แชร์ Co-Working Spaceอย่างไรให้professional

 Co-Working Space คือสถานที่ทำงานในฝันของเหล่าฟรีแลนซ์ที่มักจะมาแบ่งปันพื้นที่ทำงานร่วมกันคนอื่น ๆ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความรำคาญ และรบกวนผู้อื่นอย่างไม่ตั้งใจ ก่อนจะเข้าไปแชร์พื้นที่ร่วมกับผู้อื่น มาทำความเข้าถึงมารยาทและกฎเกณฑ์การใช้งาน Co-Working Space  แบบมือโปร นอกจากไม่รบกวนอื่นแล้ว ยังส่งเสริมงานที่กำลังทำได้อีกด้วย

มือใหม่หัดใช้ Co-Working Space

เลือก Co-Working Space ที่ตัวเองชอบและเหมาะกับรูปแบบการทำงานของตัวเอง

มีมารยาทในการใช้พื้นทีร่วมกับคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นอย่าคุยโทรศัพท์เสียงดังและบ่อยจนเกินไปจนสร้างความรำคาญให้คนที่มาใช้บริการ ใช้ห้องประชุมทั้งวันโดยลืมนึกถึงคนอื่น ๆ รวมไปถึงไม่เก็บของหรือรักษาความสะอาดเมื่อใช้งานพื้นที่ต่าง ๆ เสร็จเรียบร้อย

ทำความรู้จักกับคนอื่น ๆ บ้าง ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของสถานที่หรือคนที่มาใช้บริการ เพราะอาจจะทำให้คุณได้ความคิดเห็นใหม่ ๆ หรือโอกาสในเรื่องการทำธุรกิจต่าง ๆ

เลือก Co-Working Space ที่ใช่เหมาะกับสไตล์การทำงาน

Co-Working Space แต่ละที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนกัน บางที่อาจจะออกแบบมาให้เหมาะกับการทำงานเป็นกลุ่ม บางที่อาจจะมีการแบ่งสัดส่วนพื้นที่การทำงานแบบเป็นส่วนตัว ไม่นับดีไซน์การตกแต่งสถานที่ที่แตกต่างกันไปตามใจเจ้าของ Co-Working Space ดังนั้นก่อนเข้าไปใช้บริการไม่ว่าที่ไหน เราต้องรู้ก่อนว่าตัวเองชอบทำงานแบบไหน เช่น ถ้าชอบทำงานเงียบ ๆ การทำงานใน Co-Working Space แบบเปิดที่มีคนพลุกพล่านวุ่นวายเกินไปก็คงไม่เหมาะ การหา Co-Working Space ที่มีห้องพิเศษให้บริการ เหมือนอย่าง Serviced Office น่าจะตอบโจทย์ได้ดีกว่าในกรณีนี้

หยุดคุยโทรศัพท์เสียงดังสร้างความรำคาญ

เพราะ Co-Working Space เป็นการแบ่งปันพื้นที่ในการทำงานร่วมกัน ทำให้การคุยโทรศัพท์ในระหว่างทำงานอาจรบกวนสมาธิของคนอื่นที่ทำงานข้าง ๆ กันได้ เราอาจจะเผลอพูดเสียงดัง คุยนาน หรือรับโทรศัพท์บ่อยเสียจนคนอื่นเกิดความรำคาญ ถ้ามีสายเข้า หรือรู้ตัวว่าวันนั้นต้องมีคนติดต่อมาหลายครั้ง ให้ย้ายไปนั่งในบริเวณที่เราสามารถคุยโทรศัพท์ได้โดยสะดวกจะดีกว่า

อย่านั่งในห้องประชุมทั้งวันโดยไม่แบ่งคนอื่น

ถ้าเราไม่ได้เสียค่าจองห้องประชุมเพื่อใช้งานห้องนั้นเป็นพิเศษ อย่าเห็นแก่ตัวด้วยการนั่งทำงานในนั้นทั้งวัน อย่าลืมคิดถึงคนอื่น ๆ ที่เขาก็มีความจำเป็นจะต้องใช้ห้องเหมือนกัน คิดถึงใจเขาใจเราเพราะถ้าคุณไม่ออกมา คนอื่น ๆ ก็เข้าไปทำงานไม่ได้

เก็บข้าวของให้เรียบร้อยเมื่อใช้พื้นที่เสร็จ

Co-Working Space นอกจากจะเป็นการแบ่งปันพื้นที่แล้ว เรายังต้องแบ่งปันความรับผิดชอบร่วมกันด้วย ไม่ว่าจะเป็นโต๊ะทำงาน ห้องประชุม หรือห้องครัว เมื่อใช้ห้องเสร็จแล้ว ตรวจตราดูความเรียบร้อย ทั้งเรื่องอุปกรณ์และความสะอาด อย่าปล่อยให้เป็นภาระของคนที่เขาจะใช้งานต่อจากเรา

ทักทายเพื่อนร่วมงานบ้าง

ถ้าเราชอบความเงียบหรือความเป็นส่วนตัวมาก ๆ เราคงนั่งทำงานที่บ้านไม่ออกมาทำงานที่ Co-Working Space นอกจากนั่งทำงานแล้ว สถานที่นี้ยังเปิดโอกาสให้เราได้รู้จักผู้คนในสาขาอาชีพที่หลากหลาย เราอาจจะได้ไอเดียใหม่ ๆ ในการทำงานจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน หรือเพื่อนใหม่เหล่านี้อาจกลายมาเป็นเพื่อนสนิทที่จะคอยช่วยเหลือในยามที่เราต้องการก็เป็นได้

ทำความรู้จักกับเจ้าของสถานที่

โดยปกติแล้ว เจ้าของ Co-Working Space มักจะมาจากบริษัท Startup ซึ่งนั่นทำให้พวกเขามีแนวโน้มที่จะสนใจเรียนรู้เรื่องราวจากคนรุ่นใหม่ที่มีแนวความคิดคล้าย ๆ กัน เพราะฉะนั้นหากคุณเป็นคนที่กำลังเริ่มต้นธุรกิจเช่นเดียวกัน อย่าพลาดโอกาสที่จะแนะนำตัวและทำ ความรู้จักกับเจ้าของ Co-Working Space นั้น เพราะถ้าคุยกันถูกคอ พวกเขาอาจแนะนำเราให้ได้รู้จักกับ Startup กลุ่มอื่น ๆ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์กับการทำงานหรือธุรกิจของเราในอนาคตได้

เห็นไหมว่า Co-Working Space นอกจากจะสร้างบรรยากาศการทำงานที่แปลกใหม่ นำมาสู่ไอเดียสร้างสรรค์งานใหม่ๆแล้ว ยังช่วยส่งเสริมและอาจทำให้พบโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆได้อีกด้วย

ที่มา:
blog.sqwiggle.com
JobThai.com/REACH