การปฏิรูปด้วยดิจิทัล Digital Transformation
ไมโครซอฟท์เผยผลสำรวจไมโครซอฟท์-ไอดีซี ชี้“ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น” พร้อมขับเคลื่อน GDP ไทยให้เติบโตสูงขึ้นกว่า 2.82 แสนล้านบาทในปี 2564 นำโดย (ขวาสุด) นายอัลเบอร์โต้ กรานาดอส รองประธานฝ่ายการขาย ไมโครซอฟท์ เอเชีย แปซิฟิก (ซ้ายสุด) นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด (ที่สองจากขวา) นายไมเคิล อะราเน็ตตา รองประธานบริหาร ไอดีซี ไฟแนนเชียล อินไซต์ และ (ที่สองจากซ้าย) คุณปริยา จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการพาณิชย์ดิจิทัลและการตลาดรายได้เสริมองค์กรบริษัท การบินไทย (จำกัด) มหาชน

ผลสำรวจชี้ Digital Transformation พร้อมขับเคลื่อน GDP ไทยให้เติบโตสูงขึ้น

รายงานวิจัย “ปลดล็อคโลกเศรษฐกิจในยุคแห่งการปฏิรูปด้วยดิจิทัล” ที่จัดทำขึ้นโดยไมโครซอฟท์และไอดีซี เอเชียแปซิฟิก เผยว่าการปฎิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล (Digital Transformation) จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นเป็นมูลค่ากว่า 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 2.82 แสนล้านบาท ภายในปี 2564 และขับเคลื่อนให้อัตราการเติบโตของ GDP เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยราว 0.4% ต่อปี

รายงานวิจัยของไมโครซอฟท์และไอดีซี ได้รวบรวมความคิดเห็นจากผู้บริหารในองค์กรขนาดกลางและใหญ่จำนวน 1,560 ท่าน ใน 15 ประเทศและเขตการปกครองทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อเผยถึงผลกระทบและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล รายงานฉบับนี้ยังคาดการณ์ว่ากระบวนการการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะดำเนินไปอย่างรวดเร็วขึ้นมากในอนาคต จากที่ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์และบริการที่ต่อยอดจากเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งในด้านอุปกรณ์พกพา คลาวด์ IoT (Internet of Things) และปัญญาประดิษฐ์ (AI) สามารถสร้างมูลค่า GDP ให้กับประเทศไทย คิดเป็นอัตราส่วนราว 4% เท่านั้น

จากผลสำรวจ ผู้บริหารรวม 100 ท่าน ในประเทศไทย มองว่าองค์กรจะได้รับประโยชน์ 5 ประการ จากการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล ดังต่อไปนี้

  1. การพัฒนาด้านกำไร
  2. การพัฒนาด้านผลิตภาพ
  3. ทัศนคติและความผูกพันที่ลูกค้ามีให้กับองค์กร และการรักษาฐานลูกค้า
  4. รายได้ที่เพิ่มจากผลิตภัณฑ์และบริการที่มีอยู่แล้ว
  5. รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากผลิตภัณฑ์และบริการใหม่

ภายในปี 2563 องค์กรจะได้รับประโยชน์จากด้านต่างๆ เหล่านี้อีกกว่า 40% โดยเฉพาะในด้านการสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์และบริการรูปแบบใหม่

จากผลการวิจับพบว่า องค์กรในประเทศไทยมีการเริ่มปฏิรูปดิจิทัลไปแล้วว่า 82% แต่มีเพียง 7% เท่านั้นที่มีศักยภาพเพียงพอและพร้อมต่อการพัฒนาอย่างเต็มรูปแบบในระดับผู้นำ องค์กรที่เป็นผู้นำจะต้องมีสัดส่วนรายได้จากผลิตภัณฑ์และบริการเชิงดิจิทัลไม่ต่ำกว่าหนึ่งในสาม  โดยขณะนี้ เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยให้องค์กรในกลุ่มผู้นำนี้สามารถยกระดับประสิทธิภาพและผลงานขององค์กรได้ราว 20-30% ในแต่ละด้าน

สิ่งที่องค์กรที่เป็นผู้นำเล็งเห็น 

  • องค์กรกลุ่มผู้นำจะให้ความสนใจกับคู่แข่งและเทคโนโลยีใหม่ๆ มากกว่า
  • ความคล่องตัวในการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญ
  • วัดผลการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล
  • องค์กรในกลุ่มผู้นำเล็งเห็นถึงและเข้าใจในอุปสรรคบนเส้นทางการปฏิรูปธุรกิจมากกว่ากลุ่มผู้ตาม
  • องค์กรระดับผู้นำต่างสนใจที่จะลงทุนในเทคโนโลยี AI และ IoT

ผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคมในประเทศไทยจากการปฏิรูปด้วยดิจิทัล

ในด้านผลกระทบเชิงสังคมที่สำคัญ โดยจะทำให้มีโอกาสที่เพิ่มขึ้นในด้านต่างๆ ดัังนี้

1. การเติบโตของรายได้ส่วนบุคคลผ่านการทำงานโดยอิสระและงานดิจิทัล
2. ตำแหน่งงานใหม่ที่มีรายได้เพิ่มขึ้น
3. เมืองที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นปลอดภัยขึ้นและฉลาดขึ้น

การเปลี่ยนแปลงเชิงตลาดงาน พบว่า

95% ของตลาดงานจะเปลี่ยนแปลงภายใน 3 ปีข้างหน้า

ด้วยผลกระทบจากปรากฏการณ์ ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น โดยตำแหน่งงานถึง 65% จะมีมูลค่าและความต้องการด้านทักษะเพิ่มสูงขึ้น หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบไปในทิศทางใหม่ เพื่อให้ตอบรับความต้องการของสังคมยุคดิจิทัล

79% มั่นใจว่าคนรุ่นใหม่มีทักษะที่พร้อมสำหรับงานในอนาคตแล้วและพวกเขาสามารถขยับขยายไปรับมือกับตำแหน่งงานใหม่ได้

แต่สิ่งที่ท้าทายที่สุดสำหรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัลของประเทศไทย คือ ขาดทักษะ, วัฒนธรรมองค์กรและขาดความเป็นผู้นำ

ปฏิรูปดิจิทัล Digital transformation
นายธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด และ นายอัลเบอร์โต้ กรานาดอส รองประธานฝ่ายการขาย ไมโครซอฟท์ เอเชีย แปซิฟิก

ธนวัฒน์ สุธรรมพันธุ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “คนที่ adopt ในเรื่องของDigital Transformation ก่อน จะมี impact ต่อธุรกิจถึง 2 เท่าของคนที่ยังไม่ได้ adopt ในเกมดิจิทัล คนที่ได้เริ่มก่อนได้ลองก่อนจะได้เรียนรู้ได้ข้อมูลและนำมาสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมาอีกได้ อย่างที่ทุกคนรู้ว่า Data เป็นสิ่งสำคัญ แต่กว่าเราจะได้ Data มาก็ต่อเมื่อเราเริ่มทำได้เริ่มลองถ้าเราไม่มี data เราก็จะไม่ได้เรียนรู้”

จากผลวิจัยทุกองค์กรมีความเห็นเหมือนกันว่า สิ่งที่องค์กรในประเทศไทยยังขาด 5 อันดับ คือ

  1. บุคคลากรที่สามารถมาช่วยได้ในเรื่องของดิจิทัล หรือ challenge ในการ reskill ให้กับบุคคลากรที่มีอยู่ ให้สามารถ adopt technology และสามารถใช้เทคโนโลยีให้มีประโยชน์มากขึ้นได้
  2. Culture วัฒนธรรม จะทำอย่างไรให้เป็นองค์กร Learning culture เป็นวัฒนธรรมที่ไม่ใช่ทำผิดแล้วโดนลงโทษ ถ้าทำสิ่งใหม่ๆ แล้วไม่ได้ผลตามที่ต้องการ แล้วโดนตำหนิ ถ้าต้องอยู่ในวัฒนธรรมองค์กรแบบนั้น innovation ไม่เกิดแน่นอน เราต้องอยู่ใน culture ที่เราสามารถเริ่มในสิ่งใหม่ๆ ทำในสิ่งใหม่ๆ หากเกิดความผิดพลาดเราได้เรียนรู้และ response ได้เร็วและได้ทำออกมาเป็นสิ่งอื่นที่ดีขึ้น
  3. Lack of Thought leadership สำหรับประเทศไทยปีนี้ตกลงมาเป็นอันดับ 3 จากปีที่แล้วเป็นอันดับ 2 แต่ในขณะที่ Asia pacific ปีนี้เป็นอันดับ 2
  4. Cyber security
  5. Data

แนวทางการคว้าโอกาสในยุคแห่งการปฏิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล

  • สร้างสรรค์วัฒนธรรมเชิงดิจิทัล พัฒนาบุคคลากรให้เชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยี
  • สร้างระบบนิเวศเชิงข้อมูล โดยนำข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์ให้เกิดในมุมมองอื่นๆ
  • ขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงจากเรื่องเล็กไปสู่เรื่องใหญ่ภายในองค์กร
  • ใช้ประโยชน์จาก AI, Big Data และ Cloud Computing ในวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา

การปฏิรูปด้วยดิจิทัล Digital Transformation

สำหรับองค์กรตัวอย่างที่ได้นำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับองค์กรได้อย่างดีเยี่ยมคือ การบินไทย

คุณปริยา จุลกะรัตน์ ผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการพาณิชย์ดิจิทัลและการตลาดรายได้เสริมองค์กร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่่าวว่า “การบินไทยได้นำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาปรับใช้ภายในองค์กร ไม่ใช่แค่เพียงเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตต่อไปเท่านั้น แต่เรายังต้องการพลิกธุรกิจให้ทันวันพรุ่งนี้ การตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจที่ลึกซึ้งในตัวลูกค้าเอง ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในทุกภารกิจของเรา”

“น้องฟ้า” แชทบอทจากเทคโนโลยี AI ที่การบินไทยได้นำมาประยุกต์ใช้ในการตอบคำถามของลูกค้า ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งใช้การพัฒนาด้วย Microsoft Bot Framework และบริการบอทสำหรับแพลตฟอร์มคลาวด์ ไมโครซอฟท์ อาซัวร์ (Azure Bot Service) ทำให้สามารถบริการลูกค้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งการตรวจสอบเที่ยวบิน โปรโมชั่น บริการเสริมเช่ารถ วางแผนการเดินทาง แต่หากน้องฟ้าไม่สามารถตอบคำถามได้ระบบจะแจ้งให้ติดต่อ call center โดยตรง

3 ปีที่ผ่านมาการให้ความสำคัญกับ digital transformation ทำให้มีคนเข้าเว็บไซต์เพิ่มขึ้น 15% จากปี 2016 จำนวนกว่า 13 ล้านคน  สร้างรายได้จากออนไลน์เพิ่มขึ้นกว่า 43% ซึ่งในอนาคตการบินไทยจะพัฒนาระบบให้สามารถเป็นผู้ช่วยลูกค้าได้ในทุกความต้องการโดยสามารถช่วยวางแผนการเดินทางให้เป็นรายบุคคล  personal website ซึ่งในการทำเว็บโดยการจัดสรรข้อมูลให้ลูกค้าตามความต้องการนั้นเรื่องของ Data analytic สำคัญมากที่สุด เนื่องจากการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ improve customer สามารถช่วยตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงจุดและทำให้การบินไทยมีรายได้เพิ่มขึ้นจากช่องทางออนไลน์อีกด้วย

ประเทศไทยจะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปได้อย่างรวดเร็ว หากภาคธุรกิจและภาครัฐนำเทคโนโลยีมาปรับใช้และให้ความสำคัญกับ Digital Transformation มากขึ้น จึงจะสามารถปลดล็อคเศรษฐกิจไทยไปสู่เศรษฐกิจโลกได้

ที่สำคัญคือ มีเพียงแค่ผู้นำในโลกธุรกิจที่รีบปรับตัวเท่านั้นจึึงจะเป็นผู้อยู่รอดในโลกธุรกิจที่กำลังถูก Disrupt