ฤาจะหมดยุคธนาคารสาขา ?

จำนวนผู้ใช้ธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด เทรนด์ดิจิทัลแบงกิงที่มาแรงเช่นนี้ จะทำให้ธนาคารสาขาถูกลดทอนความสำคัญลงหรือไม่ ? นี่จึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจไม่น้อย

เมื่อดูข้อมูลสำนักวิจัย Capgemini รายงานว่า สัดส่วนจำนวนผู้ใช้ Internet Banking ทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น 91.7% ในปี 2558 ขณะที่จำนวนผู้ใช้ Mobile Banking ก็เพิ่มขึ้น 62.3% จากที่เคยมีเพียง 39.9% ในปี 2554

ในขณะที่ Juniper Research คาดการณ์ว่า “ผู้ใช้ Mobile Banking จะมีถึง 1,000 ล้านคน ภายในสิ้นปี 2560”

หรือทว่าแนวโน้มการเติบโตของดิจิทัลแบงกิงครั้งนี้จะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า “ใกล้จะหมดยุคธนาคารรูปแบบดั้งเดิม ?”

รัชดา เสริมศิลปกุล ผู้อำนวยการการตลาดและผลิตภัณฑ์ ME by TMB ฟันธงว่า ไม่เกิน 5 ปีจากนี้ ปริมาณการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านสมาร์ตโฟนและแท็บเล็ตจะเติบโตมากขึ้น และอาจจะแซงหน้าการทำธุรกรรมการเงินผ่านเคาน์เตอร์

เห็นได้จากรายงานของ Nielsen ที่ระบุว่า ผู้บริโภคชาวอเมริกันกว่า 82% ใช้ออนไลน์แบงกิงอย่างน้อยเดือนละครั้ง ส่วนคนสวีเดนกว่า 96% นิยมทำธุรกรรมด้วยตัวเอง และกว่า 88% ไม่เดินทางไปทำธุรกรรมการเงินที่ธนาคารสาขานานถึง 12 เดือน

ขณะที่สถานการณ์ดิจิทัลแบงกิงในเมืองไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานว่า “ธุรกรรมการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือและบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ปัจจุบัน คนไทยมียอดบัญชีใช้บริการ Internet Banking อยู่ที่ 11.2 ล้านบัญชี จากที่เคยมี 1.7 ล้านบัญชีในปีก่อนหน้านี้ โดยมีปริมาณธุรกรรมออนไลน์ทั้งสิ้น 17.3 ล้านรายการ และมีมูลค่าการทำธุรกรรมอยู่ที่ 2.57 แสนล้านบาท”

ส่วน Mobile Banking มียอดบัญชีผู้ใช้รวม 8.43 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน 2.78 ล้านบัญชี หรือคิดเป็น 49.24% ซึ่งมีปริมาณการทำธุรกรรมรวม 23.1 ล้านรายการ รวมมูลค่ารวมทั้งสิ้น 2.3 แสนล้านบาท” (ข้อมูล : ก.ย. 58)

และในฐานะที่ ME by TMB เป็นหนึ่งผู้ให้บริการดิจิทัลแบงกิงให้บริการรับ-ฝากเงินด้วยตัวเอง รัชดาเปิดเผยว่า “ในปี 2558 ฐานลูกค้าของ ME เติบโต 20% เมื่อเทียบกับปี 2557 ซึ่งเป็นผลจากการจัดกิจกรรมการส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่อง”

ติดตามบทความทั้งหมดได้ที่นิตยสาร Business+ ฉบับ 323 ประจำเดือนมกราคม 2016 หรือคลิกที่นี่