scg ไตรมาส 1 ปี 2561

จับตามอง SCG ปรับแผนใหม่ชูดิจิทัลขับเคลื่อนนวัตกรรม

จับตามอง SCG ปรับแผนใหม่ชูดิจิทัลขับเคลื่อนนวัตกรรม

ประกาศแผนธุรกิจและกลยุทธ์ไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา พร้อมเป้าหมายเติบโต 6% สำหรับ SCG ที่ดูเหมือนว่า เป้าหมายที่ตั้งไว้จะไม่ง่าย หลังประมาณการรายได้ไตรมาสแรก ไม่เป็นไปตามคาด SCG จะปรับทัพรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไร

ทั้งนี้ รุ่งโรจน์  รังสิโยภาสกรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 1 ประจำปี 2561 บริษัทมีรายได้จากการขาย 118,250 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 จากไตรมาสก่อน และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่มีกำไร 12,406 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1 จากไตรมาสก่อน และลดลงร้อยละ 29 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากผลการดำเนินงานที่ลดลงของบริษัทย่อยและบริษัทร่วมของธุรกิจเคมิคอลซึ่งได้รับผลกระทบจากปัจจัยเงินบาทแข็งค่าและต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้นประกอบกับปีที่ผ่านมามีกำไรจากการขายเงินลงทุน

ซึ่ง รุ่งโรจน์ เองก็ยอมรับว่าบริษัทยังคงยึดในเป้าหมายเดิมคือเติบโต 5-6% ในปีนี้ แม้ว่าการดำเนินธุรกิจอีก 9 เดือนต่อจากนี้อาจไม่ง่ายตามที่คาดหวังไว้ ซึ่งปัจจัยลบที่เป็นอุปสรรคใหญ่ยังคงเป็นเรื่องของค่าเงินบาทที่แข็งค่าและบริษัทไม่อาจกำหนดได้เพราะเป็นปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบ รวมทั้งยังต้องเผชิญหน้ากับสภาพการแข่งขันที่รุนแรงทั้งในไทยและในภูมิภาค ต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น อีกด้วย

scg ไตรมาส 1 ปี 2561

เพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวและไปให้ถึงป้าหมายที่ตั้งไว้ ในมุมมองของ รุ่งโรจน์ มองว่าสิ่งที่ SCG ทำได้คือ การปรับตัวเอง โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในบริษัทมากขึ้นเพื่อลดต้นทุน คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับผลิตภัณฑ์และบริการ ในขณะเดียวกันก็ต้องมองหาช่องทางการขยายกิจการไปยังต่างประเทศโดยเฉพาะอาเซียน

ล่าสุดได้เข้าถือหุ้นเพิ่มเติมเป็นร้อยละ 50.9 ใน บริษัท Binh Minh Plastics Joint Stock Company ซึ่งเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายท่อและข้อต่อ PVC ชั้นนำทางตอนใต้ของเวียดนามและจัดตั้ง Trading Company โดยเข้าถือหุ้นร้อยละ 50 ใน บริษัท PT Nusantara Polymer Solutions ในอินโดนีเซีย เพื่อจัดจำหน่ายเม็ดพลาสติกที่มีมูลค่าเพิ่มสูงซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการขยายฐานสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงให้เจริญเติบโตได้ในอาเซียนรวมทั้งจัดตั้ง SCG Roofing Center ที่นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ซึ่งเป็นศูนย์บริการหลังคา ฝ้า ผนังครบวงจรแห่งแรกในต่างประเทศ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของตลาดและเปิดโอกาสทางธุรกิจในกลุ่มประเทศ AEC อีกด้วย

ซึ่ง รุ่งโรจน์มองว่า 2 ส่วนนี้น่าจะช่วยให้ SCG สามารถควบคุมต้นทุน คุณภาพ ราคาและการบริการได้ซึ่งจะนำมาซึ่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นเพื่อทดแทนรายได้ที่สูญเสียไปจากผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่ามากกว่าไตรมาสเดียวกันจากปีก่อนหน้าถึง 10%

นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนที่จะลงทุนใน EEC โดยจะเน้นไปที่ธุรกิจ Life Industry ซึ่งปัจุบันยังอยู่ในขั้นต้อนตอนการพิจราณาอนุมัติ ซึ่งคาดว่าจะทยอยเปิดแผนการลงทุนที่ชัดเจนออกมาอย่างต่อเนื่องในอนาคตอันใกล้

 

scg ไตรมาส 1 ปี 2561

“จากประมาณการรายได้ไตรมาสแรก อาจไม่ถึงเป้าที่วางไว้ สิ่งที่เราทำได้คือ เร่งผลักดันการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนานวัตกรรม พร้อมนำเสนอโซลูชั่นครบวงจร เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการเชิงลึกของลูกค้าทั่วอาเซียนรวมทั้งมุ่งพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม (High Value Added Products & Services – HVA) โดยเน้นร่วมมือกับลูกค้าหรือสถาบันชั้นนำต่างๆ มากขึ้น ซึ่งน่าจะช่วยชดเชยรายได้ที่สูญเสียไปได้ รุ่งโรจน์กล่าวปิดท้าย”