เจทีไอเรียกร้องความร่วมมือเพื่อยับยั้งการค้าขายที่ผิดกฎหมาย ยาสูบกว่า 7.2 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทยถูกจำหน่ายในตลาดมืด

เจทีไอเรียกร้องให้มีความร่วมมือระหว่างรัฐบาล หน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย และภาคอุตสาหกรรมทั่วทั้งเอเชีย เพื่อที่จะยับยั้งกระแสการสูบบุหรี่ที่ผิดกฎหมาย อันมีสาเหตุจากการเพิ่มอัตราภาษียาสูบที่สูงจนเกินไป

ตามที่ได้มีการประชุมสุดยอดการค้าระดับภูมิภาค บริษัทฯ ได้เรียกร้องให้ผู้กำหนดนโยบายเล็งเห็นประโยชน์ในการกำหนดนโยบายด้านภาษีระยะยาวที่มีความสมดุลมาใช้ รวมถึงการขึ้นภาษีในระดับปานกลางและสามารถเป็นที่คาดการณ์ได้ ซึ่งตรงกับวัตถุประสงค์ของรัฐบาลในการกำหนดนโยบายที่มีความมั่นคงและเพื่อป้องกันการหยุดชะงักของตลาด ในการประชุมนั้น นายมาร์ค ฮอสตี้ ผู้อำนวยการต่อต้านการค้าผิดกฎหมายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของเจทีไอ ได้กล่าวว่า “เราจำเป็นต้องมีความร่วมมือระดับชาติและระหว่างประเทศมากขึ้น ต้องให้เกิดการปฏิบัติและมีมาตรการควบคุม แม้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมายจะไม่ได้ถูกส่งไปยังประเทศของตนเองก็ตาม การกระทำผิดกฎหมายนั้นยังคงเกิดขึ้นตามแนวชายแดนระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมรัฐบาล หน่วยงานที่บังคับใช้กฎหมาย และภาคอุตสาหกรรมจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อหยุดยั้งการค้าสินค้าผิดกฎหมาย” ตลาดสินค้าผิดกฎหมายในอาเซียนมีมูลค่าสูงกว่า 35.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ มีการสูญเสียภาษีถึง 3.3 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปีจากการลักลอบขายบุหรี่เถื่อน และโดยเฉพาะในประเทศไทย การค้าที่ผิดกฎหมายทำให้ประเทศไทยสูญเสียรายได้ภาษีประมาณ 226.5  ล้านเหรียญสหรัฐในแต่ละปี

ตามที่ได้ระบุไว้ในรายงานของเจทีไอในเรื่อง “เดอะ แกเตอริ่ง สตอร์มกลุ่มผู้กระทำความผิดพร้อมที่จะแสวงหาผลประโยชน์จากความต้องการของประชาชนทั่วไปในการซื้อสินค้าราคาถูกและการใช้ประโยชน์จากกำลังซื้อที่ลดน้อยลงท่ามกลางเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกที่กำลังก่อตัวขึ้น โดยมีประเทศสมาชิก 7 ประเทศในอาเซียนคาดว่าจะเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย ตั้งแต่ปี 2558 มีจำนวนผู้บริโภคสินค้าถูกกฎหมายน้อยลง เพราะการค้าที่ผิดกฎหมายมากขึ้น โดยในปี 2558 มีอัตราการค้าที่ผิดกฎหมายอยู่ที่ 1.1% และเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2562 เพิ่มขึ้นจนถึง 6% ดังนั้น การปรับภาษีสรรพสามิตปี 2560 ทำให้ต้นทุนบุหรี่เพิ่มขึ้นถึง 15 บาทต่อซอง และประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยอีกครั้ง หากรัฐบาลพยายามที่จะฟื้นฟูหนี้สาธารณะ โดยการขึ้นภาษีสรรพสามิต ทั้งสินค้าผิดกฎหมายในประเทศและสินค้าที่ไม่ได้เสียภาษีมีอยู่ทั่วไปในท้องตลาดมากขึ้น ผู้กระทำความผิดใช้บริเวณปลอดภาษีและเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทยมากขึ้น ไม่ว่าจะโดยการตั้งโรงงานผลิตหรือโดยการสมรู้ร่วมคิดกับผู้ประกอบการที่ดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อนำเข้าผลิตภัณฑ์สินค้าที่ไม่มีการควบคุมและเสียภาษี และในระหว่างการประชุมนั้น นายเชน บริทเทน ประธานกรรมการบริหารขององค์กรเพื่อการยุติการกระทำความผิดนานาชาติได้กล่าวว่า “องค์กรอาชญากรรมไม่ได้ถูกจำกัดไว้โดยพรมแดนของประเทศ และในฐานะผู้ตอบโต้นั้น เราก็ไม่ควรถูกจำกัดเช่นกัน นั่นหมายถึง นอกจากการหารือระดับภูมิภาคแล้ว ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการในระดับภูมิภาค แม้ว่าจะมีอุปสรรคทางการเมืองและอดีตที่ส่งผลต่อการให้ความร่วมมือ แต่สิ่งนี้สามารถต่อสู้ได้โดยการส่งเสริมความร่วมมือในระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการต่างๆ เหล่านี้”

ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดนั้น กลุ่มอาชญากรรมที่จัดตั้งขึ้นมีการปรับตัวให้เข้ากับข้อจำกัดด้านพรมแดนและการปิดกั้นต่างๆ โดยได้ดำเนินการบางส่วนบนระบบออนไลน์ ดำเนินการขายผ่านทางแอปพลิเคชัน WhatsApp และ Facebook แทน หอการค้านานาชาติได้คาดการณ์ไว้ว่าการค้าขายสินค้าผิดกฎหมายทั่วโลกจะมีมูลค่าถึง 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2565 โดยจะดำเนินการผ่านทางระบบอีคอมเมิร์ซการค้ายาสูบผิดกฎหมายนั้นเป็นแหล่งเงินทุนที่อาชญากร ผู้ค้ามนุษย์ และแม้แต่กลุ่มผู้ก่อการร้ายใฝ่ฝัน ข้อมูลจากศูนย์วิเคราะห์การก่อการร้ายนั้นแสดงให้เห็นว่า ในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา การปลอมแปลงหรือการนำเข้ายาสูบผิดกฎหมายถือเป็นแหล่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดสำหรับกลุ่มผู้ก่อการร้าย