เสพติด Selfie

เสพติด Selfie ตลอดเวลาอาจเสี่ยงต่อความผิดปกติของจิตใจ

ถ้าคุณเป็นคนนึงที่ชอบเล่นแอพอินสตาแกรม (Instagram) เป็นชีวิตจิตใจ คุณคงเคยเห็นเพื่อนที่โพสต์ภาพเซลฟี่ตัวเองในทุกอริยาบทของชีวิตประจำวัน แต่อาจจะยังไม่พบปัญหาของการเสพติด Selfie หรือข้อเสียในการดำเนินชีวิตอย่างชัดเจน

เมื่อปี 2014 มีข่าวเท็จที่พูดถึงการบัญญัติความหมายของคำว่า Selfitis ปล่อยออกมา โดยสมาคมจิตเวชศาสตร์ของอเมริกา กำลังตระหนักว่าการถ่ายรุปเซลฟี่ตัวเองมากๆ อาจจะเป็นโรคจริงๆ

3 ปีต่อมา 2 นักจิตวิทยาศึกษาและพิจารณาว่านี่อาจจะเป็นความจริง และออกมาบอกว่าการถ่ายรูปเซลฟี่ตลอดเวลาอาจส่งผลในแง่ลบต่อสุขภาพจิตของเราได้

นักจิตวิทยา Mark D. Griffiths และ Janarthanan Balakrishnan ได้ตีพิมพ์บทความวิจัย ในบทความวิจัยนานาชาติด้านสุขภาพจิตและการเสพติด เพื่อต้องการยืนยันว่า selfitis (เซลฟีทิส) เป็นอาการป่วยจริง และวินิจฉัยได้ว่ามาจากการเซลฟี่ที่มากเกินไป โดยการสำรวจพฤติกรรมจากนักศึกษา 400 คนในประเทศอินเดีย โดยประเมินจากพฤติกรรมความรุนแรงของอาการซึ่งมีอยู่ 3 ระดับด้วยกัน

  • Level 1 – มักจะถ่ายเซลฟี่อย่างน้อง 3ครั้งต่อวัน แต่ไม่ได้โพสต์ลงโซเชียล
  • Level 2 – เสพติด Selfie ขั้นรุนแรง ถ่ายภาพเซลฟี่และโพสต์ลงโซเชียมีเดีย
  • Level 3 – ขั้นเรื้อรังแล้ว พวกเขาไม่สามารถควบคุมการกระตุ้นให้ถ่ายรูปตัวเองอยู่ตลอดเวลาได้ และโพสต์ภาพเซลฟี่อย่างน้อย 6 ครั้งต่อวัน

ผู้เข้าร่วมสำรวจบอกว่า เขารู้สึกว่าตัวเองโด่งดังเมื่อเขาโพสต์รูปตัวเองลงโซเชียลมีเดีย หรือ เมื่อพวกเขาไม่เซลฟี่จะรู้สึกว่าไม่เข้าพวกกับกลุ่มเพื่อน

“โดยปกติแล้วคนที่มีอาการเหล่านี้ต้องทนทุกข์ทรมานจากการขาดความมั่นใจในตัวเองและพยายามที่จะเข้ากับคนรอบข้างและอาจแสดงอาการคล้ายกับพฤติกรรมที่เสพติดในรูปแบบอื่น ๆ การพัฒนาวิจัยนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ที่ถูกครอบงำจากพฤติกรรมเหล่านี้ โดยช่วยหาคำตอบว่าเพราะอะไรและทำไมถึงเกิดพฤติกรรมดังกล่าว ” Balakrishnan กล่าว

ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (EFA) มีปัจจัย 6 ประการ ได้แก่ การส่งเสริมสิ่งแวดล้อม, การแข่งขันทางสังคม, การแสวงหาความสนใจ, การปรับเปลี่ยนอารมณ์, ความมั่นใจในตนเองและความสอดคล้องกับสังคม

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า the Selfitis Behavior Scale ดูเหมือนจะเป็นเครื่องมือที่เชื่อถือได้และมีประโยชน์สำหรับการประเมิน selfitis แต่จำเป็นต้องมีการศึกษายืนยันเพื่อยืนยันแนวคิดนี้อย่างเข้มงวดมากขึ้น

Photo by NeONBRAND on Unsplash

อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกคนที่จะเห็นด้วย จากการพูดคุยกับโฆษกของ The Royal College of Psychiatrists กล่าวว่า โรคเซลฟิทีสหรือการเสพติด Selfie ไม่มีอยู่จริงและแนะนำว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องที่จะยัดเยียดโรคให้กับคนที่มีพฤติกรรมดังกล่าว

ลองสำรวจพฤติกรรมการใช้อินสตาแกรมหรือการเสพติด Selfie ของตัวเองรวมถึงคนใกล้ชิดว่าอยู่ในระดับใดแล้ว และสังเกตุว่าการเซลฟี่กำลังส่งผลกระทบในด้านใดบ้าง ถึงแม้ว่าคุณอาจจะยังไม่พบปัญหาที่ร้ายแรงก็ตาม แต่การเสพสื่อเพียงแต่พอดีนั้นย่อมดีกว่าพฤติกรรมเสพติดอย่างที่สุดโต่งแน่นอน

ที่มา บทความ World Economic Forum และ Business Insider

บทความที่ตีพิมพ์ของ Janarthanan Balakrishnan & Mark D. Griffiths An Exploratory Study of BSelfitis and the Development of the Selfitis Behavior Scale

Photo by Duri from Mocup on Unsplash