Singha Ventures

Singha Ventures ลงทุนธุรกิจสตาร์ทอัพ ดันไอเดียดาวรุ่งแจ้งเกิดเวทีโลก

ก้าวที่ยิ่งใหญ่ สู่โลกอนาคตของสิงห์ กับ Singha Ventures

Singha Ventures
ภูริต ภิรมย์ภักดี ประธานกรรมการบริหาร Singha Ventures และ วรภัทร ชวนะนิกุล กรรมการผู้จัดการ Singha Ventures

 

ภูริต ภิรมย์ภักดี ประธานกรรมการบริหาร Singha Ventures เปิดเผยว่า กว่า 85 ปี ที่บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ อยู่คู่สังคมไทยมาอย่างยาวนาน และนี่ถือว่าเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญของบุญรอด ถือได้ว่านี่คือ New S-Curve เป็นอนาคตของบุญรอด และยังเป็นสิ่งที่จะสามารถช่วยเปลี่ยนแปลงโลกได้อีกด้วย

สิงห์ต้องการผลักดันธุรกิจ startup ของคนรุ่นใหม่ที่มีไอเดียล้ำนำสมัย พร้อมก้าวไปสู่โลกแห่งอนาคตกับ Singha Ventures บริษัทใหม่ในเครือ บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ภายใต้คอนเซ็ปต์ Brewing the future ด้วยวัตถุประสงค์ที่ต้องการให้ประเทศไทยเป็น Hub ในการลงทุนของธุรกิจดาวรุ่งจากทั่วโลก เพื่อให้เกิดการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ และนำมาซึ่งความก้าวหน้าทางนวัตกรรมให้กับประเทศไทยในอนาคต

Singha Ventures จึงได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อกลางปี 2560 ที่ผ่านมา โดยจดทะเบียนธุรกิจเงินร่วมลงทุนขึ้นที่ฮ่องกง ด้วยเงินลงทุน 25 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยการลงทุนกับบริษัทได้เข้าไปลงทุนแล้ว ในกองทุน 2 กองทุน(Fund of Funds ได้แก่ Kejora Ventures แพลตฟอร์มนระบบนิเวศน์ทางเทคโนโลยี(Technology ecosystem) ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเซีย มีการลงทุนในธุรกิจแล้วกว่า 29 ธุรกิจ และ Vertex Ventures จากสิงคโปร์ มีเครือข่ายของบุคคลที่มีความรู้และประสบการณ์ในวงการ Technology และ Venture Capital อย่างกว้างขวางทั่วโลก

Singha Ventures ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital Fund หรือ CVC)  มีบทบาทในการเป็นผู้สนับสนุนการลงทุนในนวัตกรรมและผลิตภัณฑ์ของกลุ่มสตาร์ทอัพดาวรุ่งระดับโลก(World Start-up) เพื่อสร้างประโยชน์ร่วมกันในอนาคต

โดย Singha  Ventures ให้ความสนใจเข้าไปลงทุนใน 3 กลุ่มอุตสาหกรรมหลักทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่

  1. สินค้าอุปโภคบริโภค(Consumer products) ทั้งกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ เครื่องปรุงรส รวมไปถึงบรรจุภัณฑ์ต่างๆ
  2. เทคโนโลยีในการจัดการห่วงโซ่การผลิต(Supply chain) ด้านการขนส่งและการจำหน่ายสินค้า เช่น การขนส่งถึงลูกค้าปลายทางโดยตรง(last mile) การขนส่งระหว่างภาคธุรกิจ(business to business solution : B2B) และการส่งสินค้าและบริการ e-commerce และ
  3. ลงทุนในระบบหรือโปรแกรมต่างๆ เพื่อช่วยในการทำงานขององค์กร(Enterprise solutions) เช่น Software as a service (SaaS) Cloud computing ระบบการจ่ายเงิน และระบบการให้สินเชื่อแก่คู่ค้า

นอกจากนี้ Singha  Ventures ยังเปิดกว้างมองหาและพร้อมลงทุนกับธุรกิจอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ธุรกิจด้านสุขภาพ(Healthcare) เทคโนโลยีชีวภาพ(Biotech) เทคโนโลยีสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์(Property technology) และ Internet of Things(IoT) เป็นต้น  และการลงทุนจะโฟกัสธุรกิจสตาร์ทอัพที่มีโมเดลธุรกิจชัดเจน มีตลาด และมีรายได้แล้ว(ระดับ Series A) และมีความเป็นไปได้ในการเข้าไปลงทุนในระดับ Seed Funding stage หากธุรกิจดังกล่าวเป็นไอเดียที่โดดเด่น และอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีสามารถนำมาพัฒนาต่อยอด เสริมศักยภาพองค์กร(Synergy) สิงห์ได้ และเป็นประโยชน์ต่อพันธมิตรควบคู่กัน

ในส่วนของสิ่งที่บริษัทจะได้รับนอกจากผลกำไรแล้วนั้น คือการได้เรียนรู้ และเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อนำมาปรับใช้กับองค์กร ซึ่งเป็นการวางแผนที่ดีเยี่ยมในการป้องกันความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

ดังนั้นสำหรับบริษัทอย่างบุญรอดเอง ถึงแม้จะเป็นธุรกิจที่มีหลักเป็นธุรกิจด้านอาหารและเครื่องดื่ม แต่การเรียนรู้และเตรียมตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจในอนาคตจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องรีบทำอย่างเร็วที่สุดในเวลานี้ เพราะไม่เช่นนั้น สิ่งที่ไม่คาดคิดจากการ Disrupt อาจจะเกิดขึ้นได้ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

 

Singha Ventures