อุตสาหกรรมยานยนต์และการเงินจ่ายผลตอบแทนโบนัสสูงสุดในปี 2559

jobsDB เผยรายงานผลการจ่ายโบนัสในประเทศไทย ประจำปี 2559 พบอุตสาหกรรมยานยนต์และบริการด้านการเงินเป็นอุตสาหกรรมที่จ่ายโบนัสสูงสุด ทั้งโบนัสแบบการันตีและแบบพิจารณาตามผลงาน

 

  • ระดับตำแหน่งงาน กลุ่มอุตสาหกรรมและพฤติกรรม เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการจ่ายโบนัส
  • อุตสาหกรรมยานยนต์และบริการด้านการเงินเป็นอุตสาหกรรมที่จ่ายโบนัสสูงสุด
  • ผลการจ่ายโบนัสในประเทศไทย ประจำปี 2559มีนัยยะไม่แตกต่างจากปี 2558
  • ผู้หางานและพนักงาน รตัดสินใจเลือกทำงานในองค์กรจากการการันตรีผลโบนัส

 

 

โบนัส

 

นพวรรณ จุลกนิษฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย)กล่าวว่า”ผลสำรวจระบุว่า พนักงานระดับปฏิบัติการ และระดับหัวหน้างาน ได้รับโบนัสแบบพิจารณาตามผลงานมากที่สุด คือ4.15 เดือน และ 4.12 เดือน ตามลำดับ ในขณะที่ผู้บริหารระดับสูง 3.96 เดือน และผู้บริหารระดับกลาง 3.89 เดือน ในส่วนของการได้รับโบนัสแบบการันตี พนักงานในระดับหัวหน้างาน ได้โบนัสสูงสุด 2 เดือน ผู้บริหารระดับกลาง1.99 เดือน พนักงานระดับปฏิบัติการ 1.82 เดือน และผู้บริหารระดับสูง 0.96 เดือน”

 
เมื่อพิจารณาการจ่ายโบนัสทั้งสองแบบเป็นรายอุตสาหกรรม ผลสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า อุตสาหกรรมที่มีการจ่ายโบนัสสูงสุดคืออุตสาหกรรมยานยนต์ โดยองค์กรในอุตสาหกรรมนี้มีการจ่ายโบนัสแบบการันตีและพิจารณาตามผลงานเฉลี่ยสูงสุดทึ่ 2.35 และ 4.74 เดือนตามลำดับ นอกจากนี้องค์กรในอุตสาหกรรมบริการด้านการเงินจ่ายโบนัสแบบการันตีสูงเป็นอันดับสองโดยเฉลี่ยที่ 1.39 เดือน ตามมาด้วยอุตสาหกรรมเคมี/ปิโตรเคมี/พลาสติก/กระดาษ เฉลี่ยที่ 1.35 เดือน

 
นอกจากนี้อุตสาหกรรมบริการด้านการเงินยังครองตำแหน่งอันดับสองสำหรับการจ่ายโบนัสแบบพิจารณาตามผลงานโดยจ่ายโบนัสเฉลี่ยที่ 3.94 เดือน ตามด้วยอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มที่จ่ายโบนัสเฉลี่ยที่ 3.65 เดือน

 
นพวรรณเปิดเผยว่า สำหรับการสำรวจการจ่ายโบนัสจากฝั่ง ผู้ประกอบการไทย พบว่าผู้ประกอบการกว่า 59% มีการการันตีการจ่ายโบนัสสูงสุดให้กับพนักงานระดับปฏิบัติการ “ผู้บริหารระดับสูงขององค์กรคงไม่ผิดหวัง ถึงแม้ว่าบริษัทหลายแห่งไม่ได้กำหนดโบนัสแบบการันตีให้ผู้บริหารระดับนี้ แต่ผู้บริหารในกลุ่มนี้ได้รับผลตอบแทนรวมสูงที่สุดเมื่อเทียบกับพนักงานในตำแหน่งอื่นๆ กล่าวคือในขณะที่ผู้บริหารระดับสูงได้รับผลตอบแทนโบนัสเฉลี่ยประมาณ 1.94 เดือน พนักงานระดับปฏิบัติการ และหัวหน้างานได้รับโบนัสเฉลี่ยที่ 1.45 เดือน และผู้บริหารระดับกลางจะได้รับเฉลี่ยที่ 1.5 เดือน”

 
รายงานยังแสดงให้เห็นอีกว่าการจ่ายโบนัสให้กับผู้บริหารระดับสูงแตกต่างกันไปในแต่ละประเภทงาน โดยงานอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เป็นประเภทงานที่การันตีจ่ายโบนัสแก่ผู้บริหารระดับสูงจนน่าประหลาดใจถึง 10เดือน ตามมาด้วยงานการค้าและกระจายสินค้าที่จ่ายโบนัสเฉลี่ย 4 เดือน ขณะที่งานวิศวกรรม ค้าส่งและค้าปลีก รวมไปถึงงานการผลิตจ่ายโบนัสพนักงาน 3 เดือน

 
แนวโน้มการจ่ายโบนัสแบบพิจารณาตามผลงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยหลายบริษัทจะระบุว่ามีการจ่ายโบนัสให้พนักงานในทุกๆ ระดับ โดย 75% ของบริษัทกล่าวว่าจะจ่ายโบนัสแบบพิจารณาตามผลงานให้กับพนักงานระดับผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง ขณะที่ 77% จ่ายโบนัสแบบพิจารณาตามผลงานให้พนักงานระดับปฏิบัติการและระดับหัวหน้างาน
เมื่อสำรวจช่วงเวลาในการจ่ายโบนัสไปยังผู้ประกอบการไทย

 

ผู้ประกอบการส่วนใหญ่กำหนดการจ่ายโบนัสในช่วงเวลาเดียวกัน โดย 3 ใน 5 ของบริษัทที่สำรวจจ่ายโบนัสแบบการันตีในเดือนธันวาคม และ 2 ใน 5 ของบริษัทเลือกจ่ายโบนัสให้พนักงานในเดือนมกราคมและเดือนมิถุนายน ตามลำดับ ส่วนโบนัสแบบที่พิจารณาตามผลงาน ครึ่งหนี่งของบริษัทที่สำรวจระบุว่าจ่ายโบนัสในเดือนธันวาคม ขณะที่ 23% ของบริษัทที่สำรวจจ่ายในเดือนมกราคมและเดือนมีนาคม

 
“หากเปรียบเทียบการจ่ายโบนัสของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเดียวกัน พบว่ามีเพียง 5% เชื่อว่าพวกเขาจ่ายโบนัสแบบการันตีสูงกว่า และอีก 9% เชื่อว่าพวกเขาจ่ายโบนัสแบบพิจารณาตามผลงานดีกว่าที่อื่น ขณะที่ 40% และ41% เชื่อว่าพวกเขาจ่ายโบนัสพนักงานในระดับเดียวกันกับอุตสาหกรรม อีก 55% ยอมรับว่าพวกเขาจ่ายโบนัสพนักงานต่ำกว่าหากเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกัน ในทางตรงกันข้าม 50% กล่าวว่าพวกเขาจ่ายโบนัสแบบพิจารณาตามผลงานต่ำกว่าบริษัทอื่น”

 

โบนัส

โบนัสมีผลกับความภักดีต่อองค์กรของพนักงานหรือไม่?

ผู้ประกอบการไทยยังคงมีความเชื่อมั่นที่เป็นบวกในประเด็นของการสรรหาว่าจ้างและการรักษาพนักงานในองค์กร โดย 7 ใน 10 ของผู้ประกอบการเชื่อว่าการจ่ายโบนัสแบบการันตีมีประโยชน์ในการสรรหาบุคลากร ขณะที่ 6 ใน 10ของผู้ประกอบการเชื่อว่าโบนัสช่วยรักษาพนักงานในองค์กร ในส่วนของโบนัสแบบพิจารณาตามผลงานนั้น 6 ใน 10ของผู้ประกอบการเชื่อว่าการจ่ายโบนัสดังกล่าวช่วยในการสรรหาบุคลากร และ 6.5 ใน 10 ของผู้ประกอบการเชื่อว่าการจ่ายโบนัสดังกล่าวจะช่วยรักษาพนักงานในองค์กรได้

 

ปัจจัยอะไรที่มีผลต่อโบนัส?

โบนัสที่พนักงานได้รับไม่สัมพันธ์กับตำแหน่งและอายุงานในตำแหน่งงานปัจจุบัน พฤติกรรมนี้พบเห็นได้ในจำนวนปีที่พนักงานทำงานในองค์กรเดิม และระยะเวลาของประสบการณ์ในตำแหน่งนั้น

 

ทัศนคติมีผลต่อโบนัสหรือไม่?

พนักงานยังได้ตอบคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมในการทำงาน ซึ่งเผยให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างพฤติกรรมกับจำนวนโบนัสที่พวกเขาได้รับอย่างน่าประหลาดใจ โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้:

  • พนักงานที่ชอบทำงานที่มีความเสี่ยงสูงมักได้รับรางวัลตอบแทนสูงกว่าพนักงานที่ทำงานความเสี่ยงน้อยแต่ได้เงินเดือนคงที่
  • พนักงานที่เอาชนะความท้าทายต่างๆ ในการทำงานได้รับโบนัสมากกว่าพนักงานที่ไม่เผชิญความท้าทายใดๆ
    พนักงานที่คิดว่าพวกเขาทำงานได้หลายหน้าที่ได้ดีเมื่อเทียบกับพนักงานคนอื่นมีแนวโน้มได้โบนัสสูงกว่า

 

โบนัส

โบนัสที่พนักงานได้รับในแต่ละปี ถูกนำไปใช้อย่างไร

จากการสำรวจการใช้โบนัสของพนักงาน พบว่า 31% ของผู้ตอบแบบสำรวจนำไปลงทุน 29% บอกว่าเก็บไว้เป็นเงินออม และ 1 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสำรวจ จะนำไปชำระหนี้และบัตรเครดิต และอีก 11% นำไปซื้อของขวัญให้ตนเองและคนสำคัญ

 

โบนัส