เมียนมา : ผีเสื้อที่พร้อมจะโบยบิน

เป็นความจริงที่ว่า บริษัทน้อยใหญ่ต่างจับจ้องเข้าไปขุดทองในเมียนมา และสิ่งที่เกิดขึ้นกับ “ดาวรุ่งแห่งลุ่มน้ำโขง” กับคำถามที่ว่า เมียนมาวันนี้กำลังก้าวเดินไปในทิศทางไหน และเกี่ยวข้องกับนักลงทุนไทยอย่างไร …?

ย่างกุ้ง อดีตเมืองหลวงของเมียนมา ได้สร้างความคึกคักให้กับนักลงทุนทั่วโลก นั่นเพราะทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ต้องการกำลังคนเข้ามาเพื่อช่วยสนับสนุนให้คนเมียนมามีชีวิตที่ดีขึ้น ทำให้ได้เห็นคลื่นการลงทุนมากมายในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ถึงขนาดที่ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ “กอบศักดิ์ ภูตระกูล” ต้องเดินทางเข้าประเทศนี้มากกว่า 30 ครั้ง
ทำไมต้องเมียนมา ?
การ เติบโตของเศรษฐกิจเมียนมา น่าจะยิ่งเพิ่มความน่าสนใจหลังการเลือกตั้งครั้งแรกในรอบ 25 ปีเสร็จสิ้นลง และไม่ว่าพรรคใดจะชนะการเลือกตั้ง ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของชัยชนะ นั่นเพราะคนหนุ่มสาวของประเทศนี้ กลัวการปิดประเทศอีกครั้ง นำมาซึ่งการขาดอิสรภาพและการสื่อสารในยุคโลกไร้พรมแดน

“ไม่ว่า พรรคใดจะชนะเลือกตั้ง ลึก ๆ แล้ว พลเมืองของเมียนมาจะได้ประโยชน์ ซึ่งการเปิดประเทศที่มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง ในสายตาประชาคมโลก เป็นเสมือนแค่บอกให้โลกรู้ว่า เมียนมามีรัฐบาลอย่างถูกต้อง แต่ถ้าถามว่าลึก ๆ แล้วคิดอย่างไร ก็ต้องบอกว่า ส่วนใหญ่คิดแค่การหารายได้ให้มากขึ้น”

ขณะ ที่หากมองในส่วนของนักลงทุนต่างชาติ ตอนนี้ก็แค่ wait and see และเมื่อสถานการณ์การเมืองนิ่งลง ทุกอย่างก็เดินหน้าต่อ “บัวคำ” ซึ่งเป็นคนไทใหญ่ แต่งงานกับคนเมียนมา และยึดอาชีพไกด์มาตลอด 5 ปีที่ผ่านมา บอกระหว่างการเดินทางนำเที่ยวในย่างกุ้งว่า

สิ่งหนึ่งที่ยืนยัน คำกล่าวของไกด์สาวคือ คนเมียนมามีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น แม้จะไม่มาก แต่ก็ดีกว่าในอดีต สังเกตได้จากหนุ่มสาวใช้สมาร์ตโฟนคุยกัน หรือแชร์สิ่งต่าง ๆ ในโลกออนไลน์มากขึ้น หรือการยืนรอต่อคิวเพื่อซื้อ KFC เชนร้านอาหารจากตะวันตกในวันแรกที่เปิดขายนานหลายชั่วโมง

“สิ่ง เหล่านี้แสดงว่า คนท้องถิ่นรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น เพราะคนเมียนมาจะทานข้าวกับครอบครัว หรือนำอาหารมาทานในมื้อกลางวัน เพราะค่าแรงขั้นต่ำที่นี่ยังไม่สูงมาก แต่ก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็หวังว่า หลังการเลือกตั้ง ชีวิตความเป็นอยู่น่าจะดีขึ้น”

สิ่ง ที่เกิดขึ้นกับดาวรุ่งแห่งลุ่มน้ำโขง สะท้อนภาพให้เห็นว่า เมียนมาวันนี้กำลังก้าวเดินไปบนความคาดหวังที่ดีขึ้น ภาพความเป็นจริงที่ปรากฏในปัจจุบัน แน่นอนว่า ความท้าทายที่รออยู่คือ ความชัดเจนในการจัดตั้งรัฐบาลของประเทศนี้ กฎหมายจำนวนมากกำลังรอการรื้อ ชำระ และเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับการยื่นขอการลงทุนจากต่างชาติ
แม้ ที่ผ่านมาจะมีกฎหมายบางส่วนแก้ไขไปแล้ว แต่ก็มีอีกจำนวนมากซึ่งต้องรอให้รัฐบาลใหม่เข้ามาจัดการ ซึ่งในอนาคตรัฐบาลมีแนวโน้มผ่อนคลายกฎข้อห้ามต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนให้มีอิสระมากขึ้น และนั่นย่อมทำให้ภาพการลงทุนขนานใหญ่ตามมา

BBL จังหวะก้าวที่รอนาน 20 ปี

BBL02
การเปิดตัวอย่างเป็นทางการของธนาคารกรุงเทพ สาขาเมียนมา นับเป็นสาขาแห่งที่ 9 ในอาเซียน ยกเว้นประเทศบรูไนเท่านั้น โดยภายหลังได้รับใบอนุญาตจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ต่างชาติ ซึ่งการเกิดขึ้นของสาขานี้ มิใช่ความสำเร็จเพียงชั่วข้ามคืน แต่ธนาคารต้องใช้เวลาและความอดทนเป็นเวลานานถึง 20 ปี และการรอคอยในครั้งนี้ ก็น่าจะเป็นสิ่งที่คุ้มค่า

นั่นเพราะธนาคาร กรุงเทพ เป็นธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งเดียวที่ได้รับใบอนุญาต ถึงขนาดที่ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ “กอบศักดิ์ ภูตระกูล” เปรียบเปรยว่า เมียนมาเสมือนเป็นดักแด้ ฝักตัวและพร้อมกลายเป็นผีเสื้อที่จะโบยบินแล้ว

สำหรับความท้าทายบนโอกาสมหาศาลครั้งนี้ ธนาคารกรุงเทพจะมองอนาคตการดำเนินธุรกิจในเมียนมาไว้อย่างไร ชาวบิสิเนสพลัสสามารถติดตามอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ นิตยสาร Business+ December 2015 Issue 322

ผู้เขียน : วิทยา กิจชาญไพบูลย์

ติดตามบทความทั้งหมดได้ที่ นิตยสาร Business+ December 2015