แกะดำโลกสวย เดอะมิวสิคัล ม.รังสิต

แกะดำโลกสวย เดอะมิวสิคัล ละครเวทีครั้งประวัติศาสตร์ ของ ม.รังสิต

แกะดำโลกสวย เดอะมิวสิคัล ละครเวทีครั้งประวัติศาสตร์ ของ ม.รังสิต

ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ มีประวัติการทำงานมายาวนาน มีบทบาทต่อสาธารณชนที่โดดเด่นตั้งแต่วัยหนุ่ม จึงมีการศึกษา วิเคราะห์ ดร.อาทิตย์ ในฐานะ “ต้นแบบ” ในด้านต่างๆ หลากหลายมิติ อาทิ ความเป็นนักบริหาร นักธุรกิจ นักคิด นักการเมือง และนักการศึกษา ที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ควบคู่ไปกับคนรุ่นใหม่ว่า ความฝันนั้นไม่มีวันชราหรือสาบสูญ ความฝันสามารถสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้ ขอแค่ให้เห็นคุณค่าของความเพียรพยายามความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมาย มาสู่ปรากฏการณ์ครั้งสำคัญ จากหนังสือชีวประวัติ “ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ แกะดำโลกสวย” สู่ละครเวที แกะดำโลกสวย เดอะมิวสิคัล


 

แกะดำโลกสวย เดอะมิวสิคัล ม.รังสิต

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมเกียรติ รุ่งเรืองวิริยะ  ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะผู้อำนวยผลิต กล่าวว่า จากหนังสือแกะดำโลกสวยสู่ ‘แกะดำโลกสวย เดอะมิวสิคัล’ เริ่มต้น โปรเจกต์เมื่อปลายปี 2560 จากความร่วมมือทางความสามารถของแต่ละคณะไม่ว่าจะเป็นการแสดง จากวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ดิจิทัล การประพันธ์เพลงจากวิทยาลัยดนตรี นักแสดงจากคณาจารย์ นักศึกษาหลายคณะด้วยกัน เรามีการพัฒนาบทละครอยู่ตลอด ทุกบทมีความสวยงาม มีเพลงสนุก ฉากสวย การแสดง การร้อง และท่าเต้นต่างๆ ที่ไม่ธรรมดาตามความสามารถที่เรามีอยู่ แบบที่เรียกว่าไม่เหลือสิ่งใดที่ไม่ได้ทำในละครเรื่องนี้อีกแล้ว สำหรับเดอะมิวสิคัล อาจไม่ได้เรียกว่าปฏิรูปการศึกษาอะไร แต่นี่คือก้าวเล็กๆ ที่อยากจะเรียกว่าปฏิรูปตนเองตลอดการฝึกซ้อม ทุกคนมาจากหลากคณะ หลายสาขาวิชา ไม่มีใครที่เรียกว่าประกอบสัมมาอาชีพใกล้เคียงกับคำว่านักร้องหรือนักแสดงละครเวทีมืออาชีเลย แต่ทุกคนก้าวออกจากกำแพงมาทำสิ่งที่มหาวิทยาลัยรังสิตถนัดนั่นคือสิ่งที่เรียกว่า “Making the impossible possible”

 

แกะดำโลกสวย เดอะมิวสิคัล ม.รังสิต

อาจารย์วาจวิมล เดชเกตุ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัล วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ดิจิทัล มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะ Scrip Director กล่าวว่า แกะดำโลกสวยได้รับการพัฒนาจากหนังสือมาเป็นละครเวทีมิวสิคัล จำเป็นต้องมีการดัดแปลง (Adaptation) เพื่อความสนุกสนานของลีลาในการเรื่อง ละครเวทีนั้นจะมีทั้งการร้องและการเต้นประกอบเรื่องราวชวนให้ติดตาม สำหรับบทละครนั้นมีการดัดแปลงและเพิ่มตัวละครสำคัญที่มีชื่อว่า ”สุทัศน์” ซึ่งเป็นตัวละครที่จะมาสร้างสีสัน โดยเน้นในเรื่องของความขัดแย้ง (Antagonize) เพิ่มเติมขึ้นมา เพื่อทำให้ตัวละครหลักของเรื่อง (Main Character) ซึ่งก็คือ “ตะวัน” ที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์สำคัญในแต่ละช่วงชีวิต โดยมีเพื่อนรัก 2 คนคือ “สุทัศน์” และ “พีระ” เข้ามาร่วมชะตากรรม ขับเคลื่อนเหตุการณ์และร่วมเผชิญปมปัญหาไปด้วยกัน การสร้างความบันเทิงไปพร้อมกับความขัดแย้งหรือปมปัญหาที่เรียกว่า (Conflict) โดยมีสุทัศน์ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของ ”ตะวัน” เพื่อนรักสองคนนี้มีความแตกต่างกันในเรื่องของอุดมการณ์และความคิด นำพาไปสู่วิถีการขับเคี่ยวในเส้นทางชีวิตและการเมือง ภายใต้มิตรภาพที่มีให้แก่กัน ชีวิตของ “ตะวัน” ต้องผ่านความเป็นแกะดำ ไปพร้อมกับโอกาสและจังหวะชีวิตอย่างไร ทำไมถึงต้องเป็นแกะดำ และเค้าจะเป็นแกะดำของเพื่อนรักทั้งสองคนหรือไม่เพราะอะไร

“ตะวัน” ผู้ซึ่งเกิดมาพร้อมกับการอบรมปลูกฝังจากพ่อ เพื่อก้าวไปเป็นนักพัฒนาที่ดีเพื่อส่วนรวม และหวังในการสร้างคนให้เป็นกำลังที่สำคัญต่อไป โลกสวยของตะวันนี้เป็นไปทีละย่างก้าวอย่างไร ท่ามกลางการฝ่าอุปสรรคปัญหา ตะวันก้าวเดินไปเช่นใด ละครเวที “แกะดำโลกสวย เดอะมิสิคัล” จะนำทุกท่านไปพบกับความสนุกสนานของเรื่องราวชีวิตของตะวันและเพื่อนรักทั้งสามคน

 

แกะดำโลกสวย เดอะมิวสิคัล ม.รังสิต

อาจารย์ศศโสฬส จิตรวานิชกุล หัวหน้าสาขาวิชาสื่อสารการแสดง วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ดิจิทัล ในฐานะ Director กล่าวว่า ละครเวทีเรื่องนี้เกิดจากการบูรณาการวิชาเรียนในคณะต่างๆ อาทิ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ดิจิทัล นำวิชาเรียนต่างทั้งหมด 9 วิชา มาสร้างสรรค์ผลงานละครเพลงทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ได้แก่

  1. วิชาการแสดงเพื่อสังคม
  2. เทคโนโลยีเพื่องานสื่อสารการแสดง
  3. เทคนิคการแสดงทางวิทยุโทรทัศน์และภาพยนตร์
  4. สัมมนางานสื่อสารการแสดง
  5. การแสดงสำหรับนักร้อง
  6. การเขียนบทและสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์
  7. การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์
  8. การสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อสื่อสารการตลาด และ
  9. สื่อใหม่เพื่อการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น ด้านวิทยาลัยดนตรี ได้ร่วมประพันธ์เนื้อร้อง ทำนอง เรียบเรียงเสียงประสาน สอนการขับร้องให้แก่นักแสดง และแสดงดนตรี สำหรับคณะดิจิทัลอาร์ต จะดูแลในเรื่องการออกแบบสื่อมัลติมีเดียต่างๆ ที่ใช้ในละคร เป็นต้น ทั้งนี้ ทีมงานได้รวบรวมคัดสรรทีมงานเบื้องหลัง นักร้อง นักแสดงจากนักศึกษาปัจจุบัน ศิษย์เก่า คณาจารย์ และบุคลากร จากวิทยาลัย/ คณะต่างๆ ของมหาวิทยาลัยรังสิตกว่า 300 ชีวิต อาทิ เอ็ม-อดุลยรัศมิ์ สุวรรณจักรา นักศึกษาสาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัล ดิว-อรุณพงศ์ ชัยวินิตย์ นักศึกษาวิทยาลัยดนตรี ริว-ภักดิ์ภูมิ จิตติ์พิสุทธิ์สิริ นักศึกษาสาขาวิชาสื่อสารการแสดง และ อะตอม-กฤชกนก สวยสด ศิษย์เก่าปริญญาตรีวิทยาลัยนิเทศศาสตร์ และปริญญาโทคณะบริหารธุรกิจ ฯลฯ

“เราทุกคนทั้งทีมงานและนักแสดงไม่ใช่มืออาชีพที่ทำงานด้านละครเวทีเต็มเวลา แต่เราเป็นอาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรจากคณะและหน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยรังสิต ดังนั้น ละครเวทีเรื่องนี้พวกเราทุกคนไม่กล้ารับประกันว่าจะออกมาดีที่สุด แต่เราทุกคนร่วมแรงร่วมใจกันแบบเต็มศักยภาพที่พวกเรามี”

 

แกะดำโลกสวย เดอะมิวสิคัล ม.รังสิต
อาจารย์วรวุฒิ อ่อนน่วม อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยุและโทรทัศน์มัลติแพลตฟอร์ม วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต Show Director กล่าวถึงงานด้านการออกแบบสร้างสรรค์การแสดงว่า เนื่องจากละครเรื่องนี้เป็นมิวสิคัล ดังนั้น การเดินเรื่องจึงมีเพลงเป็นองค์ประกอบสำคัญ ดังนั้น การออกแบบลักษณะท่าทางของนักแสดงนำ นักแสดงสมทบ และหมู่มวลในฉากต่างๆ ต้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน การทำงานเราจึงคิดงานร่วมกับทีมอาจารย์ด้านดนตรี ด้านการเต้น ด้านการแสดง ผู้กำกับ และทีมงานอีกหลายภาคส่วน เพื่อให้การแสดงออกมาสอดคล้องกันและสร้างสีสันให้กับการเล่าเรื่องเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยผู้คน ดนตรี และเพลง ทำให้ผู้ชมรู้สึกว่ามีอาหารจากใหม่ๆ มาเสิร์ฟตลอดเวลา

 

แกะดำโลกสวย เดอะมิวสิคัล ม.รังสิต
นาวาตรี นบ ประทีปะเสน รองคณบดีฝ่ายบริหารและวิเทศสัมพันธ์ วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะผู้กำกับดนตรี กล่าวว่า สำหรับละครเพลง “แกะดำโลกสวย เดอะมิวสิคัล” มีบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ทั้งบทเพลงร้อง บทเพลงเต้น และบทเพลงประกอบละครไม่ต่ำกว่า 30 บทเพลง มีการแต่งทำนอง เรียบเรียงเสียงประสาน โดยคณาจารย์จากวิทยาลัยดนตรี ส่วนของทำนองของแต่ละเพลงเป็นไปตามคอนเซ็ปต์ของคนเขียนบท ทำนองแต่เพลงตรงกับคาแรกเตอร์ของแต่ละคร นอกจากนี้ ยังมีการนำมาเรียบเรียงดนตรีให้เหมาะกับสถานการณ์ของแต่ละฉากประมาณ 17 ฉาก เพื่อให้ได้อารมณ์ ส่วนไฮไลท์ของละครเพลงเรื่องนี้จะมีฉากที่นักแสดงออกมาร้องเพลงพร้อมกัน ซึ่งจะแสดงให้ความสามารถของนักแสดง และตัวละครในการประชันเสียงเพลงกัน ละครเพลงเรื่องนี้จะเป็นละครเพลงที่คาดว่ายังไม่มีมหาวิทยาลัยไหนทำ เพราะทุกคนมีเป้าประสงค์เดียวกันนั่นคือ ละครเพลงอัตชีวะประวัติ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ และเชื่อว่าจะเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้กับการสร้างละครเพลง

 

แกะดำโลกสวย เดอะมิวสิคัล ม.รังสิต
อาจารย์กิตตินันท์ ชินสำราญ หัวหน้าแขนงวิชาการแสดงขับร้อง วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะผู้อำนวยการขับร้อง กล่าวว่า ด้วยละครเรื่องนี้สร้างจากชีวิตจริงของบุคคลที่มีอิทธิพลต่อแวดวงการเมืองและการศึกษา บทเพลงในแต่ละเพลงที่เขียนขึ้นมาล้วนสร้างขึ้นเพื่อให้ตัวละครเหล่านี้มีชีวิตขึ้นมาอยู่ในโลกของละครเพลง ความน่าสนใจจึงอยู่ที่การเชื่อมโลกสองโลกที่ต่างกันสุดขั้วเข้ามาอยู่ในละครเพลง ด้านการฝึกซ้อมนั้นขั้นแรกเราให้นักแสดงทำความรู้จักกับเสียงร้องและคาแรกเตอร์ของแต่ละคน และแต่ละตัวละครที่เขาได้รับมอบหมายให้ทำการแสดง จากนั้นจึงร่วมกันหาวิธีที่ทำให้นักแสดงค้นพบวิธีการใช้เสียงที่เหมาะสมและช่วยส่งเสริมความเป็นตัวละครเพื่อให้นักแสดงทุกคน เกิดความคุ้นชิน และสบายใจ ไม่เป็นกังวลกับวิธีการใช้เสียง จนลืมความเป็นตัวละคร สำหรับละครเพลงนี้เรียกว่าเป็นครั้งประวัติศาสตร์ของละครเพลงดังนั้นการทำงานในละครเพลงทุกชิ้นเป็นความสนุกและท้าทายที่จะช่วยพานักร้องและนักแสดงทุกท่านค้นพบวิธีการร้อง ที่จะสามารถทำให้เขาเหล่านั้นเชื่อมโลกของการร้องเพลงและการแสดงละครเข้าด้วยกัน ซึ่งทำให้การทำงานส่วนใหญ่นอกจากจะทำงานในส่วนเทคนิคการร้องแล้ว ยังเป็นการทำงานในส่วนของการหาสีสันของเสียง ให้สอดคล้องกับอารมณ์และความรู้สึกของตัวละคร

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยรังสิต ยังเปิดโอกาสให้แก่นักเรียน ม.ปลาย หรือ ปวช. ที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรม Workshop พร้อมชมละครเวที “แกะดำโลกสวย เดอะมิวสิคัล” ว่าโปรเจกต์ละครเขาคิดงานกันอย่างไร เขาบริหารจัดการกันด้วยวิธีไหน มา… เดี๋ยวสอน ฟรี! มีโควตาให้รอบละ 500 ที่นั่ง โดยสามารถลงทะเบียนได้ที่ https://goo.gl/forms/MSCAdQ7hK6GA35iI3

สำหรับผู้ที่สนใจชมละครเวที “แกะดำโลกสวย เดอะมิวสิคัล” จะจัดแสดงระหว่างวันที่ 9-13 พฤษภาคม 2561 เวลา 14.00-17.00 น. ณ ศาลาดนตรีสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต สามารถสำรองที่นั่งได้ที่ www.musicsala.rsu.ac.th หรือโทร. 087-906-5987