รู้เท่าทันก่อนจะสาย กับโรคกระดูกพรุน

รู้เท่าทันก่อนจะสาย กับโรคกระดูกพรุน

ภาวะโรคกระดูกสันหลังที่เกิดจากกระดูกพรุนถือว่าเป็นภัยเงียบชนิดหนึ่งที่ไม่ได้มีอาการที่เด่นชัด จะรู้ตัวอีกทีก็ต่อเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นแล้ว เช่น เกิดการลื่นล้มจนทำให้เกิดกระดูกสันหลังหัก ทำให้มีอาการปวดรุนแรง บางรายกระดูกสันหลังพรุนจนทรุดตัว เป็นเหตุให้หลังค่อมหรือคด ทำให้ร่างกายเสียสมดุลขณะเดิน และมีอาการปวดหลังเรื้อรังได้

โรคกระดูกพรุนฟังดูเป็นเรื่องไกลตัว แต่หากคุณยังอายุน้อยหรืออยู่ในช่วงที่ไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ แต่เมื่อวันเวลาผ่านไป สังขารย่อมร่วงโรยตามกาลเวลา ความแข็งแรงของกระดูกย่อมมีการเสื่อมถอยลง ซึ่งกว่าจะรู้ตัวอีกทีก็เมื่อเกิดภาวะกระดูกพรุนจนเกิดการสึกหรอ นำไปสู่ภาวะกระดูกหัก โดยเฉพาะสตรีวัยหมดประจำเดือนซึ่งจะเป็นช่วงที่มีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็ว แล้วใครบ้างล่ะที่อยู่ในภาวะเสี่ยงจากโรคกระดูกสันหลัง ที่เกิดจากกระดูกพรุน ?

จากสถิติขององค์การอนามัยโลก พบว่าผู้หญิงทั่วโลกมีภาวะกระดูกพรุนร้อยละ 4 ในกลุ่มอายุ 50-59 ปี และจะเพิ่มขึ้นเป็น 8% , 25% และ 48% ในกลุ่มอายุ 60-69, 70-79 และมากกว่า 80 ปี ตามลำดับ

ในขณะที่ข้อมูลจากสถิติสาธารณสุขระบุว่า ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ประเทศไทยมีจำนวนประชากรที่อายุตั้งแต่ 40- 59 ปี ประมาณ 13 ล้านคน มีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุนมากขึ้น

เนื่องจากเมื่ออายุ 40-45 ปี กระบวนการสลายกระดูกจะมากกว่ากระบวนการสร้างกระดูก ซึ่งการลดลงของมวลกระดูกร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างกระดูก อาจทำให้เกิดภาวะกระดูกหักจนต้องได้รับการผ่าตัดรักษา ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตในระยะยาว โดยโรคกระดูกพรุนนี้จะทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น ปวดหลัง กระดูกสันหลังยุบตัวลง หลังค่อม ตัวเตี้ยลง กระดูกแขนขาเปราะหักง่าย เมื่อมีแรงกระแทกเพียงเล็กน้อย

 

แล้วถามว่า ภาวะกระดูกพรุนกระทบต่อกระดูกสันหลังอย่างไร ?

ก็ต้องบอกว่า ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าไปมาก ทำให้เราต้องมาวินิจฉัยก่อนว่า ภาวะกระดูกพรุนนั้นย่อมส่งผลให้แนวกระดูกสันหลังผิดรูป เช่น หลังค่อมหรือกระดูกสันหลังคด ทำให้ร่างกายเสียสมดุลได้ หรือหากเกิดกระดูกสันหลังหักหรือยุบตัวไปแล้ว บางรายอาจเกิดการกดทับต่อเส้นประสาทไขสันหลังร่วมด้วย ทางทีมแพทย์จึงต้องดำเนินการวินิจฉัยถึงกรณีที่สงสัยว่ากระดูกสันหลังเกิดการยุบตัว ก็จะดำเนินการ X-ray แบบเคลื่อนไหว (Motion View) ร่วมกับ MRI จะช่วยให้การวินิจฉัยกับภาวะผิดปกตินี้ได้ รวมถึงออกแบบการรักษาผู้ป่วย ซึ่งแนวทางการรักษาผู้ป่วยที่ตรวจพบว่าเป็นภาวะกระดูกสันหลังพรุนแบ่งออกได้ 2 แบบ ประกอบด้วย

  1. การรักษาทางยา โดยในปัจจุบันการใช้ยาในการรักษาภาวะกระดูกพรุน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามการออกฤทธิ์ต่อสมดุลของกระดูก คือ 1. กลุ่มยายับยั้งการสลายกระดูก (Anti-resorptive agents) 2. กลุ่มยากระตุ้นการสร้างกระดูก (Bone forming agents) และ 3. กลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ทั้งยับยั้งการสลายและกระตุ้นการสร้างกระดูก (Dual action agents)
  2. การรักษาโดยการผ่าตัด โดยถ้าหากกระดูกสันหลังเกิดการแตก หัก ทรุด หรือยุบตัว จากภาวะกระดูกพรุน ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดและแนวกระดูกสันหลังไม่ค่อมจนผิดรูป การฉีดซีเมนต์ก็จะเป็นผ่าตัดที่มีความเสี่ยงน้อย ให้ผลการรักษาที่ดี และสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น

แนวทางการรักษาแบบฉีดซีเมนต์ .. จบในวันเดียว
การฉีดซีเมนต์ (Bone Cement) รักษากระดูกสันหลังหัก แตก และทรุด เป็นทางเลือกสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ต้องการผ่าตัด การรักษาด้วยวิธีนี้ประสบความสำเร็จสูงมาก และทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการปวด สามารถกลับไปมีคุณภาพชีวิตเหมือนเดิมได้

“เทคโนโลยีการฉีดซีเมนต์โดยไม่ต้องผ่าตัด สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังและกระดูกสันหลังผิดรูป อันเนื่องมาจากภาวะกระดูกพรุน แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็ก โดยใช้เครื่องเอกซเรย์พิเศษ (Fluoroscope) เพื่อหาตำแหน่งและเจาะเข้าไปในบริเวณที่กระดูกสันหลังหัก แตก ทรุด แล้วค่อย ๆ ฉีดซีเมนต์ไปทีละนิด เพื่อไม่ให้ซีเมนต์ไหลออกมาจากกระดูก และรอให้ซีเมนต์กระดูกแข็งตัว จึงดึงเข็มออกแล้วใช้ปลาสเตอร์ปิดแผล เนื่องจากขนาดแผลที่เล็ก ไม่จำเป็นต้องเย็บปิดแผล

ผู้ป่วยใช้เวลาพักฟื้น 1–2 ชั่วโมง เพื่อให้ซีเมนต์ที่ฉีดไปแข็งตัว ก็สามารถลุกนั่ง ยืน เดินได้ตามปกติ และอาการปวดก็จะดีขึ้นหลังจากที่ฉีดเสร็จ โดยวิธีการรักษานี้ต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านกระดูกสันหลัง ซึ่งมีความชำนาญในการทำหัตถการ”

การรักษาที่ต้นเหตุจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ หากไม่ได้รักษาอาการปวดหลังที่ต้นเหตุ ก็จะติดอยู่กับการรักษาอาการปวดหลังแบบเดิม ๆ ที่ไม่สิ้นสุด ตั้งแต่การรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด การฝังเข็ม แต่ไม่มีวิธีใดที่จะช่วยให้หายจากอาการปวดได้อย่างถาวร เหมือนการรักษาติดอยู่กับลูปของความเจ็บปวดที่ไม่มีวันสิ้นสุด และเป็นเหตุทำให้ผู้ป่วยบางรายอาจเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นเพิ่มเติม เช่น โรคซึมเศร้า อัมพฤกษ์ หรืออัมพาต

จะดีกว่าไหม ถ้าจะออกจากลูปความเจ็บปวดของการรักษาแบบเดิม ๆ ด้วยการหาข้อมูลการรักษาที่ถูกต้อง การพบแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกสันหลังโดยเฉพาะ ซึ่งกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดหลัง และสงสัยว่ากระดูกสันหลังของคุณเกิดการยุบตัวจากภาวะกระดูกพรุน สามารถตรวจได้ด้วยการทำ X-ray ร่วมกับ MRI จะช่วยให้การวินิจฉัยภาวะผิดปกตินี้ได้ และสามารถเข้ามาปรึกษาที่โรงพยาบาลเอส สไปน์ เพื่อแพทย์จะได้ทำการวินิจฉัยได้อย่างตรงจุด

 

Writer : นายแพทย์ดิตถพงษ์ บุญอำพล ศัลยแพทย์และผู้บริหาร โรงพยาบาลเอส สไปน์

ติดตามผ่าน TikTok ได้ที่ : https://www.tiktok.com/@thebusinessplus
Line Business+ : https://lin.ee/pbIHCuS
IG : https://www.instagram.com/businessplus.newgen2021/
#TheBusinessPlus #Businessplus #BusinessPlus #นิตยสารBusinessplus