ที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัย

ทำไมถึงไม่ควรมองข้ามที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัย

ที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัย ตลาดเล็กที่ไม่ควรมองข้าม

หลายคนคงเคยได้ยินชื่อ “ที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัย” แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจความหมายและความสำคัญของที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัยอย่างถ่องแท้  จึงทำให้ตลาดวันนี้ยังมีขนาดเล็ก มูลค่าไม่สูงมากนัก แต่ฟันธงได้เลยว่า อนาคตตลาดนี้มาแน่ และจะเป็นตลาดที่มีมูลค่ามหาศาลทีเดียว

ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา กระแสที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัยนั้นได้รับการพูดถึงอย่างหนาหู เพราะเชื่อกันว่าจะเป็นเทรนด์มาแรง เนื่องจากตอบโจทย์สังคมผู้สูงวัยและไลฟ์สไตล์คนวัยเกษียณยุคใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป

แต่ด้วยความที่ชื่อของที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัยสื่อความหมายใกล้เคียงกับบ้านพักคนชรา ผู้บริโภคส่วนมากจึงเข้าใจว่า ที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัยก็คือบ้านคนชรา และทำให้ปัจจุบันตลาดยังมีขนาดเล็ก และไม่ได้เติบโตอย่างรวดเร็ว

ทั้งที่ในความเป็นจริง ที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัย เป็นการพัฒนาที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัยแบบครบวงจร ซึ่งภายในจะประกอบด้วยที่พักอาศัยประเภทต่าง ๆ พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้สูงวัยครบครัน ทั้งคลับเฮาส์ ทีมแพทย์และพยาบาล และศูนย์การค้า หรือจะเรียกว่าง่าย ๆ ว่าเป็นคอมมูนิตี้ย่อม ๆ ของผู้สูงวัยเลยก็ได้

ดังนั้น เมื่อหันกลับมาส่องตัวเลขประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปี จากข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 11.2 ล้านคน หรือ 17.1% ของประชากรทั้งหมด และจะเพิ่มเป็น 13.6% หรือ 20.6% ของประชากรทั้งหมดในปี 2565 โดยจะมีผู้สูงอายุ 20% ของจำนวนประชากร ขณะที่ประชากรรวมเพิ่มเพียง 0.5% ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุแบบสมบูรณ์

ขณะเดียวกันเมื่อส่องลึกลงไปดูพฤติกรรมผู้สูงวัยยุคใหม่จะพบด้วยว่า เปลี่ยนไปจากเดิม โดยสามารถพึ่งพิงตัวเองได้สูงขึ้น ส่วนกลุ่มคนที่ต้องพึ่งพาลูกหลานก็มีแนวคิดที่จะแยกออกมาอยู่ด้วยตนเอง เพราะคนกลุ่มนี้มีการงานมั่นคงก่อนเกษียณและมีสังคม และมีไลฟ์สไตล์ชอบเที่ยวกับเพื่อนวัยชราด้วยกัน

นั่นจึงทำให้ “ที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัย” กลายเป็นคำตอบ

ในช่วงที่ผ่านมา มีผู้ประกอบการในแวดวงพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ได้รุกเข้ามาจับตลาดนี้กันอย่างคึกคัก รูปแบบมีทั้งการขายขาดและให้เช่า แต่ดูเหมือนว่าจะยังไม่เปรี้ยง และตอบโจทย์มากพอ

แต่ที่เห็นเด่นชัดสุด และดูจะไปได้ดีทีเดียว คงต้องยกให้กับ “จิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้” ในเครือโรงพยาบาลธนบุรี ซึ่งเป็นโครงการแรกในไทยที่เปิดเป็นบ้านพักอาศัยผู้สูงวัยแบบครบวงจร ซึ่งมีทั้งโรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า และคลับเฮาส์ รองรับกลุ่มผู้สูงวัย

อีกทั้งล่าสุดบริษัท พริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ จำกัด ในเครือ บริษัท พรินซิเพิล แคปิตอล จำกัด (มหาชน) ผู้ดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน เป็นอีกรายที่มองเห็นโอกาสและมีแผนจะปรับปรุงอาคารเช่าในย่านหัวหมาก เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์สุขภาพหรือที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป โดยจะมีบุคคลากรทางการแพทย์ประจำศูนย์ คาดว่าจะเปิดให้บริการในต้นปีหน้า และหากประสบความสำเร็จ มีแผนจะขยายไปทั่วกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดที่มีศักยภาพต่อไป

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของที่พักอาศัยที่ผุดขึ้นเพื่อรองรับตลาดสูงวัย และเราเชื่อว่าในอนาคตจะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ

แม้ว่าวันนี้ตลาดสูงวัยจะมีขนาดเล็ก แต่ด้วยสภาพสังคมแลไลฟ์สไตล์คนที่เปลี่ยนแปลงไป ที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัยจะกลายเป็นธุรกิจแห่งอนาคตที่ร้อนแรง ซึ่งใครที่ปักหมุดและสร้างความเชื่อมั่นในแบรนด์ให้กับกลุ่มเป้าหมายได้ก่อน ย่อมมีแต้มต่อ