Kodak -Fuji Film มุมธุรกิจที่ต้องคิดตาม

ย้อนรอย Kodak -Fuji Photo Film บทเรียนธุรกิจผ่านมุมมองของธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์

ในยุครุ่งเรืองของกล้องฟิล์ม บริษัทอีสต์แมน โกดัก ผู้ผลิตอุปกรณ์ด้านการถ่ายภาพชื่อดังของสหรัฐฯ และ บริษัท Fuji Photo Film จำกัด ผู้ผลิตอุปกรณ์ถ่ายภาพชื่อดังของญี่ปุ่น  คือคู่แข่งที่ขับเคี่ยวกันอย่างสูสีและกินกันไม่ลงมาตลอด ไม่ต่างกับ2ยักษ์ใหญ่ในปัจุบันอย่าง บริษัทแอปเปิลและกูเกิล

แต่ใครจะคิดว่าในอีก ร้อยกว่าปีต่อมา Kodak บริษัทเก่าแก่มากกว่า130 ปีและเคยรุ่งเรืองถึงขีดสุด จะเหลือเพียงชื่อและตำนาน  เพราะถูกกลืนกินจากกะแสโลกดิจิทัล ยุคที่กล้องฟิล์มไม่เป็นที่นิยม หลังช่างภาพรุ่นใหม่หันมาจับกล้องดิจิทัลแทบ 100 เปอร์เซ็น ในขณะที่คนรุ่นใหม่หันมาใช้สมาร์ทโฟนในการถ่ายภาพ เพราะสะดวกและคุณภาพไม่แพ้กล้องดิจิทัลเลยทีเดียว

แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีนี้ส่งผลโดยตรงต่อ ทั้ง Kodak และFuji ที่ บิสิเนสหลักคือการจำหน่ายกล้องฟิล์ม,ฟิล์มถ่ายภาพ โดยตรง

แต่ที่น่าสังเกตุคือ Kodak ที่ยอมเปลี่ยนตัวเองสู่ยุคกล้องดิจิทัล จะเป็นผู้สร้าง “Digital Camera” รายแรกของโลกในปี 1975 โดยวิศวกร Steve Sasson  แต่ผู้บริหารกลับปฏิเสธที่จะพัฒนาและผลิตออกจำหน่าย ด้วยเหตุผลที่ว่า Digital Camera จะทำลายตลาดกล้องฟิล์มเดิมที่ Kodak เป็นเจ้าตลาดอยู่ ณ ขณะนั้น ซึ่งถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดอย่างแรง

และในที่สุด Kodak ในวันที่กล้องฟิล์มและฟิล์ม ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด ต้องเผชิญหน้ากับภาวะใกล้ล้มละลาย ซึ่งภายหลังKodak ได้หันมาผลิตเคมีภัณฑ์ อุปกรณ์และน้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำ อุปกรณ์ทดลองทางการแพทย์ รวมไปถึงสมาร์ทโฟน ซึ่งก็ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ตั้งใจ

กระทั่งปี 2013 Kodak บริษัทที่อดีตเคยยิ่งใหญ่และทรงอิทธิพลมากที่สุดรายหนึ่งของโลก ก็เหลือเพียงชื่อและมูลค่าในตลาดที่ต่ำกว่า 1 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯเท่านั้น

สวนทางกลับคู่แข่ง อย่างFuji Photo Film ของญี่ปุ่น ซึ่งยืนยันที่จะผลิตฟิล์มจำหน่ายต่อไป แม้ว่ายอดขายจะเหลือเพียงร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมด แต่ขณะเดียวกัน Fuji ก็ให้ความสำคัญกับการต่อยอดทางธุรกิจรวมทั้งการพัฒนาไลน์โปรดักซ์ใหม่ๆ เข้ามาเสริมพร์อต ทั้งธุรกิจเครื่องถ่ายเอกสาร และกล้องดิจิทัล รวมไปถึงFUJIFILM instax ที่กำลังบูมในกลุ่มวัยรุ่นเมืองไทยขณะนี้

ซึ่ง ธนวัฒน์ เลิศวัฒนารักษ์ ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท ไอ แอม คอนซัลติ้ง จำกัด และผู้แต่งหนังสือ “มีบางอย่างผิดในธุรกิจคุณ” ได้กล่าวถึงกรณีการปรับตัว และแจ้งเกิดครั้งใหม่ของ Fuji ภายหลังจากจบงาน The Power of I AM 2017 : Something is wrong in your business อย่างน่าสนใจว่า

ในขณะที่ Kodak พัฒนาสินค้าใหม่แบบไร้ทิศทางและกำลังจะหายไป Fuji กลับทำในสิ่งที่แตกต่าง และไม่มีใครคาดคิดนั่นคือหันมามองว่าตัวเองมีอะไรที่โดดเด่น ซึ่งก็คือนักเคมี ที่มีจำนวนมากในบริษัท นักเคมีของFuji ได้ใช้ Know How เดิมที่ตนมีด้านเคมีและ Nano Technology ทำการวิจัย พัฒนาและคิดค้นโพรดักซ์ใหม่ๆ จนท้ายที่สุดก็ได้ธุรกิจใหม่และมุ่งเข้าสู่ กลุ่มธุรกิจด้านสุขภาพและความงาม

จุดเริ่มต้นของไลน์ธุรกิจความงามที่ดูเหมือนจะต่างกับธุรกิจเดิมแบบสุดขั้วนี้ เกิดจากการนำ “Antioxidant” ซึ่งเดิมถูกพัฒนาขึ้นเพื่อป้องกันรังสี Ultraviolet ไม่ให้ทำอันตรายต่อฟิล์มถ่ายรูป มาพัฒนาเป็นครีมกระปุกแรก

ก่อนจะ  ร่วมมือกับ Astalift แบรนด์ชั้นนำด้านความงามชื่อดังของญี่ปุ่น รวมไปถึงการร่วมลงทุนกับบริษัท Mitsubishi Corporation เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านชีวเวชภัณฑ์ ทั้งSkin Care ไปจนถึง Make Upเป็นการเปลี่ยนผ่านจากผู้นำด้านเทคโนโลยีภาพถ่ายและเครื่องถ่ายเอกสาร ไปสู่วงการเวชภัณฑ์ และทำให้ชื่อของ Fuji ยังคงยืนหยัดอยู่ได้ทั้งในตลาดกล้องและเครื่องสำอาง ในขณะที่ ชื่อKodak กำลังค่อยๆหายไปจากภาพจำของคนรุ่นใหม่

Kodak -Fuji Photo Film คือกรณีศึกษาที่ดีหนึ่งตัวอย่าง จากจุดเริ่มต้นที่โพรดักซ์เดียวกัน แต่ Kodak กลับเดินเข้าสู่ทางตันและจุดจบของธุรกิจ ในขณะที่ Fuji Photo Film เดินหน้าสู่ธุรกิจใหม่และยืนหยัดอยู่บนสังเวียนธุรกิจยุคใหม่ได้อย่างสง่างาม