Aging Society โอกาสที่เปิดกว้าง

ขอบคุณภาพประกอบจาก .pacitaproject.eu

วิสัยทัศน์ของประเทศไทย กำลังต้องการพัฒนาเสริมสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิด Organic Growth

หลายๆ คลัสเตอร์ ต้องมีการเติมเทคโนโลยี สร้างบุคลากรใหม่ เพื่อให้เกิด Competitiveness เพราะเป้าหมายระยะยาวของเราคือ เพิ่มรายได้ต่อหัวของประชากรไทย

ดังนั้น เราต้องการสร้างการเจริญเติบโตของธุรกิจเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจฐานรากของไทยใหม่ เพื่อเพิ่มมูลค่าของการผลิต นั่นคือ รายได้และผลกำไรในมิติที่สูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม บทบาทที่จะเติมเต็มให้อุตสาหกรรมไทยมีการเติบโตค่อนข้างสูงในบางปี หรือเติบโตแบบคงที่ ต้องอาศัยระยะเวลากันพอสมควร เพราะเรากำลังเปลี่ยนตัวเองจากภายในสู่ภายนอก

วันนี้เรากำลังปรับปรุงตัวเอง เพื่อนำไปสู่ Chapter ใหม่ กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีแนวความคิดก้าวทันโลก (Startup) จะถูกพัฒนาเพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มคนบุกเบิกธุรกิจของไทย ภาพที่ชัดเจนวันนี้ คือการถ่ายโอนธุรกิจไปยังผู่สืบทอดต่อไป

อดีตที่หวนคืนไม่ได้ แต่อนาคตเรากำหนดได้ ทำให้ต้องมองหาอนาคตที่ยั่งยืน ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ออกมาระบุว่า มิติเชิงสังคมของไทยแม้เข้าสู่สังคมวัยชราไปแล้ว

แต่ในขณะเดียวกัน การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ จะก่อให้เกิดโอกาสทางธุรกิจเพิ่มขึ้น และสร้างความท้าทายให้ธุรกิจต้องปรับตัวด้วยเช่นกัน เนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุนี้ จะมีกำลังซื้อกว่า 4 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 25% ของกำลังซื้อทั้งประเทศภายในปี 2030 และคนกลุ่มนี้พร้อมจะจ่ายเงินที่อดออมมาทั้งชีวิต เพื่อซื้อสินค้าและบริการที่ดีกว่า

 และเพื่อพัฒนาจุดแข็งของไทยให้ยิ่งแข็งแกร่งขึ้นไปอีก Cover Story 319 ฉบับเดือนกันยายน  เราจะพาท่านผู้อ่านไปเจาะลึกกับโอกาสธุรกิจนี้

ห่วงโซ่อุปทานที่เปลี่ยนไป หากต้องการรักษาระดับการเติบโตของผลผลิตไม่ให้ลดลงภายในระยะ 10 ปีนับจากนี้ บริบทของสังคมไทยได้เริ่มต้นแล้วกับคำว่า Aging society

จงร่วมเดินฟันฝ่าให้ก้าวพ้นความกังวลต่างๆ นานา ทั้งความเป็นอยู่ การออม หรือแม้แต่ภาระเงินคงคลังของรัฐบาลว่าจะต้องเข้ามาดูแลคนแก่ ผมเชื่อว่า ยังมีโอกาสที่ดีเสมอ และหากมองถึงเป้าหมายระยะยาวที่เรากำลังมุ่งหน้าสู่การหนีกับดักประเทศรายได้ต่ำให้สูงขึ้น นั่นหมายถึง โอกาสที่เปิดกว้างแบบไม่รู้จบ

คลิกอ่านบทความทั้งหมดได้ที่ นิตยสาร Business+ ฉบับ 319