The Belt and Road Initiative เส้นทางสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของ ASIA และ THAILAND (ตอนที่ 2)

สิ่งที่เป็นอุปสรรคสำคัญ ถึงแม้จะเป็นโครงการที่ใหญ่ และหลายฝ่ายจะได้รับประโยชน์ แต่ก็ยังมีเสียงคัดค้านในหลากหลายมุม เพราะเนื่องจากจีนเป็นผู้บุกเบิกโครงการ ทำให้หลายฝ่ายก็มองว่าโครงการนี้พวกเขาได้รับประโยชน์น้อยกว่าที่ควรจะเป็น และจริง ๆ จีนนั้นแหละที่จะโกยเม็ดเงินจากโครงการนี้มากกว่าใคร โดยปัญหานั้นมีตั้งแต่ปริมาณหนี้สินที่จะเพิ่มขึ้น (และเป็นเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำ มากกว่าการให้เปล่า) เพื่อใช้ในการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้เงินของโครงการนี้ถูกมองว่าเป็นยาพิษในแก้วเหล้าองุ่น ที่ในระยะยาวแล้วประเทศที่ลงทุนไปอาจจะปัญหาได้ เพราะต้องยอมรับว่าแต่ละประเทศมีศักยภาพในการรองรับหนี้สินได้ไม่เท่ากัน เช่น ประเทศลาวและศรีลังกา ซึ่งมีหนี้สาธารณะคิดเป็นสัดส่วน 63% และ 84% ของ GDP ซึ่งหากสุดท้ายไม่อาจรับมือกับภาระตรงนี้ได้ ก็ไม่มีทางเลือกที่จะต้องยอมยกโครงการที่ลงทุนนี้ให้จีนเช่าในระยะยาวไปเลย เท่ากับประเทศนั้น ๆ ต้องเสียอธิปไตยทางเศรษฐกิจของชาติให้กับจีนไปด้วย นอกจากนี้ยังมีการประมูลที่มีกระบวกการที่ค่อนข้างคลุมเครือ รวมไปถึงการเรียกร้องให้ใช้บริษัทจากจีนเท่านั้นในสัญญาการประมูล (ตรงนี้รวมไปถึงแรงงานในทุก ๆ มิติจากจีนด้วย) ผลลัพธ์ทำให้ผู้ทำสัญญามีต้นทุนเพิ่มขึ้น และนำไปสู่การยกเลิกโครงการ และแรงกระเพื่อมอย่างรุนแรงทางการเมือง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือประเทศมาเลเซียนายกรัฐมนตรีมาฮาดีร์ บิน โมฮามัด เดินหน้าคัดค้านโครงการเส้นทางสายไหมของจีน โดยมองว่ามีต้นทุนที่แพงเกินจริง และทันทีที่ได้รับการเลือกตั้งในปี 2018 เขาก็ยกเลิกโครงการนี้ที่มีมูลค่าสูงถึง 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐทันที ถึงแม้ภายหลังตัวเขาจะออกมาประกาศว่ายังคงสนับสนุนโครงการนี้อยู่ก็ตาม ในคาซัคสถานมีการต่อต้านการสร้างโรงงานของจีนทั่วประเทศภายใต้ความกังวลเกี่ยวกับต้นทุน รวมไปถึงการปฏิบัติของรัฐบาลจีนต่อชาวอุยกูร์ ในมลฑลซินเจียง และนี้ก็ทำให้การลงทุนในโครงการนี้ลดลงตั้งแต่ปลายปี 2018 จนถึงจบปี 2019 … Continue reading The Belt and Road Initiative เส้นทางสู่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของ ASIA และ THAILAND (ตอนที่ 2)