ปิดทรู ฟิตเนส วิบากกรรมคนรักสุขภาพ

กรณีปิดการให้บริการของทรู ฟิตเนส มีความเหมือนทางธุรกิจเช่นเดียวกับกรณีแคลิฟอร์เนีย ว้าว เมื่อหลายปีก่อน กล่าวคือ ล้มละลายนั่นเอง

 

เหตุการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า แม้ธุรกิจฟิตเนสจะถูกมองว่า สามารถสร้างผลกำไรที่ดีได้ ทั้งสถานผู้ประกอบการ ตลอดจนเทรนเนอร์ หรือแม้แต่สินค้าสุขภาพที่จำหน่ายในสถานประกอบการ

 

แต่ความจริงแล้ว หากผู้ดำเนินธุรกิจไม่ได้มีแผนทางธุรกิจที่ดี บวกกับการเพิ่มของสมาชิกใหม่ให้เข้ามาอยู่ในระบบมากขึ้น ปัญหาดังกล่าวจะไม่ค่อยเกิดขึ้น

 

 

แต่กลายเป็นว่า มีการสะสมการขาดทุนของรายได้ จนกลายเป็นหนี้ และต้องจบลงเหมือนเช่นทั้งแคลิฟอร์เนีย ว้าว และทรู ฟิตเนส ทรู ฟิตเนส จัดตั้งบริษัทวันที่ 25 ตุลาคม 2548 ด้วยทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาท มีกรรมการบริษัท 2 คนเป็นคนไทย และอีกหนึ่งคนคือ แพทริค จอห์น วี อวี้ เซง เป็นชาวสิงคโปร์

 

จากการตรวจสอบสถานะทางการเงินของทรู ฟิตเนส พบว่า เริ่มขาดทุนสะสมมาตั้งแต่ปี 2554 โดยปีนั้นทรูฟิตเนส ขาดทุน 350 ล้านบาท ล่าสุดปี 2558 ขาดทุนสูงถึง 449 ล้านบาท

 

ด้านหนึ่งผลประกอบการของบริษัทขาดทุน แต่ธุรกิจก็ยังแข่งขันสูงทำให้บางครั้งเราได้เห็นพนักงานขายทรู ฟิตเนส มายืนแจกใบปลิว บริเวณสถานีรถไฟฟ้าอโศก ซึ่งเป็นสาขาใหญ่ที่สุดของทรู ฟิตเนส

 

น่าแปลกใจว่า ทำไมธุรกิจที่เรียกเก็บเงินก่อน โดยการทำสัญญาเงินก้อนเดียว คิดค่าบริการขั้นต่ำ 12 เดือน แต่สามารถตัดบัญชีรายเดือนจากบัตรเครดิตที่ร่วมรายการ

 

ฟิตเนส

 

อีกด้านหนึ่งของธุรกิจที่ประเมินว่า สอดรับกระแสสุขภาพ ผู้บริโภคหันมาออกกำลังกายมากขึ้น แต่ต้องประสบปัญหาขาดทุนสะสมจำนวนมาก แต่ไม่สามารถเอาผิดกับผู้บริหารหรือผู้ก่อตั้งได้

 

จริงหรือไม่ ที่บริษัทนำเงินที่ได้จากการบอกรับสมาชิกจำนวนมาก (ได้เงินไปหมดแล้ว) แต่บริหารงานขาดทุน นำมาซึ่งการปิดตัวลง แม้ว่าเทรนเนอร์จะออกบอกโพสต์ข้อความผ่านโลกออนไลน์ว่า ไม่ได้รับเงินเดือนมานานกว่า 6 เดือน ฯลฯ ….และอีกคำถามมากมาย

 

หากจำกันได้ ในระยะปีกว่าๆ ทรู ฟิตเนส ไม่ขอต่อสัญญาในการเช่าพื้นที่กลางใจเมือง คือ Central world ช่วงวิกฤตการเมืองไทย (…อ้าว เฮ้ย) ไม่รีโนเวตใหม่ แต่ขอย้ายลูกค้าให้เป็นไกลกว่าเดิม ทำไงดี ละ….? นำมาซึ่งการย้ายสมาชิกให้มาเล่นที่แยกอโศก คือ สาขา Exchange Tower

 

 

เค้าลางที่ก่อตัวขึ้น พอทำให้เห็นภาพ ณ ตอนนั้นว่า ธุรกิจออกกำลังกายของทรู ฟิตเนส ไม่อาจทนสภาพทั้งเศรษฐกิจที่ต้องรอการฟื้นตัว

 

ขณะเดียวกันก็ยังมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามา คือ เวอร์จิ้น กรุ๊ป หรือแม้แต่ผู้ประกอบการของไทยหลายรายต่างขยายธุรกิจ

 

แน่นอนว่า การปิดตัวลงชองทรูฟิตเนส คือฝันร้านของสมาชิกทรู ฟิตเนส และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ก็ต้องเข้ามาช่วยดำเนินการให้ประชาชนที่ได้รับความเสียหายให้บรรเทาทุกข์ลง

 

แต่อีกด้านหนึ่งกับสังคมไทยที่ไม่เคยตั้งคำถาม หรือแม้แต่ลูกค้าที่ไม่เคยจะถามเจ้าของกิจการว่า เฮ้ย…ธุรกิจของคุณยังไปต่อได้ไหม ในสภาวะของตลาดเช่นนี้

 

 

พนักงานขายสมาขิกก็ขายกันไป … ทั้งที่ตัวคุณไม่ได้รับเงินเดือนมานานกว่า 6 เดือนอย่างที่คุณบอกใครๆ ในโลกออนไลน์ จริงไหมกับค่าใช้จ่ายไม่น้อยนะ ต่อ 1 คนในการเป็นสมาชิก 12 เดือน

ค่าใช้จ่ายในการสมัครสมาชิกฟิตเนส : ต่อเดือน : ไม่รวม Vat 7%
– แพคเก็จขั้นต่ำ (พรีเมี่ยม) 2 ,150 บาท
– แพคเก็จระดับ (แพลตินั่ม) 2,500 บาท

 

นี่ยังไม่รวมกับค่าเทรนเนอร์ส่วนตัว (หากจะเท่ห์ …)

 

– แพคเก็จครูผู้สอน (พรีเมี่ยม) 1,000 บาทต่อชั่วโมง
– แพคเก็จครูผู้สอน (แพลตินั่ม) 1,500-2,000 บาทต่อชั่วโมง

คำนวณกันคร่าวๆ ต่อ 1 คน น่าจะมีค่าใช้จ่ายราว 25,000 บาทต่อปี ในแพคเก็จขั้นต่ำ

 

ฟิตเนส

 

โลกธุรกิจที่ดูโหดร้าย หากคุณต้องม้วนเสื่อกลับบ้าน แต่คุณก็โกยเงินออกจากประเทศไทยไปแล้ว ส่วนแนวทางการเยียวยาและแก้ไข เชื่อร้อยทั้งร้อยว่า สมาชิกทั้งหมดต่อยื่นฟ้องร้องต่อไป แต่สำหรับข้อแนะนำตอนนี้

 

1. คุณต้องโทรแจ้งขอระงับการจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต และถ้าคุณโชคดี บางธนาคารสามารถเยียวยาได้ทัน ไม่ต้องกรอกเอกสารมากมาย ฝันร้ายครั้งนี้ก็แค่ปวดร้าวลงขา (บ้าง)

 

แต่ต้องหากเจอบางธนาคารที่อ้างสารพัดเหตุผล ไม่ว่าคุณต้องไปแจ้งความ นำหลักฐานมายื่นประกอบการระงับ แค่นี้คุณก็ต้องเสียเวลา เสียสุขภาพ (จิต)

 

ฟิตเนส

 

เทรนด์การรักษาสุขภาพและการออกกำลังกายกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก กำลังกลายวิบากกรรมคนรักสุขภาพอย่างช่วยไม่ได้จริงๆ …