Aged Society ในประเทศไทย

7 บริษัทที่ได้รับประโยชน์ Aged Society ในไทยมีใครบ้าง?

จากข้อมูลของกรมกิจการผู้สูงอายุ พบว่าผู้สูงอายุทั่วประเทศไทย เดือน ธันวาคม 2565 มีจำนวน 12,698,362 คน จากประชากรไทยทั้งประเทศ 66,171,439 คน นั่นเท่ากับว่าประเทศไทยเป็นสังคมผู้สูงอายุ (Aged Society) และในอนาคตอีกไม่กี่ปีไทยก็จะกลายเป็น สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Hyper-aged Society) ซึ่ง ศูนย์พยากรณ์กสิกรไทย มีการคาดการณ์ไว้ว่าประเทศไทยจะกลายเป็น Super-aged Society ในปี 2572 เร็วกว่าที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมคาดการณ์ไว้ว่าจะเกิดภาวะดังกล่าวในปี 2575 นั่นจึงทำให้สังคมสูงวัยเป็นหนึ่งใน Mega Trend ที่น่าจับตามอง

โดยจากงานวิจัยของ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พบว่าสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคระหว่างครัวเรือนทั้งหมดเทียบกับครัวเรือนที่มีผู้สูงวัย นั้น  ค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคของครัวเรือนที่มีผู้สูงวัยมีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยครัวเรือนทั้งหมดมี 3 รายการ คือ

1. บริการสาธารณสุข

2. อาหารสุขภาพ

3. ค่าเช่าที่ดินและที่อยู่อาศัย

และยังมีค่าใช้จ่ายที่น่าสนใจอีกส่วนคือ ค่าใช้จ่ายรถส่วนตัว ซึ่งพบว่าแม้รายจ่ายในการซื้อยานพาหนะของครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุจะต่ำกว่าครัวเรือนที่ไม่มีผู้สูงอายุ แต่รายจ่ายเพื่อใช้บริการรถยนต์ไม่สาธารณะ หรือแท็กซี่ รวมถึงรถจักรยานยนต์รับจ้าง มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อเดือนในการใช้บริการสูงกว่าค่าเฉลี่ยของครัวเรือนทั้งหมดถึง 27% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าผู้สูงวัยส่วนใหญ่ต้องการความสะดวกสบายในการเดินทางมากกว่าจะขึ้นรถประจำทาง อย่าง รถเมล์ เพราะผู้สูงอายุบางส่วนอาจมีข้อจำกัดทางด้านร่างกายที่ไม่สามารถเป็นผู้ขับขี่ยานพาหนะได้เอง รวมทั้งอาจต้องการยานพาหนะที่ติดตั้งอุปกรณ์เสริมในการเดินทาง เช่น เก้าอี้เสริมสำหรับติดตั้งบนรถ

ซึ่งจากข้อมูลรายจ่ายดังกล่าว ทำให้เราเห็นว่า กลุ่มธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตสูงในสังคมผู้สูงอายุ สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มธุรกิจ คือ

1. กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม : โดยการปรับตัวของธุรกิจจะเน้น 3 ด้าน

– ตัวผลิตภัณฑ์ จะเน้นอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เช่น เนื้อสัตว์ที่ทำจากพืช ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มผสม คอลลาเจน

– การออกแบบบรรจุภัณฑ์ เช่น จะต้องใช้แรงบิด หรือฉีกเพื่อเปิดบรรจุภัณฑ์น้อย จับสะดวก และมีน้ำหนักเบา

– ฉลาก มีตัวอักษรขนาดใหญ่ชัดเจนและมีคำอธิบายที่เข้าใจง่าย

2. กลุ่มธุรกิจก่อสร้างและซ่อมแซมที่อยู่อาศัย : โดยการปรับตัวของธุรกิจจะเน้น 3 ด้าน

– ด้านเทคโนโลยีการก่อสร้าง เช่น ใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างที่ลดการฟุ้งกระจายฝุ่น

– ด้านวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง เน้นเพื่อความปลอดภัยของผู้สูงอายุ เช่น ก๊อกน้ำก้านโยก ประตูบานเลื่อน กระเบื้องยาง

– อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคเสริมความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุ เช่น เซ็นเซอร์แจ้งเหตุฉุกเฉินชุดตรวจสุขภาพ

3. บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข ควรเน้นพัฒนาปรับปรุงมาตราฐานคุณภาพและความเพียงพอของการให้บริการให้ดีขึ้น เพื่อให้สามารถรองรับความต้องการใช้บริการที่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเป็นโอกาสของธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น ธุรกิจประกัน และการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ซึ่งภาครัฐจำเป็นต้องสนับสนุนให้เกิดการร่วมมือกันระหว่างภาคการท่องเที่ยวและโรงพยาบาลในบริการการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุทั้งไทย และต่างชาติให้เข้ามาใช้บริการ

ทั้งนี้ หากเรามองบริษัทในประเทศไทยที่จะได้รับประโยชน์จากธุรกิจเหล่านี้ โดยอ้างอิงข้อมูลจาก ‘ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย’ จะเห็นได้ว่ากลุ่มธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ และบริการทางการแพทย์มีการเติบโตของรายได้สอดคล้องกับสังคมผู้สูงอายุ โดยหากเราเก็บข้อมูลในระหว่างปี 2564-2565 ที่ไทยเปลี่ยนจาก Aging Society เป็น Aged Society

รายได้ในระหว่างปี 2564-2565 ของกลุ่มธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพและบริการทางการแพทย์

Aged Society ในประเทศไทย

ซึ่งจากข้อมูลแสดงให้เห็นว่าการเติบโตของตลาดสินค้าและบริการกลุ่มนี้สูงมาก และยังมีแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่อง โดยกระทรวงสาธารณะสุขประมาณการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุในไทยปีละประมาณ 5 แสนคน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าภาวะสังคมผู้สูงอายุเป็น Mega Trend ที่ส่งผลต่อการภาคธุรกิจอย่างมาก ซึ่งภาคธุรกิจจึงควรเตรียมพร้อมปรับตัวเพื่อรับมือกับภาวะดังกล่าว ทั้งการศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มนี้เชิงลึกและวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดให้เหมาะสม ทั้งด้านคุณภาพและด้านราคา

 

นอกจากนี้ ‘Business+’ มองว่า ยังมีอีกกลุ่มธุรกิจที่ยังมีโอกาสในภาวะสังคมผู้สูงวัย นั่นคือ ธุรกิจยานพาหนะส่วนบุคล โดยที่ผู้ประกอบการธุรกิจกลุ่มนี้ควรพัฒนา และปรับตัวด้านการออกแบบรถยนต์ เช่น เพิ่มเทคโนโลยีในการขับขี่ที่เสริมสร้างความปลอดภัย เช่น ระบบแจ้งเตือนเมื่อขับขี่ออกนอกเลนส์ ระบบช่วยเบรก  รวมถึงมีการออกแบบห้องโดยสารที่เหมาะสมเผื่อไว้สำหรับการวางเก้าอี้เลื่อน

โดยเฉพาะการให้บริการในกรุงเทพฯ เพราะกรุงเทพฯ มีประชากรสูงอายุมากถึง 1,210,828 คน จากประชากรทั้งหมดในกรุงเทพ 5,527,994 คน คิดเป็น 21.90% นั่นหมายความว่ากรุงเทพฯ เพียงจังหวัดเดียวก็เป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ไปแล้ว และเมื่อเจาะเข้าไปถึงรายได้ของผู้สูงอายุ เราพบข้อมูลว่าผู้สูงอายุในกรุงเทพเป็นจังหวัดที่มีรายได้สูงที่สุด โดยมีรายได้เฉลี่ยเกิน 300,000 บาทต่อปี ดังนั้น การเจาะกลุ่มผู้สูงอายุในกรุงเทพด้วยบริการระดับพรีเมียมจึงตอบโจทย์ เพราะกลุ่มนี้มีกำลังซื้อสูง ซึ่งหากเราใช้ข้อมูลเจาะลึกพฤติกรรมกลุ่มผู้สูงอายุ Silver Age นี้ ก็จะกลายเป็นแหล่ง Blue Ocean ของธุรกิจของเราได้นั่นเอง

ที่มา : SET

เขียนและเรียบเรียง : พรรณรุ้ง คุ้มพงษ์พันธ์

ติดตาม Business+ ได้ที่ : https://www.thebusinessplus.com/

Line Business+ ได้ที่ : https://lin.ee/pbIHCuS

IG ได้ที่ : https://www.instagram.com/businessplus.newgen2021/

#Businessplus #นิตยสารBusinessplus #คอนเสิร์ต #เศรษฐกิจ #BTS