โอกาสทองของสื่อนอกบ้านในเมียนมา

แม้ว่าสื่อสังคมออนไลน์จะเข้ามามีบทบาทแทนที่สื่อหลักหลายอย่าง แต่การที่สังคมเมียนมากำลังเรียนรู้วัฒนธรรมการลงทุนจากคู่ค้าต่างชาติมากขึ้นเรื่อย ๆ  สื่อนอกบ้าน หรือที่รู้จักดีในชื่อ Out of Home Media ที่มีความหลากหลายในการนำเสนอสื่อการตลาด ยังคงเป็นช่องทางสำคัญที่สุดทางหนึ่ง เพื่อการเข้าถึงผู้บริโภคยุคปัจจุบัน

อย่างที่ทราบดีว่า นับตั้งแต่เมียนมาเปิดประเทศอันเป็นผลจากการปฏิรูปเศรษฐกิจ ทำให้เกิดความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนเพิ่มขึ้น สำหรับอุตสาหกรรมโฆษณาก็ต้องยอมรับว่า มีจุดสัมพันธ์กับอุตสาหกรรมสื่อ เพราะพฤติกรรมกาารรับชมสื่อของคนเมียนมาตัวเลือกอันแรกคงหนีไม่พ้นสื่อโทรทัศน์ ตามมาด้วยสื่อนอกบ้าน และสื่อออนไลน์

หลายคนอาจคิดว่า สื่อออนไลน์น่าจะได้รับความนิยมมากที่สุด แต่อย่าลืมว่า สื่อโทรทัศน์ มีความคุ้นชินกับกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศมาเป็นเวลานาน และมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภค ซึ่งจะช่วยให้การทำตลาดสินค้าและบริการเป็นไปอย่างราบรื่น

อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากสื่อโทรทัศน์แล้ว สื่อนอกบ้าน (Out of Home) ได้ถูกจับตาและถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายตามสื่อโทรทัศน์ เพราะจุดเด่นสำคัญของสื่อประเภทนี้ คือ กลุ่มเป้าหมายสามารถจดจำรายละเอียดของข้อความ เนื้อหา กระทั่งภาพ ได้นานกว่าสื่อโทรทัศน์ รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่างานโฆษณาผ่านโทรทัศน์หลายเท่าตัว นั่นจึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมสื่อนอกบ้านจึงมีอนาคตที่ดีสำหรับเมียนมา


เพราะหากมองถึงไลฟ์สไตล์ปัจจุบัน คนรุ่นใหม่ต่างออกมาท่องเที่ยวนอกบ้านมากขึ้น และเมื่อรวมกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มการเดินทางเข้าไปเมียนมามากกว่า 10 ล้านคนต่อปี โดยเฉพาะสนามบินนานาชาติ Yangon ซึ่งเป็นสนามบินหลักที่Aero Media ได้รับสิทธิ์ใบอนุญาตจัดการการโฆษณาในสนามบิน หลังเกิดความร่วมมือทางธุรกิจกับบริษัท ไรเฟิล มีเดีย จำกัด ซึ่งไรเฟิล มีเดีย มีป้ายโฆษณาอยู่ในหัวเมืองใหญ่ ๆ ได้แก่ ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ เมาะลำใย และทวาย
โครงสร้างอุตสาหกรรมสื่อในเมียนมา

ความเปลี่ยนแปลงอีกประการที่เห็นชัดเจน คือ ก่อนการปฏิรูปประเทศ ตลาดสื่อโฆษณาถูกขับเคลื่อนโดยสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ และแมกกาซีน ที่มีมูลค่าอันดับหนึ่ง สอง และสาม มาโดยตลอด

จนกระทั่ง 2-3 ปีที่ผ่านมา “สื่อดิจิทัล” ถูกจับตามมอง เห็นได้จากความนิยมในการเล่น Social Media ของคนท้องถิ่น หรือแม้แต่นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไป และทางหนึ่งรัฐบาลเมียนมาได้เปิดเสรีคมนาคมก็ตามที


แต่สื่อนอกบ้าน (Outdoor Media) ถือได้ว่ามีนัยการเติบโตอย่างน่าสนใจ โดยปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้สื่อประเภทนี้เติบโต มากจากการเปิดประเทศ มีสนามบินนานาชาติ รวมถึงการสร้างสนามบินตามหัวเมืองท่องเที่ยวสำคัญ ๆ อย่างที่ ย่างกุ้ง มัณฑะเลย์ เมาะลำใย และทวาย

“ทีวียังเป็นสื่อสำคัญมากที่สุดของไทย เพราะเป็นสื่อที่เข้าถึงคนได้ทั่วประเทศ ทำให้สร้าง Brand Awareness ให้กับสินค้าได้เป็นอย่างดี แต่ปัจจุบันสื่อนอกบ้าน และสื่ออินเทอร์เน็ต หรือสื่อดิจิทัล เติบโตจนกลายเป็นสองสื่อหลักที่รองจากทีวี ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไป สื่อนอกบ้าน และสื่อดิจิทัล จะกินส่วนแบ่งการตลาดของสื่ออื่น ๆ โดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์”

จากมุมมองและประสบการณ์ของผม ก็ต้องบอกว่า ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมสื่อโฆษณาในเมียนมามีมูลค่าสูงกว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งสัดส่วนเป็นการใช้สื่อทีวีราว 60% นอกนั้นสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อนอกบ้าน และออนไลน์ จะถูกผสมผสานการใช้รวมกัน


แต่เทรนด์ของการใช้สื่อสิ่งพิมพ์ลดลง ออนไลน์ดีขึ้น แต่สื่อนอกบ้านก็ถูกใช้มากขึ้นจากนักลงทุนที่ต้องการเจาะตลาดแห่งนี้มากขึ้น ทำให้คาดหมายว่าน่าจะมีมูลค่าเกิน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับ Rifle Aero Media Co. คือเอเจนซี่โฆษณาที่ให้บริการครบวงจร ทั้งการวางแผนกลยุทธ์ บริหารสื่อ ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างไรเฟิล มีเดีย และ Aero Media จะทำให้เป็นผู้เล่น Top 3 ในอุตสาหกรรมสื่อนอกบ้านของเมียนมาทันที

“ข้อดีทางกายภาพก็คือ จำนวนนักท่องเที่ยวมากกว่า 10 ล้านคนต่อปีที่ไม่มีแวะพัก และต้องการเดินทางต่อไปยังสนามบินรองในเมียนมา ย่อมทำให้โอกาสการโฆษณาในสื่อนอกบ้านมีอัตราเติบโตยิ่งขึ้น”

ฑัตชัย ปฏิโภคสุทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอโร มีเดีย กรุ๊ป จำกัด