Fi Asia บทพิสูจน์ของนวัตกรรมเพิ่มมูลค่าการส่งออก

“ฟู้ดอินกรีเดียนท์เอเชีย”หรือ Fi Asia บทพิสูจน์ของนวัตกรรมเพิ่มมูลค่าการส่งออก ก้าวแรกของครัวโลกสู่ Food Innovation hub

สถานการณ์ราคาพืชผลทางการเกษตรจะยังอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง แน่นอนว่าเมื่อพืชผลทางการเกษตรราคาตกต่ำ ย่อมส่งผลต่อการส่งออกของไทยด้วย เพราะที่ผ่านมาจนถึงปัจุบัน ภาคการส่งออกของไทยยังคงพึ่งพาการส่งออกสินค้าเกษตรเป็นส่วนใหญ่

 

แม้ว่าไทยจะยังรักษาระดับการเติบโตได้และคาดว่าปีนี้มีมูลค่าการส่งออกกว่า 900000ล้านบาทก็ตาม แต่สิ่งที่น่ากังวลประเทศไทยยังคงเน้นการส่งออกในเชิงปริมาณเป็นหลัก ผลที่ตามมาคือไทยต้องส่งออกในปริมาณที่มากแต่มูลค่าน้อย ขณะที่การแข่งขันทางด้านปริมาณกำลังถูกคู่แข่งอย่าง “เวียดนาม” ที่กำลังถูกจับตามองเป็นอย่างมาก เพราะเวียดนามกำลังเร่งฝีเท้าและพัฒนาสินค้าส่งออก Commodity ที่เน้นเชิงปริมาณ ตีคู่ขึ้นมารวดเร็ว และด้วยความได้เปรียบทั้งการเป็นฐานกำลังการผลิตที่สำคัญของจีน และไต้หวัน รวมทั้งสัญญาการค้าที่เสรีกว่าไทย ทั้งนี้เวียดนามมีสัญญาการค้าเสรีในมือถึง 17 ฉบับ ขณะที่ไทยมีสัญญาการค้าเสรีเพียง 6 ฉบับเท่านั้น

 

“ฟู้ดอินกรีเดียนท์เอเชีย”หรือ  Fi Asia

แน่นอนว่าถ้าหากไทยยังคงมุ่งเน้นการส่งออกเชิงปริมาณเช่นที่ผ่านมา ในอนาคตอันใกล้ สถานการส่งออกของไทยจะต้องตกที่นั่งลำบากและตกเป็นรองเวียดนามอย่างแน่นอน ทางออกเดียวสำหรับประเทศไทยคือการเปลี่ยนรูปแบบการส่งออกที่เน้นปริมาณเป็นการส่งออกที่เน้นมูลค่า หรือส่งออกสินค้าเชิงนวัตกรรมเช่นเดียวสิงคโปร์ ซึ่งจะทำให้ไทยส่งออกสินค้าในปริมาณที่ลดลงแต่มูลค่าสูงขึ้น

 

คำถามคือประเทศไทยควรจะหันมาพัฒนาสินค้าส่งออกในรูปแบบใด ซึ่งเมื่อย้อนมาดูสัดส่วนการส่งออกที่สำคัญของไทยจากรายงานของฝ่ายวิจัยและข้อมูล สถาบันอาหาร จะเห็นว่า จากรายการสินค้าส่งออกหลักทั้ง 8 รายการคือ ข้าว น้ำตาล ไก่ กุ้ง ปลาทูน่ากระป๋อง แป้งมันสำปะหลัง และเครื่องปรุงรส พบว่า

สินค้าส่งออกที่มีปริมาณและมูลค่าส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น คือ น้ำตาลทราย ไก่ และเครื่องปรุงรส
สินค้าส่งออกที่มีปริมาณขยายตัวแต่มูลค่าลดลงคือ กุ้ง
สินค้าส่งออกที่มีปริมาณส่งออกลดลงแต่มูลค่าเพิ่มขึ้นคือ สัปรดกระป๋อง และแป้งมันสำปะหลัง
สินค้าส่งออกที่มีปริมาณและมูลค่าหดตัวลดลงคือ ข้าวและปลาทูน่ากระป๋อง

“ฟู้ดอินกรีเดียนท์เอเชีย”หรือ  Fi Asia
รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการภูมิภาคอาเซียน บริษัท ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย)

 

รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการภูมิภาคอาเซียน บริษัท ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) ในฐานะผู้จัดงาน

“ฟู้ดอินกรีเดียนท์เอเชีย 2017” งานแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรม ส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่มระดับเอเชีย เปิดเผยว่า ตลาดส่งออกของไทยหลักเริ่มเปลี่ยนจากญี่ปุ่น มาเป็นตลาดใน “อาเซียน” ซึ่งทุกประเทศต่างมีพื้นเพวัตถุดิบและพืชผลทางการเกษตรที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้นประเทศไทยจะส่งออกแบบเดิมไม่ได้ แต่ต้องนำเอานวัตกรรมเข้ามาพัฒนาและแปรรูปสินค้าแทนและส่งออกในเชิงมูลค่าแทนการส่งออกที่เน้นปริมาณ

 

“ ในฐานะที่ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมนี้การเอานวัตกรรมมาช่วยเพิ่มมูลค่าเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน ซึ่งเห็นได้จากสิงที่เกิดในงาน “ฟู้ดอินกรีเดียนท์เอเชีย”หรือ Fi Asia ที่ผ่านมาของเรา ที่ผ่านมาผู้ประกอบการส่วนใหญ่มาจากยุโรป โดยนำเข้าวัตถุดิบพื้นฐานจากเราก่อนจะนำเข้ากระบวนการผลิตโดยน้ำนวัตกรรมเข้ามาช่วยแล้วส่งสินค้ากลับเข้ามาขายในบ้านเราในมูลค่าที่สูงกว่า เช่นนำน้ำมันปาล์มจากไทยและมาเลเซีย กลับไปเข้าผ่านกระบวนการต่างๆ สกัดเป็นอิมัลติไฟเออร์ หรือในรูปแบบผงเพื่อใช้ผสมในอาหารแล้วส่งกลับมาขายให้เราในราคาที่เพิ่มขึ้นกว่า 100เท่าก็มี ดังนั้นเราเชื่อว่านวัตกรรมช่วยได้แต่การที่จะทำให้เมืองไทยไปถึงจุดนั้น จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาช่วยพัฒนา แต่ปัจุบันเรานำเข้า“ส่วนผสมอาหาร” ซะส่วนใหญ่

 

และที่สำคัญคือ สินค้าจะไม่ถูกนำไปใช้ ถ้าไม่เกิดการทดลอง ดังนั้นงาน “ฟู้ดอินกรีเดียนท์เอเชีย”หรือ Fi Asia จึงเปรียบเสมือนตัวกลางที่ทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาเจอกัน นอกจากนี้เรายังได้เห็นการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวของผู้ประกอบการไทย เพราะหลังๆมาจะเห็นผู้ประกอบการ อินกรีเดียนท์ แบรนด์ไทยมาออกงานมากขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการฝั่งยุโรปน้อยลง นี่เป็นสัญญาณที่ดี ซึ่งสอดคล้องกับวิชั่นใหม่ของรัฐบาลที่ต้องการยกระดับประเทศไทยจากครัวของโลกสู่การเป็น Food Innovation hub ”

“ฟู้ดอินกรีเดียนท์เอเชีย”หรือ  Fi Asia

จากคำกล่าวของ รุ้งเพชร ชี้ให้เห็นว่างาน “ฟู้ดอินกรีเดียนท์เอเชีย”หรือ Fi Asia จะเป็นบทพิสูจน์ที่ชี้ให้เห็นชัดว่า นวัตกรรมมีความสำคัญในการเพิ่มมูลค่าให้สินค้าส่งออกได้อย่างมหาศาลแม้จะส่งออกในปริมาณที่น้อยลงก็ตาม

 

รุ้งเพชร กล่าวเสริมอีกว่า ตลาด CLMV ได้ขยับอันดับขึ้นมาเป็นตลาดส่งออกอาหารอันดับ 1 ของไทย ด้วยสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 15.2 แซงหน้าตลาดญี่ปุ่นที่มีสัดส่วนส่งออกร้อยละ 13.9 โดยถือว่า CLMV และ CLMV+3 คือตลาดที่มีศักยภาพและมีแนวโน้มความต้องการอาหารไทยเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกลุ่มสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ และเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน คือ อาหารพร้อมรับประทาน ของขบเคี้ยว และเครื่องปรุงรส

 

และเพื่อเป็นการสนับสนุนและเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารของไทยได้พัฒนาศักยภาพ อัพเดตข้อมูลอุตสาหกรรมอาหาร และเจรจาธุรกิจในระดับนานาชาติ ยูบีเอ็ม เอเชีย (ประเทศไทย) จึงได้จัดงานฟู้ดอินกรีเดียนท์เอเชีย 2017 หรือ งานแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรม ส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชีย ขึ้นในระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน 2560

 

 

โดยในครั้งนี้ เป็นการจัดงานครั้งที่ 22 หลังจากประสบผลสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่จากกรุงจากาตาร์ อินโดนีเซีย เมื่อปีที่แล้ว ถือเป็นการจัดงานสลับกันในระหว่างประเทศที่ตั้งเป้าเป็นครัวโลกกับประเทศที่มีตลาดและผู้บริโภคจำนวนมากที่สุด ซึ่งในปีนี้ มีผู้ตอบรับเข้าร่วมแสดงงานแล้วกว่า 700 ราย จาก 56 ประเทศทั่วโลก และคาดหวังผู้เข้าชมงานกว่า 17,000 ราย โดยงานนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้ประกอบการไทยที่มีแผนจะพัฒนาต่อยอดธุรกิจ หรือต้องการสร้างคู่ค้าระดับนานาชาติ

“ฟู้ดอินกรีเดียนท์เอเชีย”หรือ  Fi Asia

สำหรับไฮไลท์ของงาน Fi Asia จะมุ่งเน้นการนำเสนอนวัตกรรมในการใช้ส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่มเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการให้เกิดมูลค่ามากยิ่งขึ้น ทั้งการจัด Innovation Zone โซนจัดแสดงนวัตกรรมส่วนผสมอาหารและเครื่องดื่มจากเทรนด์อาหารที่น่าสนใจ การประกาศผลการประกวดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มให้กับผู้ประกอบการสตาร์ทอัพ การจัดสัมมนาวิชาการนานาชาติในหัวข้อการพัฒนานวัตกรรมส่วนผสมอาหารสำหรับสังคมผู้สูงอายุ พร้อมด้วยหัวข้ออื่นๆ ที่น่าสนใจ