UTCCกับภารกิจผลิต “นักรบเศรษฐกิจ บัณฑิตพันธุ์ใหม่ ยุคดิจิทัล 4.0”

การศึกษาในยุค 4.0 ทุกสถาบันการศึกษาล้วนแต่ตื่นตัวและเริ่มปรับใช้และประยุกต์ ดิจิทัล เข้ามาเป็นส่วนในการเรียนการสอน ตั้งแต่เรื่องของสภาพแวดล้อม หลักสูตรและเครื่องมือที่ใช้ในการเรียนการสอน

มหาวิทยาลัยที่โดดเด่นและนับเป็นสถาบันการศึกษาแรกๆในไทยที่ใช้เครื่องมืออิเลกทรอนิกส์มาเป็นเครื่องมือการเรียนการสอน ตลอดจนปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับ ไทยแลนด์ 4.0 นั่นก็คือ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

 

เพื่อตอบสนองต่อ ไทยแลนด์ 4.0 และให้ประเทศไทยออกจากกับดักรายได้ปานกลาง มันก็ขาดกำลังพลที่จะพัฒนาประเทศไปในแนวที่ ประเทศไทยจะเป็นไทยแลนด์ 4.0 สถาบันการศึกษาก็เป็นอีกหน่วยที่ได้รับโจทย์ท้าทายจากกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการผลิตบัณฑิตย์พันธ์ใหม่ เพื่อตอบโจทย์ 10 S-Curve หรืออุตสาหกรรมแห่งอนาคต

 

ซึ่งมหาวิทยาลัย หอการค้าไทย เป็นตัวอย่างของสถาบันการศึกษาที่เตรียมพร้อมและไม่ปฏิเสธ ดิจิทัล และดำเนินการเรื่องดิจิทัล เลิร์นนิ่ง โดยใช้ I-PAD ในการเรียนการสอน มาต่อเนื่องกว่า10ปี และล่าสุดยังมีการปรับรูปแบบการเรียนการสอน โดยเพิ่มวิชา โคดดิ้ง (การสร้างแอพลิเคชั่น) เป็นวิชาบังคับที่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทุกคณะทุกสาขาต้องเรียน

 

และในปีการศึกษาที่กำลังจะมาถึงนี้ ยังได้เพิ่มวิชา IDE 101 การขับเคลื่อนผู้ประกอบการด้วยนวัตกรรม เข้ามาเป็นวิชาพื้นฐานบังคับเช่นเดียวกัน

แต่สิ่งที่โดดเด่นที่สุดคือ การปรับทิศทางของมหาวิทยาลัยซึ่งมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นน้ำเรื่องTrade & Services ด้วยเล็งเห็นว่า ประเทศไทยต้องการมูลค่าเพิ่มขึ้นให้กับธุรกิจเซอร์วิส จากสัดส่วน 60% ใน GDPให้เพิ่มเป็น 80% โดยมีการท่องเที่ยวเป็นทิศทางสำคัญ ทางมหาวิทยาลัยได้เปิดคณะท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ โดยใช้โครงการไทยเท่ห์เข้ามาเป็นหนึ่งในหลักสูตร ภายใต้โจทย์ที่ว่าจะทำอย่างไรให้การท่องเที่ยวไทยมีรายได้เพิ่มเข้ามา ทำอย่างไรถึงจะขยายการท่องเที่ยวไปสู่สู่ชุมชนได้ และจะทำอย่างไรถึงจะสามารถบูรณาการดิจิทัลเข้ากับท่องเที่ยวได้ นี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นในสาขาการท่องเที่ยว

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยยังเน้นในเรื่องของTrade เป็นสำคัญ ซึ่งรศ.ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดี ม.หอการค้าไทย เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ให้น้ำหนักกับคำว่าการค้า เป็นคำสำคัญ การที่ประเทศไทยจะเป็นการค้า 4.0 ได้ต้องเข้าสู่ อีคอมเมิร์ช ซึ่งมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้ร่วมมือกับ อาลีบาบากรุ๊ปโฮลดิง จำกัด เพื่อเป็นแหล่งเทรนนิ่งเซนเตอร์ ได้รับcertifyของอะลีบาบา ที่เดียวในประเทศไทย ซึ่งศูนย์นี้จะทำหน้าที่เทรน SME และนักศึกษาเรียนที่จะไปสู่ระบบการค้าออนไลน์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

“เราเอารูปแบบของอาลีบาบา สคูล มาใช้ โดยเปิดศูนย์บ่มเพาะให้นักศึกษาเข้ามาเป็นสถานที่ขายของออนไลน์ เพราะเด็กหอการค้าเป็นเด็กหัวการค้าที่เข้ามาที่นี่กว่า80%ต้องการเป็นผู้ประกอบการ เป็นSME เป็นลูกนักธุรกิจอยู่แล้ว เราต่อยอดให้เด็กเหล่านี้สามารถขายแบบ B2B บนอาลีบาบาได้ ก่อนจะนำเด็กเหล่านี้มาประกวดแผนธุรกิจกันภายใต้โครงการ young Alibaba Hero นักศึกษาที่ชนะเลิศจะถูกส่งไปดูงานที่ Alibaba ในเมืองหางโจว เพื่อเก็บเกี่ยวแรงบันดาลใจและไปดูตัวอย่างของประเทศที่ไม่ปฎิเสธดิจิทัล เไม่ปฎิเสธอีคอมเมิร์ช และไม่ได้กลัวว่าอีคอมเมิร์ชจะเข้ามาดิสทรับชั่น”

นอกจากนี้มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยยังเข้าร่วมโครงการบัณฑิตย์พันธ์ใหม่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนใน2 หลักสูตรคือ ปริญญาตรี สาขาดิจิทัลเทคโนโลยี และสาขาฟู๊ดอินโนเวชั่น ภายใต้หลักการที่ว่า ต้องร่วมมือภาคธุรกิจ ซึ่งทางมหาวิทยาลัยได้ร่วมมือกับนักธุรกิจเครือข่ายของหอการค้าไทย และบริษัทชั้นนำด้านดิจิทัลของเมืองไทย เพื่อส่งนักศึกษาเข้าไปฝึกงานและใช้เวลาในสถานประกอบการ 50% และที่มหาวิทยาลัย 50% นอกจากนี้ยังได้มอบทุนการศึกษาตลอดจนโอกาสเข้าทำงานกับบริษัทชั้นนำหลังจบการศึกษาอีกด้วย

และอีกหนึ่งสูตรที่แสดงให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดกว้างและก้าวทันดิจิทัล คือ ปริญญาตรีสาขาธุรกิจเกมส์และอีสปร์อต

“ในโลกของความเป็น ตลาดเกมส์มีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องและมูลค่าตลาดสูงกว่าเอนเตอร์เทนเม้นทั้งฮอลลีวู๊ด บอลลีวูดรวมกันซะอีก เพราะโลกนี้แทบไม่มีใครที่ไม่เคยเล่นเกมส์ มหาวิทยาลัยในโลกนี้หลายแห่ง มีการสนับสนุนเรื่องนี้อย่างจริงจัง อาทิเช่น มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ ที่จัดเป็น E-Sport Arena ซึ่งมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้นำโมเดล E-Sport Arena มาใช้ และเปิดหลักสูตรธุรกิจเกมส์ เพื่อสร้างผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับเกมส์ได้”

ทั้งนี้หลักสูตรธุรกิจเกมส์และอีสปร์อตจะครอบคลุมถึงการพัฒนาเกมส์ วาดอนิเมชั่น การพากษ์เกมส์ รวมถึงนักกีฬาอีสปร์อตซึ่งปัจุบันได้รับการยอมรับให้เป็นลีกระดับโลกและบรรจุให้เป็นหนึ่งในกีฬาเอเชียนเกมส์ โดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยได้ทุ่มงบในการสร้าง Arena ที่ประกอบไปด้วย สนามฝึก และสนามแข่ง โดยได้รับความร่วมมือพราทเนอร์อาทิเช่นทรู การีน่า ให้การสนับสนุน

“ในโลกนี้มีมหาวิทยาลัยชั้นนำจำนวนมากที่เอาจริงเอาจังกับธุรกิจเกมส์ เราเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในไทยที่เปิดสาขานี้ นี่คือทิศทางที่เปลี่ยนแปลง เราพยายามหันมาลัยไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำด้านTrade & Services ตามวิชั่นของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ที่จะต้องการผลิตบัณฑิตย์และให้ความรู้กับSMEไทย รวมทั้ง สร้างผู้ประกอบการ สร้างนักรบเศรษฐกิจ อย่างต่อเนื่อง” รศ.ดร.เสาวณีย์ ปิดท้ายอย่างน่าสนใจ