Cover

สแกนอาเชียน37% พร้อมซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเป็นรถคันต่อไป แม้ความเข้าใจและความเชื่อใจจะยังไม่นิ่ง

“รถยนต์ไฟฟ้า ทางเลือกเพื่อแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ”  วลีคลาสสิคที่ทำให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมด้านยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อตอบสนองผู้บริโภคในประเทศต่างๆ ที่เริ่มแสวงหา

Read More »

ชนกันด้วย“เรตติ้ง” ตัวชี้ขาดราคาหุ้นทีวีดิจิทัล

ผ่านมา 4 ปี ภาพรวมของ “ทีวีดิจิทัล” ยังคงอยู่ในวังวนทรงกับทรุด บางรายถึงกับถอดใจขอคืนใบอนุญาตไปเรียบร้อย เพราะรายได้จากเม็ดเงินโฆษณาไม่เป็นไปตามคาดหวัง สวนทางกับรายจ่ายที่พุ่งอย่างต่อเนื่อง ทั้งรายจ่ายค่าผลิตรายการ ค่าบุคลากร และค่าลิขสิทธ์คอนเทนต์ ยิ่งไปกว่านั้น ยังต้องมีภาระการจ่ายค่าใบอนุญาต และค่าเช่าโครงข่าย (MUX) ที่ถือว่าเป็น Fix Cost ก้อนโตที่ต้องจ่ายอีกจำนวนไม่น้อย

Read More »

ตลาด Co-Working Space โตไม่หยุด แสนสิริ ผนึก JustCo ร่วมชิงเค้ก

กลายเป็นอีกหนึ่งสมรภูมิที่น่าจับตามองสำหรับตลาดโคเวิร์คกิ้งสเปซ (Co-Working Space) แม้ว่าในปัจจุบันจะยังไม่มีตัวเลขมูลค่าตลาดชัดเจนมากนัก แต่ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา กำลังเป็นเทรนด์ใหม่มาแรงในประเทศไทย จากที่เริ่,ให้บริการเพียงไม่กี่แห่ง มาวันนี้มี Co-Working Space เปิดให้บริการไม่ต่ำกว่า 100 แห่งแล้ว และที่สำคัญแต่ละรายล้วนเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่พร้อมใจลงมาแข่งในสนามนี้ทั้งสิ้น แม้กระทั่งยักษ์อสังหาริมทรัพย์อย่าง “แสนสิริ” ยังขอกระโดดเข้ามาชิมลางในตลาดนี้ด้วย โดยล่าสุดจับมือ “JustCo” ผุด Co-Working Space สาขาแรกขึ้น พร้อมชูจุดขายสาขาที่ใหญ่ที่สุดในไทย และยังวางเป้าหมายเปิดอีก 100 สาขาทั่วเอเชียในปี 2563 กันเลยทีเดียว เป็นที่ทราบกันดีในวงการอสังหาริมทรัพย์ว่า “แสนสิริ” นั้น ครองความเป็นผู้นำในตลาดระดับบนเอาไว้อย่างเหนียวแน่น แต่จากทิศทางการขยายตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่มีการเติบโตแบบไม่สูงมากนัก ขณะที่เป้าหมายของแสนสิริในปีนี้ ต้องการเติบโตสูงกว่าอุตสาหกรรมอสังหาฯ ทำให้ลำพังการเติบในธุรกิจหลักคงไม่เพียงพอ และจำต้องมองหาโอกาสไหม่จากการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจหลักของแสนสิริยิ่งขึ้น อภิชาติ จูตระกูล ประธานอำนวยการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) บอกว่า การเปิดตัวโคเวิร์คกิ้งสเปซ …

Read More »

ถอดสูตร ‘MONO29’ จากผู้เล่น ‘โนเนม’ ก้าวสู่ ‘บิ๊กเนม’

กว่า 4 ปีที่แล้วที่ชื่อของ MONO29 ปรากฏขึ้นในสนามทีวีดิจิทัล พร้อมประกาศเป้าหมายชัดเจนว่าภายใน 3 ปี จะก้าวขึ้นมาเป็น TOP 5 แน่นอน ตอนนั้นทุกสายตามองตรงกันว่าช่างหาญกล้าเพราะไม่มีทางเป็นไปได้แน่ !!

Read More »

OTT TV แพลตฟร์อมดาวรุ่ง ภัยคุกคามของนายทุนทีวีดิจิทัล??

การอยู่รอดของผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้อมูลข่าวสารในศตวรรษที่21นี้ตัวตัดสินชี้ขาดอาจะอยู่ที่ตัวคอนเทนต์ (Content) ที่สามารถสื่อความออกมาได้ดี ในจังหวะเวลาที่เหมาะสมด้วย

Read More »

สมรภูมิวิดีโอสตรีมมิ่งไทย… ร้อนฉ่า เมื่อ Viu ผนึก GMM 25 ท้าชนขาใหญ่

นับเป็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญของวงการวิดีโอสตรีมมิ่งไทยที่ต้องจับตามองกันให้ดี เมื่อยักษ์ผู้ให้บริการสตรีมมิ่งรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียอย่าง “Viu” ประกาศผนึกกำลังกับ “GMM Channel” รุกเสิร์ฟคอนเทนต์ไทยที่คัดสรรเป็นพิเศษจากช่อง GMM 25 ลงจอแบบเอ็กซ์คลูซีฟถึง 200 ชั่วโมง หวังขยายฐานผู้ชมสู้ศึกในตลาดวิดีโอสตรีมมิ่งเต็มสูบ พร้อมย้ำก้าวต่อไปจากนี้ของ Viu จะเดินหน้าลุยขยายฐานผู้ใช้งานให้เติบโตมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นปีทองของตลาด VDO แบบ On Demand หรือ OTTของไทย ซึ่งเป็นผลพวงมาจากตัวเลขการใช้งานโทรศัพท์มือถือและความเร็วของบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ต รวมถึงพฤติกรรมการรับชมคอนเทนต์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป โดยหันมาเสพคอนเทนต์ในรูปแบบวิดีโอบนโลกออนไลน์ตามความชื่นชอบ ทำให้ภาพรวมตลาด OTT ในไทยมีการเติบโตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และส่งผลให้การแข่งขันของตลาดนี้ร้อนแรงขึ้นเช่นกัน โดยในปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าผู้เล่นรายใหญ่ทยอยเปิดศึกในตลาดนี้กันอย่างคึกคัก เริ่มตั้งแต่ Nexflix, Line TV และ YouTube รวมถึงน้องใหม่อย่าง Viu ซึ่งเป็นผู้ให้บริการคอนเทนต์ที่อยู่ภายใต้การบริหารของ PCCW จากฮ่องกงที่เน้นความบันเทิงเอเชียเป็นหลัก “เราวางตัวเองชัดเจนในการเป็น Asian Entertainment โดยเลือกเปิดตลาดด้วยซีรี่ส์เกาหลี …

Read More »

ยกระดับธุรกิจสู่ความสำเร็จในยุคดิจิทัล กับงานสัมมนา VALUE CREATION THROUGH DIGITAL TRANSFORMATION ที่ผู้บริหารไม่ควรพลาด!!

งานสัมมนาครั้งใหญ่สำหรับผู้บริหารโดยเฉพาะ โดยครั้งนี้ นิตยสาร Business+ จัดใหญ่ เอาใจผู้บริหารระดับสูงกันเลยทีเดียว กับงานสัมมนา VALUE CREATION THROUGH DIGITAL TRANSFORMATION “ยกระดับขับเคลื่อนธุรกิจ สู่ความสำเร็จในยุคดิจิทัล” โดยมีวิทยากรมากความสามารถในด้านต่าง ๆ มากมาย สัมมนา จัดวันที่ 22 พฤษภาคม 2561 เวลา 09.00-13.00 น. ที่ Pimarn Siam ชั้น 29 The Athenee Hotel Bangkok รับจำนวนจำกัด!! สนใจติดต่อและลงทะเบียนได้ที่ Ketsarin 094-662-4549

Read More »

วัฒนธรรมการศึกษา 4.0 เรียนตาม passion หรือตามที่ผู้ใหญ่สบายใจ

ไทยแลนด์ 4.0 ต้องการคนรุ่นใหม่ที่มี “passion” และพลังสร้างสรรค์ แต่เรายังมีวัฒนธรรมการเลือกสาขาตามความนิยมของผู้ใหญ่ ไม่ใช่ตามความชอบหรือความสนใจของเด็ก หรืออาจเพราะเด็กไทยไม่มีความชอบหรือความสนใจในอะไรเลย? รวมทั้งค่านิยมเก่าก็ยังหนาแน่นในหลายพื้นที่ เช่น พ่อแม่อยากให้ลูกเรียนสายสังคมเพื่อเป็นข้าราชการ เป็นเจ้าคนนายคน ไม่ได้เห็นว่าหัวใจของการศึกษาควรเป็นไปเพื่อการพัฒนาศักยภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งสุดท้ายย่อมนำไปสู่พลังการสร้างสรรค์อย่างเสรีในระบบเศรษฐกิจด้วย หรือที่เราอาจหาเด็กที่อยากเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ได้ เพราะเรามีเด็กเก่งวิทยาศาสตร์อยู่น้อยมากในชั้นมัธยมฯ? ดังนั้น การแก้ปัญหาการขาดบุคลากรทางวิทยาศาสตร์ของไทยจึงไม่ใช่เพียงแค่กำหนดให้มหาวิทยาลัยผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น แต่ต้องดูถึงการส่งเสริมการเรียนการสอนและการพัฒนาวิธีคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์ในการศึกษาภาคบังคับด้วย เราต่างอยากเป็นคนมีวิสัยทัศน์ (จะได้รู้ว่าจะแนะนำให้ลูกเรียนอะไร) เราต่างอยากให้ประเทศมีวิสัยทัศน์ (จะได้กำหนดสาขาให้เด็กไทยเรียน พาประเทศไปไทยแลนด์ 4.0 ได้เสียที) แต่การศึกษาไม่ใช่เรื่องผลิตคนป้อนตลาดแรงงานแต่เพียงเท่านั้น หัวใจของการศึกษา คือ การพัฒนาคนให้บรรลุศักยภาพและพลังสร้างสรรค์ที่เขาและเธอมี ถ้าเราเข้าใจการศึกษาในแนวทางนี้ เราก็จะต้องพยายามเพาะความรัก ความสนใจ และไฟฝันให้แก่เด็กตั้งแต่ยังเล็ก (ไม่ว่าเขาและเธอจะสนใจสาขาใดก็ตาม) เราต้องแนะนำเด็กว่าหัวใจของการศึกษาอยู่ที่ทักษะ วิธีคิด และการเรียนรู้ไม่สิ้นสุด เพื่อเขาจะได้มีโอกาสใช้ศักยภาพในทางสร้างสรรค์ และสร้างคุณค่าให้กับระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศตามฝันไทยแลนด์ 4.0 ยิ่งในโลกยุคใหม่ เราไม่มีทางรู้ว่า ตลาดแรงงานในอนาคตจะเป็นอย่างไร? งานไหนจะหด งานไหนจะหาย งานใหม่จะหน้าตาเป็นอย่างไร? คำถามจึงไม่ใช่ว่าทำอย่างไรเราจะได้บัณฑิตวิทยาศาสตร์แทนสายสังคม? ไม่ใช่ทำอย่างไรเราจะส่งเสริมบัณฑิตในสาขาใหม่ตามวิสัยทัศน์ในยุทธศาสตร์ชาติแทนที่สาขาดั้งเดิม? คำถามที่ถูกต้อง …

Read More »
เทรนด์คณะยอดฮิต ปี 61

เทรนด์คณะยอดฮิต ปี 61 อุตสาหกรรมมาแรง

เทรนด์คณะยอดฮิต ปี 61 อุตสาหกรรม ตามมาด้วย วิศวะ-ทันตะ-พยาบาล เมื่อยุคสมัยได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา นอกจากจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์แล้ว อีกหนึ่งเรื่องที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเช่นกันก็คือ การเลือกศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของเด็กๆ ยุคใหม่ ที่ได้มีการเปลี่ยนเทรนด์ไปเรื่อยๆ โดยในปี 2561 นี้ คณะที่มาแรงที่สุดคือ คณะทางด้านภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ตามมาด้วย คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์ ฯลฯ วิศวะโยธา สาขาวิชามาแรง ปี 61 โดยเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2561 ที่ผ่านมา นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้เปิดเผยว่า จากการวิเคราะห์เทรนด์การเลือกเข้าเรียนต่อในสถาบันอุดมศึกษาของนักเรียนในปีการศึกษา 2561 นั้น ผู้ปกครองยังคงมีอิทธิพลต่อการเลือกเรียนของนักเรียนอนยู่ค่อนข้างมากเลยทีเดียว โดยที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ยังมีค่านิยมให้ลูกๆ เลือกเรียนในคณะ/สาขาวิชาที่มีงานทำแน่นอนและที่สำคัญต้องเป็นอาชีพที่มีรายได้ดีอีกด้วย ดังนั้น สาขาทางด้านอุตสาหกรรมต่างๆ จึงได้รับความนิยมค่อนข้างมากเพราะมีเงินเดือนที่สูง ตามมาด้วยวิศวกรรมเคมี วิศวกรรมไฟฟ้า …

Read More »
ปิดหลักสูตร

สถาบันอุดมศึกษาไทย ตกที่นั่งลำบาก มีโอกาสปิดหลักสูตร-แนวโน้มปิดตัวสูงขึ้น

ในแวดวงการศึกษาไทย คงพอได้ยินกันมาสักพักแล้วว่ามีจำนวนนักศึกษาใหม่เข้าเรียนลดลงกว่าเดิม แถมอุดมศึกษาบางแห่งยังประสบปัญหาจากบุคลากรที่ไม่ยอมปรับตัว ทำให้ในหลายสถาบันมีการปิดหลักสูตรบางหลักสูตรลง หรือเลวร้ายกว่านั้นคือปิดตัวไปเลยเช่น มหาวิทยาลัยสวนดุสิตเพิ่งประกาศปิดหลัดสูตรไปแล้วกว่า 60 หลักสูตรเพราะไม่มีคนเรียน ซึ่งหากไม่มีการปรับปรุงหลักสูตรหรือวิธีการสอนใหม่ มหาวิทยาลัยในประเทศมีแนวโน้มที่จะปิดตัวเพิ่มมากขึ้น เหมือนอย่างที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาขณะนี้ ที่สถาบันอุดมศึกษาปิดตัวไปแล้ว 500 แห่ง และเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2,000 แห่งในช่วง 10 ปีข้างหน้า ศ.นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง “นโยบายการศึกษาไทย ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 4.0” เน้นย้ำการทำหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษาในฐานะผู้ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ และสร้างองค์ความรู้ทางงานวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ มหาวิทยาลัยไทยยังได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยีการสื่อสารการมีหลักสูตรออนไลน์และการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศ ดังนั้นทิศทางการทำงานของสถาบันอุดมศึกษาจึงต้องเน้นการบูรณาการเรียนใหม่ ไม่เน้นเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง แต่ต้องเรียนรวมเชื่อมกับคณะอื่นได้ ซึ่งในปีการศึกษา 2561 นี้ กระทรวงศึกษาธิการจะทำงานร่วมกับ 7 มหาวิทยาลัยนำร่องในการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ โดยมีแรงจูงใจเป็นเงินอุดหนุนให้แก่สถาบัน ทั้งนี้ นอกจากการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพแล้ว สิ่งที่สถาบันอุดมศึกษาต้องทำคือการพัฒนางานวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้เพื่อมาพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการของประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งได้ถูกบรรจุให้เป็นหน้าที่ของสถาบันในพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ.ที่กำลังร่างอยู่ในขณะนี้ ที่มา prachachat.net

Read More »