เจาะเบื้องหลัง “ซูเปอร์ลีก” ผลประโยชน์ VS จุดจบ ท่ามกลาง Covid

ช่วงนี้ฟุตบอลภายในประเทศโดยเฉพาะของทวีปยุโรป 5 ลีคหลักก็ทยอยเดินทางเข้าสู่ช่วงท้ายฤดูกาลกันแล้ว หลายลีกได้แชมป์ปีนี้ไปแล้ว และบางลีคก็อาจจะต้องลุ้นกันจนถึงนัดสุดท้าย กีฬาฟุตบอลในปีนี้ก็เหมือนกับทุก ๆ กีฬาบนโลกที่ต้องเจอสถานการณ์ที่ยากลำบากของ COVID-19 จนทำให้รายได้หายไปจำนวนมากจากการไม่มีคนดูในสนาม รวมไปถึงผู้สนับสนุนทั้งหลายก็รัดเข็มขัดกันสุดชีวิต

แถมยังมาเจอเหตุการณ์สุดช็อก!! ซึ่งเลือกเวลาเกิดได้ดีเสียเหลือเกินจากความคิดของสโมสรยักษ์ใหญ่ในยุโรปที่อยากจะสร้างรายการแข่งขันใหม่ที่ใช้ชื่อว่า European Super League ซึ่งว่ากันว่าตัวตั้งตัวตีมี 3 ยอดทีมจากลีกสเปน 2 และอิตาลี 1 เป็นตัวนำอย่างเรอัล มาดริด, บาร์เซโลน่า และยูเวนตุส โดยเหตุผลหลัก ๆ ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องผลประโยชน์มหาศาลที่ทีมดังเหล่านี้รู้สึกว่าตัวเองได้น้อยเกินกว่าควรจะเป็น

จริง ๆ ความคิดเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใดมีการพูดถึงมานานแล้วถึงความเป็นไปได้ในเรื่องนี้ซึ่งแน่นอนว่าแรงต้านเยอะ เพราะมันเป็นสิ่งใหม่และคนในวงการฟุตบอลก็รู้สึกคุ้นเคยกับเรื่องราวเก่า ๆ รวมไปถึงก่อนหน้านี้สถานการณ์โดยรวมของธุรกิจฟุตบอลยังสามารถเดินหน้าได้อยู่ แต่ตอนนี้ภายใต้บริบทใหม่ของโลกก็ถือเป็นโอกาสอันดีที่คนอยากจะตั้ง European Super League มองว่าเวลาอันเหมาะสมมาถึงแล้ว!!

อย่างที่เรารู้กัน European Super League (มีประธานดูแลรายการนี้คือคุณโฟลเรนติโน เปเรซ ประธานสโมสรเรอัล มาดริด และเป็นหนึ่งใน 2 ทีมที่ยังไม่ถอนตัวเคียงคู่กับบาร์เซโลน่า) ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นคู่แข่งของ UEFA Champions League ซึ่งเจ้าของสิทธิ์รายการนี้คือ ยูฟ่า (UEFA : The Union of European Football Associations : สมาคมฟุตบอลยุโรปและรวมเอเชียบางส่วน) โดยยูฟ่าถือเป็นส่วนหนึ่งของฟีฟ่า (FIFA) เรียกว่า ESL กำลัวงัดข้อกับขาใหญ่ของโลกเลยทีเดียว

อะไรทำให้ #EuropeanSuperLeague น่าสนใจ

และเพื่อให้เห็นภาพว่าทำไมยักษ์เล็กถึงการงัดยักษ์ใหญ่และยักษ์เล็กเหล่านี้ก็ดูมุ่งมั่นจะสร้างรายการ European Super League ขึ้นมาให้ได้ เราก็ต้องมาดูปัจจัยหลักอย่าง รายได้ ของทั้ง 2 ฝั่งกันหน่อย ไม่มีใครเถียงว่าสโมสรที่เข้าร่วมรายการใหม่นี้ส่วนใหญ่มีศักยภาพสร้างรายได้อย่างงามอยู่แล้ว แถมคนดูก็มากมายมีฐานแฟนบอลเป็นของตัวเองและมีอยู่ทั่วโลกเสียด้วย เพราะฉะนั้นหากมาแข่งกันเองก็น่าจะทำรายได้มหาศาลขึ้นไปอีกรึเปล่า ?

ซึ่งหากเข้าไปดูในเว็ปไซต์ของ thesuperleague.de ก็จะพบว่าสโมสรที่ร่วมก่อตั้งรายการนี้ทั้งหมดจะได้เงินสนับสนุนเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นมูลค่า 3,500 ล้านยูโร หรือประมาณ 133,000 ล้านบาท และอีกกว่า 10,000 ล้านยูโรตลอดสัญญา หรือประมาณ 380,000 ล้านบาท ยังไม่หมดแค่นั้นรายการนี้ถูกคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้จากสื่อและสปอนเซอร์มากกว่า 4,000 ล้านยูโร นั้นทำให้สมาชิกจะได้เงินจากตรงนี้ทั้งหมดแบบสุทธิแล้วต่อปีอยู่ที่ 264 ล้านยูโร หรือประมาณ 10,032 ล้านบาท

ยูฟ่าจะสู้ไหวเหรอพี่!!

ด้านยูฟ่ามีรายได้ในปี 2019-2020 อยู่ที่ราว ๆ 3,082 ล้านยูโร หรือประมาณ 117,116 ล้านบาท โดยมากกว่า 2,600 ล้านยูโรมาจากลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสด อีกราว ๆ 3,000 ล้านยูโรเป็นลิขสิทธิ์ทางการค้า และอื่น ๆ อีกประมาณ 1,000 ล้านยูโร ซึ่งรายได้รวมในหลายปีหลังก็ดูทรง ๆ มาโดยตลอด ขณะที่รายได้สุทธิของยูฟ่าติดลบ 73 ล้านยูโรในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งหากย้อนไปดู 4 ปีหลังที่ผ่านมาก็พบว่าติดลบมาโดยตลอดและมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่หยุด รายได้จากการดำเนินงานของยูฟ่าปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 157 ล้านยูโร ลดลงมากกว่า 5 เท่าเมื่อเทียบกับมีปี 2015-2016 ซึ่งมีรายได้อยู่ที่ 1,269 ล้านยูโร

คราวนี้ขยับมาดูเฉพาะรายการสำคัญของยูฟ่าอย่าง UEFA Champions League โดยรายการนี้เป็นคู่แข่งโดยตรงกับ European Super League ที่ถูกคาดหมายว่าจะเกิดขึ้นแทนในอนาคต โดยรายได้ของรายการนี้ในปี 2018-2019 อยู่ที่ 2,816 ล้านยูโร ซึ่งก็คือเกือบทั้งหมดของรายได้ยูฟ่านั้นเอง ฮ่า ๆ หรือพูดง่าย ๆ คือรายการอื่นที่ไม่ใช่รายการนี้ล้มเหลวโดยสิ้นเชิงในแง่รายได้

ขยับมาดูสาระสำคัญตรงนี้กันดีกว่าคือ ยูฟ่าแบ่งรายได้ให้สโมสรท็อป ๆ ได้กันไปคนละเท่าไรในปี 2018-2019

1.บาร์เซโลน่า                                 117 ล้านยูโร

2.ลิเวอร์พูล                                    111 ล้านยูโร

3.ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์                 101 ล้านยูโร

4.ยูเวนตุส                                      95 ล้านยูโร

5.แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด               93 ล้านยูโร

6.แมนเชสเตอร์ ซิตี้                       93 ล้านยูโร

7.ปารีสแซ็งแฌร์แม็ง                     85 ล้านยูโร

8.แอตเลติโก้ มาดริด                     85 ล้านยูโร

9.เรอัล มาดริด                               85 ล้านยูโร

10.บาเยิร์น มิวนิค                          82 ล้านยูโร

นอกจากนี้ยังมีเงินโบนัสและผลงานโดยรวมของแต่ละทีมในแต่ละปีที่ทางยูฟ่าจ่ายซึ่งตัวเลขของปี 2018-2019 อยู่ที่ 1,976 ล้านยูโร

เราจะเห็นว่ารายได้ของยูฟ่าแทบจะเทียบไม่ได้เลยกับสิ่งที่จะได้ในรายการใหม่อย่าง European Super League โดยเราลองคำนวนคร่าว ๆ เอาตัวเลขที่สูงที่สุดของสโมสร บาร์เซโลน่า 117 ล้านยูโรบวกโบนัสและผลงานโดยรวมอีก 50-60 ล้านยูโร เต็มที่ก็อยู่ราว ๆ 180 ล้านยูโรไม่น่าจะมากไปกว่านี้แล้ว แต่ขณะที่ถ้าเข้าร่วมกับ ESL จะได้ต่อปีอยู่ที่ 264 ล้านยูโร นี่แค่เฉพาะในแง่ของรายได้จากสื่อและสปอนเซอร์เท่านั้น

และหากมองให้ไกลอีกนิดถ้าวันหนึ่งรายการ ESL ไม่เอาระบบทีมเหย้ากับทีมเยือนละ แต่เปลี่ยนเป็นเตะที่ไหนก็ได้ทั่วโลก โดยแทนที่คุณจะบริหารทีมมากมายจนปวดหัวแถมหลายทีมก็ไม่ดึงดูคนดูซึ่งหมายถึงรายได้ แต่คุณเลือกบริหารแค่ 20 ทีมแบบเจ๋ง ๆ ไปเลย ไม่ต้องวุ่ยวายแบบยูฟ่าที่ต้องดูมันทุกอย่าง ที่สำคัญระบบเตะที่ไหนก็ได้เกิดขึ้นได้ง่ายกว่าถ้าเป็น ESL จริง ๆ โมเดลนี้ไม่ใช่ไม่เคยทำกันมา แต่ทำมานานแล้วสักพักในรูปแบบเกมอุ่นเครื่องที่ใช้ชื่อว่า International Champions Cup ยังไงละ นั้นก็คือการทดสอบระบบความพร้อมว่ามีโอกาสเกิดขึ้นไหม ผลตอบรับเป็นอย่างไร ก่อนจะดำเนินการจริงในเวลาที่เหมาะสมและสมควร ซึ่งตอนนี้ดูเหมือนทุกฝ่ายใกล้จะพร้อมแล้วรึเปล่า ?

แม้หลายฝ่ายจะแสดงความกังวลว่าการมาของ ESL จะทำลายฟุตบอลในลีกของประเทศนั้น ๆ ทางอ้อม เพราะความเข้มเข้นที่สูงกว่า พรัอมเม็ดเงินอันมหาศาลจะยิ่งเร่งตัวให้เกิดช่องว่าระหว่างทีมในระดับบนกับระดับท้องถิ่นอย่างเลี่ยงไม่ได้จนในที่สุดการแข่งขันภายในประเทศกลายเป็นไร้รสชาติไปเลย โดยลีกที่จะเสียหายมากสุดก็ไม่ใช่ใครอื่น พรีเมียร์ลีกอังกฤษนั้นเอง โดยรายได้ของลีกอังกฤษในปี 2018-2019 จะอยู่ที่เกือบ ๆ 6,000 ล้านยูโร (แต่แบ่งกันหลายทีนะ!! หลายทีมเริ่มรู้สึกไม่อยากแบ่งก็เยอะ!!)

แต่ทีมใน ESL ก็ต้องไม่ลืมว่า อาหารกลางวันฟรี นะ!! ไม่มีในโลกหลอก ได้อย่างก็เสียอย่างเสมอนะจ๊ะ!!

#EuropeanSuperLeague #ESL #UEFAChampionsLeague #UEFA #Football