อของผู้บริโภคจากการทำอาหารโดยใช้กะทิคั้นสดๆ ซื้อจากตลาด เมื่อนำบรรจุลงซองและกล่องในเวลาต่อมา ผู้บริโภคจึงไม่มีความเชื่อมั่นว่ากระทิกล่องจะมีความสดสู้กะทิคั้นสดๆ ได้หรือไม่

คำถาม ข้อสงสัย ความไม่เชื่อถือ กระทิใส่ซอง จึงทำให้ตลาดการค้าในประเทศไม่ได้ผลตอบรับที่ดีทางด้านยอดขาย แต่กลับขายดีผลิตไม่ทันจากการส่งออกไปต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่ไม่มีมะพร้าว จนเป็นที่มาของการตั้งโรงงานแรกเมื่อปี พ.ศ.2519 ‘เทพผดุงพร’ ริมถนนพุทธมณฑลสาย 4 ปัจจุบันผลิตกะทิชาวเกาะ บรรจุกระป๋อง และกะทิผง น้ำพริกแกง ผักผลไม้กระป๋อง เช่น ขนุน ข้าวโพดฝักอ่อน ไข่นกกระทา อ้อยแท่ง (ทำเป็นกุ้งพันอ้อยอาหารเวียดนาม) แบ่งเป็นตลาดส่งออกกว่า 80% ที่เหลือเป็นตลาดในประเทศ โดยมียอดขายปี 2557 ประมาณ 5,000 ล้านบาท

 เกรียงศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการผู้จัดการ บริษัท อำพลฟูดส์ฯ ลูกชายคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้องทั้ง 5 คน เล่าถึงการทำให้ผู้บริโภคตอบรับกะทิในรูปแบบที่บรรจุอยู่ในซอง ทางเลือกเดียวเพื่อสร้างการยอมรับคือ การให้ผู้บริโภคได้ทดลองใช้สินค้า รวมถึงโรงแรมแอมบาสเดอร์ที่เริ่มลองสั่งกระทิสำเร็จรูปมาใช้เป็นแห่งแรกวันละ 500 กิโลกรัม ตามด้วยดุสิตธานี และโอเรียนเต็ล

 “เข้าไปอ้อนวอนแม่ค้าตลาดเฉลิมโลก ชื่อแม่สงวนตื้ออยู่ตั้งแต่เช้ามืดยันสายจนแกยอมให้ผมนำกะทิซองไปฝากขาย 20 ถุงๆ ละ 10 บาท ตกเย็นแม่สงวนโทรเข้าบ้านบอกให้ไปเก็บสินค้ากลับ แต่พอวันรุ่งขึ้นกะทิซองเริ่มขายได้ด้วยกลยุทธ์ที่แม่สงวนใช้คือ การขายพ่วงซื้อกะทิสด 10 กิโล ต้องซื้อกะทิซอง 2 กิโลกรัม จนขอเป็นผู้ขายรายเดียวในตลาด และประสบความสำเร็จในตลาดกรุงเทพฯ ได้ในที่สุด”

เมื่อ ‘กะทิชาวเกาะ’ ติดตลาด การบริหารจัดการเรื่องของวัตถุดิบจึงต้องปรับเปลี่ยนเพื่อรองรับการผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยกระจายงานไปยังกลุ่มชาวบ้านทั้งในอำเภอแม่กลองและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หน้าที่หลักคือแกะเนื้อมะพร้าวส่งต่อให้พ่อค้าคนกลาง โดยไม่ต้องขนลูกมะพร้าว มายังโรงงาน เพื่อลดขั้นตอนการผลิตให้สั้นลงและได้ปริมาณที่เพิ่มมากขึ้น

ปัจจุบัน ‘กะทิชาวเกาะ’ มีกระบวนการผลิตภายใต้เทคโนโลยีเพื่อคงความสดไม่แตกต่างจากกะทิคั้นสด เก็บไว้ได้นาน 1 ปี โดยไม่ต้องแช่เย็น

 ต่อยอดแบรนด์ อำพลฟูดส์ เป็นมากกว่า ‘กะทิ’

อำพล ผู้ถากถางเส้นทางจากคนรุ่นพ่อ ผสานในเชิงการค้าด้วยไหวพริบ เคียงข้างจรีพร คนรุ่นแม่ สะสมความน่าเชื่อถือทางด้านเครดิตทางการค้าที่ตรงต่อเวลา

 “พ่อจบป.2 ส่วนแม่จบป.4 แต่เป็นตัวอย่างของความอดทน ขยัน ตื่นเช้า ทำงานไม่มีวันหยุด ตื่นตี 4 ทุกวัน การทำธุรกิจต่อรองได้ ชั้นเชิงทางธุรกิจมีได้ แต่อย่าให้ผิดเรื่องเครดิต ตัวอย่างในอดีตมีการขายมะพร้าวตัดราคากัน ร้านแม่ขายมะพร้าวลูกละ 2 บาท ร้านอื่นขายแค่ลูกละ 1.80 บาท แม่ก็ถูกต่อว่าขายแพง ต้องใช้ชั้นเชิง ไหวพริบ ต้องวัดใจจูงมือลูกค้าไปยังเรืออีกลำตัดราคาขายเหลือลูกละ 1.50 บาท แต่ลูกค้าเจ้าประจำไม่ซื้อยืนยันซื้อราคาเดิม เพราะคิดว่าของแพงคุณภาพดีกว่า”

ขณะที่โรงงานแห่งแรก ‘เทพผดุงพร’ ผลิตกะทิชาวเกาะส่งออก ตัวแทนจำหน่ายต่างประเทศเรียกร้องผลิตภัณฑ์อื่นที่แตกต่างไปจากกะทิแต่เพียงอย่างเดียว …

 ธเนศ ศรีสุข

 —– ติดตามบทความทั้งหมดได้ที่ นิตยสาร Business+ March 2015 Issue 313 —-