ABAC

ITM หลักสูตรสร้าง Human Technology Civilization

“เราจะสร้างคนที่เป็น Human Technology Civilization”

เมื่อโลกเกิดการ Disruptive อย่างรวดเร็ว ผู้ที่อยู่รอดคือผู้ที่สามารถปรับตัวได้ทัน ความท้าทายจึงอยู่ที่การเตรียมคนให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงทุกสถานการณ์ ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ที่ภาคการศึกษาต้องออกแบบหลักสูตรเพื่อเตรียมความพร้อมและปั้นผู้นำยุคใหม่ที่เท่าทันเทคโนโลยีและนำมาปรับใช้เพื่อผลทางธุรกิจได้จริง


ซึ่งในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านIndustry 4.0 ที่รัฐบาลพยายามผลักดันให้เกิดขึ้น เริ่มส่งสัญญาณและเห็นการเปลี่ยนแปลงทั้งเชิงโครงสร้างและระบบการจัดการใหม่ ที่ได้เห็นชัดเจน ซึ่งมาเร็วมากว่าที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ โดยมีดิจิทัลเป็นตัวผลักดัน เช่น อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง AI (Artificial Intelligent) ที่ใช้คิดแทนมนุษย์ หุ่นยนต์ที่สามารถคิดและวิเคราะห์ (Robo-Advisor) จะเข้ามาทำงานแทนมนุษย์ในอนาคตอันใกล้ และฟินเทค (Fin Tech) เข้ามาใช้ในภาคการเงิน เปลี่ยนโฉมหน้าของระบบ Payment ให้เปิดและเชื่อมต่อ รองรับธุรกรรมการเงิน ง่าย สะดวก รวดเร็ว ด้วยต้นทุนที่ต่ำลง รวมถึงภาคอุตสาหกรรม E-Commerce และขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นได้ทั้งโอกาสแบบใหม่ ภัยคุกคามแบบใหม่ ข้อจำกัดแบบใหม่ และขีดความสามารถการแข่งขันแบบใหม่ ซึ่งตัวแปรทั้ง 4 นี้ต่างเชื่อมโยงกับคำว่านวัตกรรม เพื่อ Reskill, Upskill และ Multi-skill ดังนั้นการสร้างสร้างพลเมืองดิจิทัลที่มีความเป็น Leadership ในด้าน Innovation Technologyจึงเป็นโจทย์ท้าทายของสถาบันการศึกษา

ซึ่งมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ก็ตอบรับโจทย์ที่ว่านี้ด้วยการเปิดหลักสูตรInnovative Technology Management ซึ่งดร. รวิน วงศ์อุไร ผู้อำนวยการหลักสูตร Innovative Technology Management มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ วิทยาเขตหัวหมาก ระดับปริญญาเอก ประกาศชัดว่า “เราจะสร้างคนที่เป็น Human Technology Civilization”

ทั้งนี้ดร. รวินระบุว่า สิ่งที่ทำให้อัสสัมชัญเป็นสถาบันการศึกษาที่ดีมาโดยตลอด เพราะเราไม่ได้สอนให้คนให้มองว่า 5-10 ปีข้างหน้า ภาพธุรกิจหรือการทำงานของคุณจะประสบความสำเร็จอย่างไร ที่นี่เราสอนนักศึกษาให้คิดถึงกระบวนการคิดและการปรับตัวอยู่เสมอ ถึงจุดหนึ่งเรามองว่า ที่ผ่านมาเราโฟกัสเรื่องของนวัตกรรมมาตลอด แต่จากนี้เมื่อโลกเกิดการ Disruptive อย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มมากขึ้น เราก็มองว่าทางสถาบันยิ่งต้องเร่งสร้างพลเมืองดิจิทัลให้มีความเป็น Leadership เป็นผู้นำในด้าน Innovation Technology

และเมื่อบวกกับจุดเด่นของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) ทั้ง 3 ด้าน คือ การเป็นผู้ประกอบการที่ดี (Entrepreneurial Spirit), การใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร (English Proficiency) และเรื่องของจริยธรรม (Ethics) จึงเกิดเป็นหลักสูตรดังกล่าวขึ้นมา โดยแก่นของหลักสูตรนี้คือ เน้นการสร้างบุคลากรให้มีกระบวนการคิด มีความเป็น Leadership เป็นผู้นำในด้าน Innovation Technology และมีวิสัยทัศน์

โดย หลักสูตรInnovative Technology Management ถูกดีไซน์ออกมาเป็นหลักสูตรปริญญาเอก 3 ปี เน้นการเรียนใน 3 เรื่องหลัก คือ 1. Business Strategy and Innovation 2. Innovation Strategy in Globality Diverse Markets และ 3. Leadership for Building Sustainable Organizations และตัวเลือกเสริมตัวที่ 4 ซึ่งขึ้นอยู่กับความสนใจของนักศึกษาที่จะเป็นตัวกำหนด โดยอาจารย์ที่ทำหน้าที่ดูแลหลักสูตรนี้ต้องเป็นบุคคลที่มี Innovation ด้วย

แก่นของหลักสูตรนี้ไม่ได้มองถึงเทรนด์ที่จะเข้ามาในอนาคตเพียงอย่างเดียว แต่ยังมองถึงเรื่องการปรับตัวและกระบวนการคิด เพื่อเตรียมพร้อมรับมือในทุกการเปลี่ยนแปลงทั้งปัจจุบันและอนาคต ขณะที่ระบบ Cyber Security ก็เป็นอีกส่วนที่หลักสูตรนี้ให้ความสำคัญ โดยได้บรรจุลงไปในการเรียนการสอน เพราะที่ผ่านมาปัญหาของการนำดิจิทัลมาใช้ยังมีจุดบกพร่องในเรื่องของความปลอดภัยและการป้องกันข้อมูลมากที่สุด จุดนี้เองจะช่วยเป็นพื้นฐานในการพัฒนาทุกอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัล

ดร. รวินเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของหลักสูตรนี้เพิ่มเติมว่า ปัจจุบันการค้าขายเชื่อมต่อกันทั่วโลก ดังนั้นสิ่งที่เราสอนคือการวางแผนที่ดี นักศึกษาที่จบไปอย่างน้อยต้องเป็นผู้ประกอบการที่มีวิสัยทัศน์ รวมถึงการมีจริยธรรมในการค้าขายที่ดี เอแบคไม่ได้สอนแค่ว่าคุณต้องเก่ง ความรู้ทุกคนหาได้ แต่สิ่งสำคัญคือการเป็นผู้ประกอบการที่ดี จริยธรรมในการทำธุรกิจเป็นสิ่งที่สำคัญที่เราต้องตระหนัก และสามารถปรับตัวเข้ากับธุรกิจต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น

ในหลักสูตรที่เราจะสอน เราไม่ได้สอนว่าอนาคตเทรนหรือ อินโนเวชั่นอะไรจะมาอย่างเดียว แต่เราจะสอนพื้นฐาน เช่น การป้องกันปกป้องข้อมูล การใช้ ISO อะไรต่างๆ นี่คือหลักสูตรที่เราต้องสอนด้วยเช่นกัน สิ่งเหล่านี้คือพื้นฐาน

เพราะถ้าคุณเข้าใจในสิ่งที่เป็นพื้นฐานแล้วนั้น ไม่ว่าในอนาคตจะไปเทรนด์ไหนก็ตาม เราจะรับมือได้ คนเราจะพลาดไม่พลาดอยู่ที่การตื่นตะหนก ณ เวลานั้น ถ้าเราตกใจมากรับการเปลี่ยนแปลงไม่ทัน ทุกอย่างจะพัง แต่ถ้าคนเรามีการเตรียมพร้อม ตั้งรับที่ดี นี่คือสิ่งที่จะสอนเข้าไป ตะหนักตะหนกในสิ่งที่เกิดขึ้น แน่นอนจะเกิดวิกฤติ เปลี่ยนแปลงยังไงเรารับมือได้หมด

“ผมไม่อยากให้มองว่าเทรนด์ไปทางไหน เพราะมันเกิดขึ้นทุกเสี้ยววินาที การอัพเกรดทุกอย่างเร็วมาก เพราะเป็นคลาวด์เซอร์วิส ไม่ว่าเทรนด์จะไปทางไหน แต่เรามั่นใจว่านักศึกษาที่จบไปจะสามารถปรับตัวได้ นำองค์ความรู้ไปต่อยอดทางธุรกิจโดยไม่หยุดชะงัก เพียงแต่นักศึกษาแต่ละคนจะไปโตในอุตสาหกรรมใดเท่านั้น” ดร.รวินทร์กล่าวปิดท้ายอย่างน่าสนใจ