ฟินเทค การเงินแห่งอนาคต

ฟินเทค ไม่ใช่เรื่องใหม่อีกต่อไป แต่เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนมองข้ามไม่ได้กับเทคโนโลยีที่จะเปลี่ยนแปลงโลกการเงินในอนาคต ที่ทุกธนาคารต่างหวาดหวั่นว่า ฟินเทคจะเป็นมิตรหรือคู่แข่งธุรกิจที่น่ากลัว

การก้าวเข้ามาของฟินเทคหรือกิจการร่วมทุนด้านเทคโนโลยีการเงิน ในยุคแรกๆหรือที่คนไทยรู้จักกันดีเช่น พร้อมเพย์ ที่เข้ามาพร้อมกับธุรกิจอีคอมเมิร์ช ถือเป็นการปฎิวัติวงการการเงินสู่โรดแมปดิจิตอล นับว่าสั่นสเทือนวงการธนาคารให้ร้อนๆหนาวๆกันถ้วนหน้า

นั่นเป็นเพราะ ฟินเทคที่พัฒนาต่อยอดมาอย่างต่อเนื่อง เหล่านี้ เริ่มนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ใกล้เคียงกับธนาคารผ่านระบบดิจิตอล ทำให้ผู้ใช้จำนวนไม่น้อยหันมาใช้บริการจากฟินเทคมากขึ้นอันเนื่องมาจากความสะดวกสบายหลายด้านที่สำคัญไม่ต้องเดินทางไปที่ธนาคารเพื่อทำธุรกรรมการเงิน เป็นเหตุให้ส่วนแบ่งการตลาดถูกแย่งไปไม่น้อย

ดังนั้นไม่แปลกที่ธนาคารจะมองว่าฟินเทคเหล่านี้เป็นคู่แข่งตัวฉกาจน์และเป็นตัวอันตราต่อธุรกิจ ขณะเดียวกันก็กดดันให้ธนาคารต้องปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล พลิกโฉมธนาคารแบบเดิมๆ เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ

Exhibit 1 Global Fintech Financing Activity (2010 – 2015)

ในปี 2015 ที่ผ่านมาการลงทุนทางด้านฟินเทคทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 75% จาก 9,600 ล้านดอลลาร์เป็น 22,300 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของฟินเทคในอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีเม็ดเงินในการลงทุนใหม่ถึง 4,500 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น44%  รวมเป็น14800ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งส่วนใหญ่ยังกระจุกตัวอยู่ในสหรัฐอเมริกาด้วยจำนวนดีล 667 ดีล เพิ่มขึ้น 16% โดยในระยะ6ปีที่ผ่านมาเม็ดเงินที่จะเข้าไปลงทุนฟินเทคในอเมริกาเหนือพุ่งพรวดจาก 40% เป็น 60%

Collaborative Fintech Investments vs. Competitive Fintech Investments

แต่ในขณะเดียวกันทางฝั่งยุโรปเงินลงทุนส่วนใหญ่กลับไปลงกับกิจการนวัตกรรมที่จะพลิกอุตสาหกรรมแบบเดี่ยวๆ เพิ่มขึ้น86%ของการลงทุนฟินเทคในปี 2558 จาก 62% ในปี 2553  และในช่วง2ปีที่ผ่านมา (2557-2558) มีการลงทุนด้านฟินเทคเพิ่มขึ้นถึง2เท่าหรือ 120%มีจำนวนดีลเพิ่มขึ้น51%  และในเยอรมันมีสัดส่วนการลงทุนในฟินเทคเพิ่มขึ้นถึง 843%ในช่วงเดียวกัน

ฟินเท็ค การเงิน

ซึ่งจำนวนดีลใหญ่ๆมูลค่าสูง ก็เพิ่มจำนวนขึ้นมาก โดยในปี 2558 มีดีลฟินเทคมูลค่ามากกว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐ จำนวน 94 ดีลทั่วโลกเทียบกับปี 2557 ที่มีดีลจำนวน 52 ดีล และปี 2556 จำนวน 15 ดีลเท่านั้น

ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2559 นี้ การลงทุนในฟินเทคมีมูลค่าสูงถึง 5,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น67%จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะการลงทุนในธุรกิจฟินเทคแถบยุโรปและเอเชียแปซิฟิก เพิ่มขึ้นเกือบ2เท่าเป็น 62%

หากมองไปรอบๆ บ้านเราอย่างเอเชียแปซิฟิค (APAC )ซึ่งเป็นภูมิภาคที่มีการเติบโตทางด้านฟินเทคสูงที่สุดในโลก เม็ดเงินลงทุนแพร่สะพัดกว่า 4,300 ล้านดอลลาร์หรือ 19% ของเงินลงทุนในฟินเทคทั่วโลก โดยเฉพาะตลาดฟินเทคในจีนที่ขยายตัวสูงสุด 445% มูลค่าแตะ 2,000 ล้านดอลลาร์ รองลงมาคืออินเดีย มีมูลค่าถึง1650ล้านดอลลาร์ เยอรมันนี 770 ล้านดอลลาร์ และไอร์แลนด์ 631 ล้านดอลลาร์

ภายในไตรมาสแรกปี 2559  APACมีการลงทุนด้านฟินเทคพุ่งถึง 517% หรือ 2,700ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งก็เป็นผลมาจากการขยายตัวการลงทุนฟินเทคในประเทศจีนนั่นเอง โดยเม็ดเงินลงทุนในAPACมากกว่า50% ในไตรมาสแรกนี้มีอัตราเติบโต47%จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีว่าปี2559นี้จะเป็นปีที่ดีของอุตสาหกรรมนี้ในภูมิภาค

เกมส์เปลี่ยน

fintech
นนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการประจำ เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย

งานวิจัยของเอคเซนเชอร์ที่เปิดเผยโดย นนทวัฒน์ พุ่มชูศรี กรรมการผู้จัดการประจำ เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย ระบุว่าApacเติบโตในเรื่องของ Payments  Lending และ  wealth management แต่หลักๆอยู่ที่ Payments ขณะเดียวกันความเคลื่อนไหวของธนาคารกลับมีส่วนร่วมในการลงทุนด้านฟินเทคน้อยมาก โดยร่วมลงทุนเพียง 5,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จากยอดลงทุนรวม 22,300 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับมูลค่าการลงทุนด้านฟินเทคภายในธนาคารเอง ซึ่งประเมิณว่ามีมูลค่าราว 50,000-70,000 ล้านเหรียญสหรัฐในแต่ละปี

กลับมาที่ความสัมพันธ์ระหว่างแบงค์กับฟินเทค หากมองย้อนไปในช่วงแรกเริ่มที่ฟินเทคเริ่มเข้ามา ธนาคารพาณิชน์ทั้งหลายต่างกลัวว่าฟินเทคจะเข้ามาเป็นคู่แข่ง  แต่หากมองภาพวันนี้ ฟินเทคกลับมองหาโอกาสในการทำงานร่วมกับธนาคาร มากกว่าจะเข้ามาเป็นคู่แข่งกับธนาคาร

โดยตัวเลขที่บ่งชี้ถึงเกมส์ที่เปลี่ยนครั้งนี้จะเห็นว่าในปี2014ฟินเทคเข้ามาในตลาดในฐานะคู่แข่งของธนาคารมีสัดส่วนถึง 71% ขณะที่ปี 2015 ลดลงเหลือเพียง 56% ขณะที่ฟิคเทคที่หวังเป็นพันธมิตรกับธนาคารเพิ่มขึ้นเป็น 44% จากปีก่อนที่มี 29%

เพราะอะไรจากคู่แข่งตัวอันตรายถึงหันมาร่วมมือกัน นั่นเป็นเพราะว่า กฎระเบียบของธนาคารที่เข้มงวดกว่าทำให้ฟินเทคที่จะเข้ามาแข่งขันเข้ามายาก แต่การทำงานร่วมกับธนาคารเป็นโอกาสทางธุรกิจที่ดีกว่า ขณะเดียวกันก็ทำให้ธนาคารมีความสนใจที่จะลงทุนในฟินเทคมากขึ้นเช่นกัน

อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ WIN-WINทั้งคู่คือ ธนาคารมีฐานลูกค้าจำนวนมากเป็นทุนเดิม ซึ่งฟินเทคเองไม่ได้ต้องการเงินทุนจากธนาคารแต่เป็นเรื่องอื่นๆที่นอกเหนือจากเงินพูดง่ายๆคือต้องการลูกค้าของธนาคารมากกว่า  ขณะเดียวกันธนาคารเองธุรกิจหลักคือเงินอยู่แล้วเพราะฉนั้นการลงทุนของธนาคารในฟินเทคเป็นการลงทุนเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่ไม่ใช่เงิน แต่เป็นไปในแง่กลยุทธิ์มากกว่า  ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนเพื่อเรียนรู้เทคโนโลยี เรียนรู้ Counture ของฟินเทค ในการที่จะปรับปรุง องค์กรของตัวเองหรืออะไรก็แล้วแต่ ซึ่งธนาคารในเมืองไทยก็ไม่ได้มองเฉพาะฟินเทคในไทย แต่มองภาพที่ใหญ่กว่านั้น นั่นคือฟินเทคที่ไหนก็ได้ในโลก

อีกมุมหนึ่งในการร่วมมือครั้งนี้ คือการที่ธนาคารมองว่าฟินเทคเป็นอีกช่องทางในการที่ลูกค้าจะเข้าถึงบริการของธนาคาร เพราะทุกธนาคารให้ความสำคัญกับ Custumer Experience อยู่แล้ว ทั้งเรื่องของความสะดวกที่จะเข้าถึงบริการของธนาคาร

ตัวเลขที่น่าสนใจอีกอันหนึ่งคือ ธนาคารลงทุนในเทคโนโลยีประมาณ 50 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ แต่มีเพียงแค่ 10%เท่านั้นที่ลงทุนในฟินเทค ขณะที่ 90% ยังเป็นการลงทุนแบบเดิมๆ คือการซื้อเทคโนโลยีแบบเดิมเพื่อเพิ่มผลิตภัณฑ์และบริการ แต่การที่ธนาคารเข้ามาลงทุนในเรื่องของฟินเทคเอง ถ้าเทียบเป็นอัตราส่วนแล้วยังถือว่าน้อยมาก คือ 5 ล้าน จาก 50 ล้านดอลลาร์  เพราะถ้ามองภาพของฟินเทคอินเวสเมนต์ ทั้งหมด ทั่วโลก 22 ล้านเหรียญสหรัฐ มาจากธนาคารแค่ 5% ที่เหลือคืออินเวสเตอร์ เวนเจอร์แคปปิตอล และอื่นๆที่ไม่ใช่ธนาคาร

อีกหนึ่งปัจจัยที่ธนาคารใช้เงินลงทุนเพียง 5% ในฟินเทคเพราะธนาคารเป็นธุรกิจที่บริหารความเสี่ยง ดังนั้นธนาคารต้องการความมั่นใจระดับหนึ่งในการลงทุน  ซึ่งในอัตราส่วนบริษัทฟินเทคที่จะเติบโตจริงๆจังๆมีไม่มาก  นั่นคือเหตุผลที่ทำไมหลายๆธนาคารต้องมีการตั้งบริษัทลูกแยกขึ้นมา มีการอโลเคสเงิน เพื่อความคล่องตัวในการตัดสินใจมากขึ้น

เทรนด์โลกเปลี่ยน

ขณะที่ประเทศไทยและเอเชียแปซิฟิกกำลังเติบโตเรื่องของ Payments  Lending และ wealth management แต่ในตลาดหลักอย่างอเมริกาเหนือ กำลังพูดถึงบลอคเชนและความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมทั้งฟินเทคด้านประกันภัยที่มีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น ซึ่งตอนนี้สิ่งที่ธนาคารกำลังกลัวไม่ใช่เรื่องของเพย์เมนต์แต่เป็นเรื่องบลอคเชน แม้ว่าธนาคารจะกลัวบลอคเชนแต่ก็พยายามเรียนรู้และใช้มัน

ในปีที่ผ่านมาดีลการลงทุนในฟินเทคก้านการชำระเงินกว่า 40% สินเชื่อ 24% การบริหารความมั่งคั่ง 16% ความเสี่ยงและความปลอดภัย 2% ประกันภัย 2% อื่นๆ 16%

ทั้งนี้เชื่อว่าบลอคเชน ความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมทั้งฟินเทคด้านประกันภัย จะเข้ามีบทบาทในอนาคตอย่างแน่นอนแม้ว่าในปัจจุบันจะมีขนาดเล็กและเติบโตในตัวเลขหลักเดียวก็ตาม

จะเห็นว่านวัตกรรมใหม่ๆด้านฟินเทคที่เกิดขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่เพียงการรวมตัวเป็นฮับทางเทคโนโลยีแบบเดิมๆอีกต่อไป แต่รวมไปถึงด้านโรโบติกส์ ระบบบลอคเชน และInternet of ting ซึ่งหลายๆบริษัทก็ไม่ได้มีการลงทุนฟินเทคตามกระแส แต่ลงทุนเพื่อการพัฒนาประสิทธิภาพเพื่อสร้างรายได้ใหม่ๆและกระจายไปตามอุตสาหกรรมต่างๆ แทน นั่นเป็นเพราะเจ้าของธุรกิจต่างกังวลว่า หากไม่ดำเนินการอย่างรัดกุม อาจกลายเป็นช่องว่างให้คู่แข่งเข้ามาตีตลาดได้