น้ำมัน ยังไม่ไปไหน!! โลกยังห่างไกลจาก พลังงานสะอาด

โลกในวันนี้ต้องการเปลี่ยนผ่านพลังงานจากฟอสซิล (น้ำมัน) ไปสู่พลังงานสะอาด แต่ในโลกของความเป็นจริงนั้นยากเหลือเกิน ตอนนี้พลังงานฟอสซิลยังไม่ไปไหนไกล หรือแม้แต่จะลดลงในเร็ว ๆ นี้ ขณะที่จำนวนทั้งหมดของพลังงานทางเลือกที่มีอยู่กำลังเติบโต นั้นคือข่าวดีสำหรับโลกใบนี้ที่กำลังถูกคุกคามโดยหายนะจากสภาพอากาศอันเลวร้าย

การเพิ่มขึ้นของพลังงานทางเลือกยังคงต่ำกว่าการเพิ่มขึ้นของความต้องการใช้พลังงานทางเลือกโดยรวม การเปลี่ยนผ่านจากพลังงาน ฟอสซิล จะมาถึงสักวัน แต่ตอนนี้มันยังคงไล่ตามไม่ทันกับความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลา พลังงานฟอสซิลยังคงกำลังเติบโตต่อไป

“ตลาดพลังงานโลกกำลังประสบปัญหากับความต้องการใช้ที่เติบโตแบบก้าวกระโดดขณะที่ตลาดมีการฟื้นตัวจากสถานการณ์โรคระบาด แม้ความสามารถในการสร้างพลังงานทางเลือกจะเพิ่มขึ้น แต่จำนวนพลังงานที่สร้างนั้นก็ยังไม่เพียงพอที่จะตอบสนองต่อความต้องการ” นาย Matthew Boyle ผู้จัดการของ Global Coal and Asia Power Analytics ที่ S&P Global Platts กล่าว

ซัพพลายโลกของพลังงานทดแทนจะเติบโต 35 กิกะวัตต์ (1,000 ล้านวัตต์) จาก 2021 – 2022 แต่ความต้องการใช้พลังงานจะพุ่งขึ้นมากกว่าที่ผลิตได้ถึง 2 เท่าไปอยู่ที่ 100 กิกะวัตต์ ในช่วงเวลาเดียวกัน และนั้นทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจะกระโดดเข้าสู่แหล่งพลังงานในรูปแบบดั้งเดิมเพื่อเติมเต็มความต้องการที่เกิดขึ้นทั่วโลก

จากการคาดคะเนขององค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน คือ ความต้องการพลังงานไฟฟ้าทั่วโลกจะฟื้นตัวแบบแข็งแกร่ง โดยปี 2021 จะอยู่ที่ 5% และ 2022 อยู่ที่ 4% ขณะที่จำนวนของพลังงานไฟฟ้าที่มาจากพลังงานทดแทนก็จะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน อยู่ที่ 8% ในปี 2021 และมากกว่า 6% ในปี 2022 แต่พลังงานทดแทนถูกคาดว่าจะสามารถรองรับได้เพียงแค่ครึ่งหนึ่งเท่านั้นของการเติบโตด้านความต้องการใช้ไฟฟ้า

การขาดแคลนพลังงานทั้งหมด

ในเวลาเดียวกัน การใช้น้ำมันและก๊าซลดลง รวมไปถึงราคาที่ตกต่ำลงในปี 2020 ด้านอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตที่บีบให้ออกจากพลังงานดั้งเดิม ในปี 2021 อุตสาหกรรมมีการใช้จ่ายในพลังงานดั้งเดิมรวมอยู่ที่ราว 350,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ IEA เน้นย้ำว่า โลกในตอนนี้มีการลงทุนไม่เพียงพอเพื่อจะพบความจำเป็นด้านพลังงานในอนาคต การเปลี่ยนผ่านสัมพันธ์กับการใช้จ่ายซึ่งต้องค่อย ๆ เพิ่มขึ้น

การขาดแคลนจะขยายตัวออกไปท่ามกลางการทยอยเปิดประเทศเปิดระบบเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว พร้อมกับความต้องการที่พุ่งสูงขึ้นไปสู่ระดับก่อนการระบาด แต่ตอนนี้การฟื้นตัวยังคงไม่สม่ำเสมอจากการที่โรคระบาดยังคงยับยั้งตลาดพลังงาน และนั้นทำให้ราคาของ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และไฟฟ้าพุ่งสูงขึ้น ตอนนี้หลายประเทศในยุโรปกำลังประสบปัญหาการขาดแคลนก๊าซ และถ่านหินที่ขาดแคลนก็กดดันจีนและอินเดีย แม้บริษัทระดับโลกด้านน้ำมันจะมีการลดการลงทุนด้านพลังงานฟอสซิลลง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การปล่อยมลพิษ จะลดลงตามไปด้วย

ฟอสซิล จะอยู่ในฐานะกำลังสนับสนุน

หนึ่งในปัญหาที่ควบคู่มากับการพัฒนาพลังงานทางเลือกคือ สภาพอากาศ “คุณอาจจะสามารถสร้างฟาร์มลมจำนวนมาก อ่างเก็บน้ำ สิ่งอำนวยความสะดวกในการผลิตไฟฟ้า รวมไปถึง แผงโซล่าเซลล์” คุณ Anthony Yuen หัวหน้าด้านกลยุทธ์พลังงานที่ Citi Research กล่าว “คำถามคือ แล้วถ้ามี ลม แดด น้ำ ไม่พอกับแผนขั้นต้นของคุณละจะทำอย่างไร?” แหล่งพลังงานทางเลือกนั้นโน้มเอียงไปทางส่งมอบได้ภายใต้ช่วงเวลาที่แน่นอนเท่านั้น

วิธีการแก้ไขปัญหามีง่าย ๆ คือ การผลิตพลังงานให้มากพอเพื่อให้ครอบคลุมความต้องการใช้ แต่ปัญหาคือแล้วเราใช้อะไรเป็นทางเลือกสำรองละ เพราะในบางครั้งอ่างเก็บและลมก็มีไม่พอ รวมไปถึงระบบเทคโนโลยีแบตเตอรี่ก็ยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ “ผมคิดว่าพลังงานฟอสซิลที่สะอาดอย่าง แก๊สธรรมชาติ เป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดี” เมื่อสถานการณ์ ณ ตอนนี้เป็นแบบนี้ก็ทำให้ เทคโนโลยีดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ยังคงได้แค่วางอยู่บนโต๊ะเท่านั้น จนกว่าระบบที่พัฒนาจะเชื่อถือได้เราถึงจะไม่ต้องการพลังงานฟอสซิล

การขาดคแลนโลหะสำคัญ

แร่ลิเทียม แร่โคบอลต์ และแร่นิกเกิล ถือเป็นโลหะสำคัญในการผลิตพลังงานทางเลือก รวมไปถึงรถยนต์ไฟฟ้าอีกด้วย โดยทาง UBS ธนาคารเพื่อการลงทุนข้ามชาติของสวิส ประเมินว่า ความต้องการจะเพิ่มขึ้น 11 เท่าสำหรับ แร่ลิเทียม แร่โคบอลต์ 3 เท่า และแร่นิกเกิล 2 เท่าในทศวรรษถัดจากนี้ “อย่างไรก็ตามมีซัพพลายของแร่ไม่เพียงพอที่จะพบกับความต้องการในวันนี้” พร้อมมีการณ์คาดการณ์ว่า แร่ลิเทียม จะขาดแคลนในปี 2024 แร่โคบอลต์ขาดแคลนปี 2023 และแร่นิกเกิล 2021 นี้

นอกจกานี้ UBS ยังเพิ่มเติมอีกว่า การควบคุมพลังงานไฟฟ้าในจีนจะส่งผลให้เกิดการขาดแคลนที่ชัดเจนขึ้น “ห่วงโซ่อุปทานของรถยนต์ไฟฟ้าเกือบทั้งหมดขึ้นอยู่กับประเทศจีนบนวัตถุดิบต้นน้ำและการขาดหายของไฟฟ้าในระยะยาวสามารถเป็นสาเหตุของการขาดแคลน”

แปลและเรียบเรียง : เอกพล มงคลพัฒนกุล

ที่มา : CNBC

ติดตาม Business+ ได้ที่ thebusinessplus.com
Line Business+ ได้ที่ https://lin.ee/pbIHCuS

#Businessplus #Business+ #นิตยสารBusinessplus #พลังงานสะอาด #น้ำมัน #พลังงานฟอสซิล