AEC กับการทำงานยุคดิจิทัล

แม้ว่า AECจะเป็นมากกว่าการเปิดเสรีการค้าสินค้าและข้อตกลงการลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างกัน แต่ยังผู้ประกอบการทั้งรายเล็กและรายใหญ่ที่ยังไม่สามารถปรับตัวได้

แน่นอนว่าการทำงานในทุกภาคส่วนไม่อาจอยู่ในรูปแบบเดิมได้อีกต่อไป ไม่เว้นแม้แต่ฝ่าย HR เองก็ต้องทำการบ้านและปรับตัวให้เข้ากับ การทำงานยุคดิจิทัล

เรื่องของ AEC ไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป แต่เชื่อว่ายังมีอีกหลายบริษัท หลากองค์กรที่ยังไม่สามารถปรับตัวได้ หรือไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่กับการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจนี้

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกของ AEC นี้ การทำความเข้าใจและปรับกระบวนทัพ พลิกกลยุทธ์ขององค์กรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยน โดยเฉพาะในเรื่องของบุคลากร ถือเป็นฟันเฟืองชิ้นสำคัญที่จะทำให้องค์กรก้าวต่อเนื่องไปในอนาคต

Business Landscape ที่เปลี่ยนไปเมื่อประเทศไทยเข้าสู่ AEC

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) เป็นภูมิภาคที่สนใจ มีบทบาทและอำนาจต่อรองมากขึ้นในเวทีเศรษฐกิจโลกเช่นเดียวกับสหภาพยุโรป (EU) ด้วยตลาดที่มีขนาดประชากรกว่า 580 ล้านคน มากกว่าทั้งสหภาพยุโรปมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศถึง 1.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และถึงแม้จะมีขนาดเศรษฐกิจรวมกันเท่ากับเพียงเกาหลีใต้ แต่ก็เป็นแหล่งดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมกันคิดเป็นอันดับ 2 ของโลกทีเดียว

นอกจากนี้ AEC ยังเป็นมากกว่าเพียงการเปิดเสรีการค้าสินค้าและข้อตกลงการลดอัตราภาษีนำเข้าสินค้าระหว่างกัน โดยยังครอบคลุมไปถึงเรื่องข้อตกลงการเปิดเสรีด้านการค้าบริการ การลงทุน การเคลื่อนย้ายแรงงาน รวมถึงการปรับกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศุลกากร และมาตรฐานคุณภาพสินค้า
อีกทั้งยังมีส่วนของความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เช่น การสร้างเครือข่ายของ SMEs ความร่วมมือด้านการวิจัย การสร้างเครือข่ายของมหาวิทยาลัยในอาเซียนและอื่น ๆ อีกมากมาย

ภาพที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือหลายกลุ่มธุรกิจจะต้องเผชิญความท้าทายมากขึ้นจากการเปิดเสรีนี้ ซึ่งหากมองในกลุ่มธุรกิจการบริการถือเป็นหัวใจหลักของเศรษฐกิจไทยจะเห็นได้ว่า เราต้องได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนจาก 2 ส่วน คือ

การเปิดให้นักลงทุนอาเซียนมีสัดส่วนลงทุนถือหุ้นได้มากขึ้น และการเปิดเสรีเอื้ออำนวยให้แรงงานสามารถเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศในอาเซียนได้ง่ายขึ้น

การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC นอกจากจะเป็นการเปิดประตูสู่การทำธุรกิจข้ามพรมแดนที่เป็นจุดดึงดูดนักธุรกิจทั่วโลกในการจับจองโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นใหม่ แต่ยังเป็นการเปิดประตูสู่ความท้าทายทางด้านประชากรในยุคที่การทำงานปรับเข้าสู่ยุคดิจิทัล การที่โครงสร้างประชากรวัยทำงานเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และมีการไหลเวียนของทรัพยากรบุคคลข้ามพรมแดนอย่างอิสระ ทำให้เกิดความหลากลายในกลุ่มคนงาน

จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ HR ไม่สามารถทำงานเหมือนเดิมได้อีกต่อไป หากแต่ต้องปรับกระบวนทัพให้สอดคล้องกับสภาพการทำงาน และการแข่งขันที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคตนี้…

ติดตามฉบับเต็มจากคุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการบริษัท SEAC (เดิมบริษัทที่ปรึกษา เอพีเอ็ม กรุ๊ป) ได้ที่ Businessplus issue 342 ฉบับเดือนสิงหาคมเร็วๆนี้นะคะ