ม.หอการค้าไทยจับมือกสิกรไทย ก้าวล้ำสู่ Digital Hybrid University เต็มรูปแบบ

 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจับมือธนาคารกสิกรไทย ยกระดับการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยผนวกนวัตกรรมการเงินการศึกษาเพื่อก้าวสู่ Digital Hybrid University เต็มรูปแบบแห่งแรก

ทัั้งคุณภาพการเรียนการสอน การบริหารงาน ของมหาวิทยาลัย การพัฒนาองค์ความรู้ และสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับไลฟ์ สไตล์และการเรียนรูปแบบใหม่ ตอกย้ำผู้นำดิจิทัลเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ รองรับนักศึกษาและบุคลากรกว่า 18,000 คน

รองศาสตราจารย์ ดร. เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมุ่งพัฒนาการศึกษาในรูปแบบใหม่ เพื่อรองรับการเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 อีกทั้งยังเป็นการตอบสนองนโยบายภาครัฐในการพัฒนาประเทศไทยให้เป็น Smart Cities

โดยเริ่มจากปี 2547 ที่มหาวิทยาลัยฯ นำ iTunes U มาใช้ในการเรียนการสอนเป็นแห่งแรกในประเทศไทย ภายใต้ระบบการเรียนรู้แบบ Hybrid และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเป็นระบบ UTCC Digital Hybrid Learning System ที่เปลี่ยนจาก การสอนแบบเน้นการบรรยาย (Lecture) ซึ่งผู้สอนมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้เรียนแต่เพียงผู้เดียว มาเป็นการสอนแบบ Hybrid ที่เน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ในการเรียน (Interactive Learning) ระหว่างผู้เรียน กับผู้เรียนด้วยกัน หรือผู้เรียนกับผู้สอน ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่และนวัตกรรมการเรียนการสอนมาสนับสนุนให้ ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Active Learning) เป็นการผสมผสานระหว่างการสอนในชั ้นเรียน (Face-toFace) กับการสอนแบบ e-Learning

โดยนำส่วนที่ดีที่สุดของการสอนทั้งสองแบบมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่ผู้เรียน และให้นักศึกษาได้ใช้ประโยชน์สูงสุดจาก iPad ซึ่งเป็นอุปกรณ์การเรียนที่นักศึกษาทุกคนได้รับเมื่อแรกเข้า ทำให้ลบภาพการเรียนแบบเดิมสู่การเรียนรู้รูปแบบใหม่ อีกทั้งการได้รับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีจาก ธนาคารกสิกรไทยในการพัฒนาเครื่องมือและแอปพลิเคชันที่ตอบโจทย์ไลฟ์ สไตล์นักศึกษายุคดิจิทัล จะทำให้ มหาวิทยาลัยมุ่งสู่ Digital Hybrid University ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งจะทำให้ก้าวไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่มี นวัตกรรมทางการศึกษาและการบริหารจัดการที่ก้าวหน้าที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย

 

ขัตติยา อินทรวิชัย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า “การศึกษาเป็น พื้นฐานสำคัญในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ การสร้างความพร้อมให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพจึงมีความสำคัญไม่ด้อยไปกว่ากัน ด้วยความเชี่ยวชาญในด้านดิจิทัลเทคโนโลยีผนวกกับประสบการณ์ใน การพัฒนาแอปพลิเคชัน K PLUS ที่ตอบโจทย์ไลฟ์ สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ธนาคารฯ เชื่อมั่นว่าจะช่วยเปิด ประสบการณ์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และจะเป็นอีกก้าวหนึ่งในการยกระดับคุณภาพชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยให้เหมาะกับไลฟ์ สไตล์ในยุค ดิจิทัลอย่างแท้จริงของนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจำนวนกว่า 18,000 คน

 

การร่วมมือกันในครั้งนี้ ธนาคารฯ เข้ามาช่วยพัฒนาระบบให้มหาวิทยาลัยเปลี่ยนเป็ นสังคมไร้ เงินสด (Cashless Society) เช่น การชำระเงินด้วยคิวอาร์ โค้ดภายในศูนย์อาหาร และร้านค้าในบริเวณรอบมหาวิทยาลัย แทนการใช้เงินสด

นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการทำบัตรประจำตัวนักศึกษาแบบ “Smart Student ID Card” ทั้ง รูปแบบ Physical Student ID Card ที่เป็นทั้งบัตรเดบิตและบัตรผ่านเข้าออกอาคาร และบัตรดิจิทัลแบบ Virtual Student ID Card ที่ช่วยให้นักศึกษาไม่ต้องพกบัตรนักศึกษาอีกต่อไป โดยข้อมูลในบัตรจะถูกเชื่อมโยงกับแอป พลิเคชันที่ได้รับการพัฒนาให้มีฟังก์ชันหลากหลายและคำนึงถึงผู้ใช้งานเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการลงทะเบียนที่ นักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียน และชำระค่าเทอมผ่านแอปพลิเคชันได้ทุกที่ทุกเวลา มีระบบแจ้งเตือนตาราง เรียนและตารางสอบ ติดต่อสำนักทะเบียนเพื่อขอออกใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยัง สามารถระบุและค้นหาสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยโดยใช้ Location-Based Technology และยัง รับทราบประกาศหรือข่าวประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยได้อย่างรวดเร็วด้วยฟังก์ชันการแจ้งเตือนข่าวสาร

 

รองศาสตราจารย์ ดร. เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การก้าวสู่ Digital Hybrid University อย่าง สมบูรณ์แบบนั้น นอกจากธนาคารฯ จะเข้ามาช่วยพัฒนาระบบต่าง ๆ แล้ว ปี 2561 มหาวิทยาลัยยังเดินหน้าให้ ความสำคัญด้านดิจิทัลในทุก ๆ ด้าน ทั้งโครงการกะเทาะเปลือกที่เป็นการแข่งขันนวัตกรรมระดับประเทศ โครงการ ความร่วมมือกับ Alibaba จัดตั้ง UTCC เป็นศูนย์อบรมด้าน e-commerce ในประเทศไทย

 

รวมถึงการเปิด สาขาวิชาใหม่ ๆ 6 สาขา เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะด้านดิจิทัลสอดคล้องกับนโยบาย และทิศทางเศรษฐกิจของ ประเทศ เช่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสาขาวิชาดิจิทัลเทคโนโลยี และสาขาวิชานวัตกรรมอาหาร คณะ นิเทศศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบและผลิตสื่อดิจิทัล และสาขานิเทศศาสตร์การตลาดดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data Management) และล่าสุดเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ได้เปิ ดตัว หลักสูตร “ธุรกิจเกมและอีสปอร์ต” เป็นหลักสูตรแรกในประเทศไทยที่เน้นต่อยอดในเชิงธุรกิจ