หลังพลาดการประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์รอบที่ผ่านมา (วันที่ 27 พฤษภาคม 2559 ในรอบ 2) ทำให้ค่ายสีฟ้า “บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)” หรือดีแทค ต้องตกที่นั่งลำบาก
เนื่องจากคลื่นความถี่ที่เป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของตนกำลังจะหมดอายุสัมปทาน นั่นคือคลื่น 850 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์จะหมดอายุสัมปทานในเดือนกันยายน 2561 จะทำให้เหลือคลื่นความถี่ 2100 เมกะเฮิรตซ์ เพียงคลื่นเดียว
ซึ่งไม่เพียงพอต่อการให้บริการลูกค้าในปัจจุบันที่ต้องการแบนวิธมากขึ้น จากปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง กับสังคมดิจิทัล และรายได้ระยะยาวแก่บริษัท
ดังนั้น กลยุทธ์ที่สำคัญและต้องฝ่าฝันทำให้สำเร็จในเวลาอันสั้นก่อนที่สัมปทานคลื่น 850 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์จะหมดลง และไม่อาจรอความเสี่ยงจากการประมูลคลื่นนี้ในอนาคต
จนดีแทคตกลงดีลคลื่น 2300 เมกะเฮิรตซ์บนแบนด์วิธที่กว้างถึง 60 เมกะเฮิรตซ์ของทีโอทีได้สำเร็จ
โดยทีโอที จะมีรายได้จากการให้บริการโรมมิ่ง ปีละประมาณ 4,510 ล้านบาท และจากดีลนี้เอง เชื่อว่าผลดำเนินงานของทีโอทีในปี 60 ที่ขาดทุน 4,000 กว่าล้านบาท ก็จะทำให้ทีโอทีหลุดจากตัวแดงไปได้จากดีลนี้อย่างสบายๆ
และอีกทางหนึ่งภายใต้กรอบความร่วมมือที่มีระยะเวลาถึงปี พ.ศ. 2568 ย่อมจะต่อลมหายใจให้แก่ดีแทค เสมือนคนที่กำลังจะขาดอากาศหายใจ แต่ได้ท่อออกซิเจนมาช่วยชีวิต ช่วยเปลี่ยนความไม่แน่นอนเป็นความแน่นอน โดยไม่ต้องกังวลกับคลืนความถี่ที่จะให้บริการลูกค้า เหมือนที่ผ่านมาอีกต่อไป
วันที่ 17 พฤษภาคม 2561 ซึ่งต้องจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของวงการโทรคมนาคมไทย เมื่อดีแทคและทีโอที เปิดตัวการให้บริการคลื่น 2300 MHz ด้วยเทคโนโลยี LTE-TDD ประเดิม 10 แห่งใจกลางย่านยเศรษฐกิจของกรุงเทพฯ
เน้นจุดพื้นที่ใช้งานหนาแน่น อาทิ สุขุมวิท สาทร-นราธิวาสราชนครินทร์ สีลม ราชประสงค์ พระราม 3 เป็นต้น ก่อนจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ให้ลูกค้าเริ่มใช้งานได้ภายในไตรมาส 2 ปีนี้ พร้อมๆ กับใส่งบลงทุนโครงข่ายปี 61 อีกประมาณ 1.5-1.8 หมื่นล้านบาท เพื่อขยายสถานีฐานและเสาสัญญาณให้ครอบคลุม 37 จังหวัด
แน่นอนว่า ดีลนี้นับเป็นผลงานส่งท้ายก่อนอำลาตำแหน่งของลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เพื่อส่งไม้ต่อให้กับซีอีโอคนต่อไป พร้อมๆ กับความหวังและต้นทุนที่ต้องจ่ายให้ทีโอที ปีละ 4,510 ล้านบาท และค่าลงทุนโครงข่ายสัญญาณอีก 10,000 กว่าล้านบาทซึ่งต้องรอ CEO คนใหม่มากอบกู้
ในสนามธุรกิจโทรคมนาคมเมืองไทย แม้ดีแทคจะสร้างผลงานได้ดี ทำรายได้เป็นอันดับ 2 แก่เครือเทเลนอร์ แต่ก็ต้องยอมรับว่า บางส่วนของการดำเนินงานได้ขาดสีสันลดลงไป จนทำให้ฐานลูกค้าหนีหายไป เพราะไม่เชื่อมั่นในแบรนด์เหมือนเดิมอีกต่อไป
แม้ผลประกอบการประจำไตรมาสแรกของปีนี้ จะมีรายได้รวม 19,060 ล้านบาท แต่ก็ลดลง 3.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า และยังโชคดีที่มีกำไรสุทธิ 1,315 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 474%
ดังนั้น สมบัติที่ CEO คนเก่าทิ้งไว้ให้ นั่นคือคลื่นความถี่ 2300 MHz ที่ดีแทคร่วมกับพันธมิตรคู่ค้า คือ TOT กับจำนวนแบนวิธที่มากพอสมควร จึงเป็นภารกิจหลักของ CEO คนใหม่ จะเข้ามากอบกู้สถานการณ์ให้ดีขึ้น
แน่นอน สถานการณ์ที่มี CEO คนใหม่เข้ามา ย่อมถูกคาดหวังในผลงานเช่นกัน
หากจำกันได้ 3 ใน 4 CEO ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ในรอบ 10 ปี ยกเว้นซิคเว่ เบรกเก้
คนเดียว ต่างยังไม่ได้สร้างแรงกดดันให้มากพอที่จะขับเคี่ยวแบบหายใจรดต้นคอ AIS ได้เลย
จนถึงตอนนี้ ดีแทคหล่นมาเป็นผู้ให้บริการเบอร์ 3
ในสถานการณ์ที่ดีแทค รอวีรบุรุษ เราพบ 5 ชื่อของ CEO ที่ทำผลงานได้ดีแก่เทเลนอร์ กรุ๊ป และมีโอกาสมารับตำแหน่ง CEO ในเมืองไทยสูงมาก
คนแรกคือ Michael Foley ซึ่งเป็น CEO ของ Grameen phone (ในเครือเทเลนอร์)
Michael Foley ได้รับการโปรโมทเมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งก่อนที่เขาจะเข้ารับตำแหน่งนี้ เขาเป็น CEO ที่มีประสบการณ์ด้านการขายการตลาดและการดำเนินงานมานานกว่า 30 ปีในสาขาโทรคมนาคมอุตสาหกรรม ทั้งในเคนย่า, กานา, ไนจีเรีย, ตูนิเซีย, บัลแกเรียและโรมาเนีย ก่อนมานั่งบริหารในบังคลาเทศ
2. Albern Murty ซึ่งคือ CEO Digi ประเทศมาเลเซีย
Albern Murty ถือเป็นลูกหม้อคนหนึ่ง ซึ่งใช้เวลา 13 ปีพิสูจน์ตัวเองจนขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดใน Digi ประเทศมาเลเซีย โดยเขาได้รับการโปรโมทเมื่อ 1 เมษายน 2558
3. Irfan Wahab Khan จากปากีสถาน ซึ่งจริงๆ แล้ว Irfan Wahab Khan อยู่กับเทเลนอร์มานาน จนได้รับโปรโมทเมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559
4. Lars Erik Tellmann จากเมียนมาร์ โดย Tellmann ร่วมงานกับเทเลนอร์มาตั้งแต่ปี 2544 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานานกว่า 8 ปีแล้ว ก่อนมาคุมที่เมียนมาร์ต่อจาก Petter Borre Furberg ซึ่งถูกโยกไปคุมแผนกดิจิทัล เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ถามว่า ทั้ง 5 รายชื่อมีโอกาสมากแค่ไหนกับตำแหน่ง CEO ของบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ก็ยอมรับว่า การคัดสรร CEO คนใหม่จากบอร์ดเทเลนอร์ ต้องมองถึงปัจจัยหลายประการ
แต่จุดน่าสนใจประการหนึ่งคือ CEO ประจำประเทศไทยที่ผ่านมา ล้วนมาจากกลุ่มประเทศเอเชียพัฒนาแล้วร่วมกับ DiGi ของมาเลเซียและกลุ่มประเทศเอเชียกำลังพัฒนาอย่าบังกลาเทศ ปากีสถาน และเมียนมาร์
เนื่องจากโครงสร้างบริหารธุรกิจของเทเลนอร์ กระจายอยู่ใน 12 ประเทศทั่วโลก แบ่งกลุ่มประเทศออกเป็น 4 คลัสเตอร์ตามภูมิภาค ได้แก่ สแกนดิเนเวีย, ยุโรปตะวันออก, เอเชีย (พัฒนาแล้ว) และเอเชีย (กำลังพัฒนา)
ว่าที่ CEO คนใหม่ทั้ง 5 รายชื่อที่กล่าวมา มีโอกาสมากที่สุด ….