ส่องกลยุทธ์สตาร์บัค ในเมียนมาร์

เป็นข่าวดังไปเมื่อเร็วๆ นี้ กับสาขาแรกของร้านกาแฟเชนดังอย่างสตาร์บัคส์ในเมียนมาร์ ซึ่งแน่นอนว่า สตาร์บัคส์ให้ความสําคัญพอๆ กับสาขาอื่นในเอเชียและอาเซียน เพื่อต้อนรับทั้งนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปยังประเทศนี้มากกว่า 10 ล้านคนต่อปี

ขณะเดียวกัน การสร้างความเชื่อใจสำหรับกลุ่มลูกค้าใหม่ของสัญลักษณ์นางเงือกนี้ ณ กลางจัตุรัส Sule Square ซึ่งเป็นสาขาแรก นับว่าน่าสนใจไม่น้อยสำหรับพลเมืองชนชั้นกลางในเมียนมาร์ ซึ่งกำลังเปิดหู เปิดตา ให้รับวัฒนธรรมของการดื่มกาแฟอีกทางหนึ่ง

ทำไมต้อง..เมียนมาร์
เมียนมาร์ ถูกขนานนามว่าเป็นขุมทองแห่งอินโดจีนตะวันออก และที่นี่สำหรับนักลงทุนถือว่า เนื้อหอมที่สุดเมื่อเทียบกับ 10 ประเทศในอาเซียน

แน่นอนว่า การที่สตาร์บัคเปิดสาขาแรกสำเร็จ ย่อมหมายถึงสภาพการแข่งขันธุรกิจที่จะดุเดือดขึ้น

Gloria Jean’s ซึ่งเป็นเครือข่ายร้านกาแฟของออสเตรเลีย ,The Coffee Bean & Tea ซึ่งมีสาขาในสนามบินนานาชาติย่างกุ้ง หรือแม้แต่ Costa Coffee แบรนด์กาแฟดังจากอังกฤษ จะได้เปรียบจากการที่เข้ามาเปิดสาขาก่อน

แต่อย่าลืมว่า สตาร์บัคไม่ใช่มือใหม่ ขาดประสบการณ์ พวกเขามีสาขามากที่สุดในโลก

จุดขายที่สตาร์บัคส์ได้เปรียบคู่แข่ง ขณะเดียวกันจะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่มองหาสินค้าเพื่อสุขภาพได้อย่างไม่ลังเล หรืออย่างบริการ Super Premium กับคอนเซ็ปท์สโตร์ Starbucks Reserve

เชื่อเถอะว่า นี่คืออาวุธลับสำคัญที่สตาร์บัคจะนำเข้าไปเปิดบริการอย่างไม่ต้องสงสัย

กลยุทธ์การบริหารวิธีนี้ เป็นหนึ่งในวิธีที่น่าสนใจ เพราะนอกจากจะสามารถพิชิตใจกลุ่มคนทำงาน นักท่องที่ยวในพื้นที่แล้ว ยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางอ้อม

อีกทั้งบริการดังกล่าว ยังสามารถเพิ่มส่วนแบ่งของกำไรให้มากขึ้น

ทั้งนี้ การเปิดร้านกาแฟสาขาแรกในเมียนมาร์ ถือเป็นช่วงที่น่าตื่นเต้น และเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ

เนื่องจากเครือข่ายร้านกาแฟที่ใหญ่ที่สุดในโลกรายนี้ได้ขยายธุรกิจไปอย่างต่อเนื่องในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ขณะที่รายได้หลักในอเมริกาและยุโรปไม่ค่อยสู้ดีนัก แต่สถานการณ์ดังกล่าวกลับตรงข้ามอย่างในจีน ซึ่งทำกำไรได้มากว่า 30% แก่สตาร์บัคส์

นอกนั้น สาขาในอินเดีย เวียดนาม บรูไน กัมพูชา ก็มีกระแสตอบรับดีขึ้น โดยเฉพาะที่ประเทศไทย ถือเป็นตลาดที่มีการเติบโตสูงเป็นอันดับ 3 ในภูมิภาคเอเชีย รองจากจีนและเกาหลี

ปัจจุบันสตาร์บัคส์ คอฟฟี่ ไทยแลนด์ จะมีอายุ 20 ปีเต็ม มีสาขาทั้งหมด 321 สาขา มีรายได้จากการขายและบริการปี 2560 อยู่ที่ 7,002,251,164 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2559 ที่ทำรายได้ 6,045,009,811 ล้านบาท

แว่วมาว่า ประเทศต่อไปของสตาร์บัคส์ในอาเซียนคือ สปป.ลาว ที่กำลังเจรจาพาร์ทเนอร์ และมองหาที่ดินในการเปิดสาขาแรกอยู่

ข้อมูลอ้างอิง
https://www.mmtimes.com
https://www.statista.com