“ธุรกิจบัณฑิต”แนะคนรุ่นใหม่เรียนคณะที่ตอบโจทย์ New S Curve

อย่างที่ทราบกันดีว่า รัฐบาลได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง ตามโมเดล Thailandซึ่งมีอุตสาหกรรมที่เป็น New S Curve ใน 5กลุ่มอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันประเทศไทยกำลังเดินหน้าสู่ยุค การปฎิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล หรือ “Digital Transformation” อย่างเต็มรูปแบบด้วยเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ รายงานจากไมโครซอฟท์และไอดีซี เอเชียแปซิฟิก เผยว่า การปฎิรูปธุรกิจด้วยดิจิทัล จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ของไทย สูงราว 2.82 แสนล้านบาท ภายในปี 2564 และขับเคลื่อนให้อัตราการเติบโตของ GDP เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยราว 0.4% ต่อปี

 

ขณะเดียวกัน ผู้บริหารในประเทศไทย ยังเชื่อว่าตำแหน่งงานกว่า 95% จะมีเนื้องานหรือขอบเขตการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วง 3 ปีข้างหน้านี้ ด้วยผลกระทบจากปรากฏการณ์ Digital Transformation โดยตำแหน่งงานถึง 65% จะมีมูลค่าและความต้องการด้านทักษะเพิ่มสูงขึ้น หรือปรับเปลี่ยนรูปแบบไปในทิศทางใหม่ เพื่อให้ตอบรับความต้องการของสังคมยุคดิจิทัลไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทคโนโลยี AI / Robot / Machine Learning ที่จะมี

แน่นอนว่า กระแสการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและการจ้างงานของอุตสาหกรรมต่างๆ เป็นความท้าทายของภาคการศึกษา ที่จะต้องสร้างบุคลากรที่สามารถป้อนเข้าสู่ตลาดงานที่อุตสาหกรรมที่เป็น New S Curve ต้องการ ขณะเดียวกันทางฝั่งนักศึกษาเองก็จะต้องเลือกที่จะเรียนรู้ในคณะที่ภาคธุรกิจต้องการในอนาคต พร้อมกับสามารถนำไปต่อยอดได้อย่างไม่ล้าสมัย

 

ผศ.ดร.ณรงค์เดช กีรติพรานนท์ คณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต

ได้ให้ความเห็นถึงโลกการศึกษายุคใหม่และการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาในงานเสวนาDigital Workforce ในหัวข้อ Digital Skill & Futute Jobs ว่า ปัจจุบันภาคการศึกษาต้องปรับตัวเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมอื่นๆ เพื่อตามให้ทันยุค Digital Age ที่เกิดการ Disrupt อย่างมากมาย เพื่อสร้างการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ตลาดงานในอนาคต เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า ในปัจจุบันมีอาชีพใหม่ๆเกิดขึ้นอย่างหลากหลายจากเทคโนโลยีดิจิทัล ยกตัวอย่างเช่น อาชีพ Youtuber เป็นการสร้างรายได้จากการทำคลิป เป็นต้น ซึ่งเป็นอาชีพที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน แต่เมื่อย้อนกลับไปซัก 10 ปีก่อน ก็ยังไม่มีอาชีพนี้

 

เมื่อเป็นเช่นนี้ ทางภาคการศึกษา จะต้องมองให้ออกว่า จะ “สร้างคน” เพื่อรองรับงานในอนาคต หรือ Future Job ได้อย่างไร เพราะอาชีพที่เคยมีอยู่ในวันนี้ แต่เมื่อนักศึกษาเรียนจบในอีก 4 ปีข้างหน้า อาชีพหรือตำแหน่งงานที่เคยมองไว้ อาจจะไม่มีอยู่แล้วก็ได้ ในขณะเดียวกันในฝั่งผู้เรียนหรือนักศึกษาเอง จะต้องเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่โลกแห่งการเรียนรู้ในยุค 4.0 โดยจะต้องมีการวิเคราะห์, สังเคราะห์ และการลงมือทำ เพราะเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้ในอนาคต

นอกจากนี้ หากมองในด้านอาชีพที่ทางรัฐบาลกำลังสนับสนุนให้เป็น New S Curve ที่มีอยู่ 5 อุตสาหกรรมนั้น เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่นักศึกษารุ่นใหม่ควรตระหนักและให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะการเลือกเรียนในคณะที่เกี่ยวข้อง เชื่อว่าเมื่อเรียนจบออกไปจะเป็นที่ต้องการของตลาดงานในอนาคตอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics) ที่จะเข้ามาช่วยยกระดับการผลิตในประเทศไทย อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) ซึ่งยังคงเป็นเป้าหมายสำคัญที่จะก้าวไปเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ในอาเซียน รวมไปถึงอุตสาหกรรมการบิน และโลจิสติกส์ ซึ่งเป้าหมายของประเทศไทยคือเป็นฮับ โลจิสติกส์ ในภูมิภาคอาเซียน ทั้งระบบรางและการบิน แน่นอนว่าอุตสาหกรรมเหล่านี้จำเป็นจะต้องใช้บุคลากรจำนวนมากในการขับเคลื่อน

“ต้องยอมรับว่า การเลือกเรียนในสาขาวิชาที่ตลาดต้องการในอนาคต เป็นเรื่องที่สำคัญ โดยทางมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตเอง มีคณะที่สามารถตอบโจทย์ New S Curve ได้ทั้งในส่วนของ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ที่วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ เปิดสอนในหลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และหลักสูตรวิศวกรรมการจัดการและโลจิสติกส์ ขณะที่วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ ซึ่งจะตอบโจทย์ในเรื่องการแพทย์และสุขภาพ แน่นอนว่าหลักสูตรเหล่านี้ เริ่มเรียนในวันนี้ อีก 4 ปีข้างหน้า ก็ยังไม่ล้าสมัย แต่จะยิ่งมีความสำคัญกับอุตสาหกรรมของประเทศไทยในอนาคตอย่างมาก”

สำหรับรูปแบบการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต ในปัจจุบันนั้น จะเน้นหลักสูตรการเรียนการสอนให้บัณฑิตที่จบการศึกษาออกไปให้ทันยุคตลาดงานในอนาคต โดยในส่วนของวิทยาลัยเองก็มีถึงสามส่วนในNew S Curve ของ THAILAND 4.0 โดยเฉพาะเทคโนโลยีมาแรงอย่างสาขาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งในอนาคตจะมีการนำหุ่นยนต์มาใช้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า นั่นหมายถึงความต้องการคนที่จะเข้ามาดูแลระบบหุ่นยนต์เพิ่มขึ้นด้วยเช่นเดียวกัน

สุดท้าย ผศ.ดร.ณรงค์เดช ฝากถึงนักศึกษารุ่นใหม่ว่า นอกจากจะเรียนรู้ในสิ่งที่ตลาดงานต้องการในอนาคตแล้ว ควรมีแนวคิดในแบบของผู้ประกอบการ เพราะหากมองไปถึงไอเดียในการทำธุรกิจของคนไทย ในช่วงที่ผ่านมายังเห็นถึงความสำเร็จค่อนข้างน้อย จากสถิติของการทำธุรกิจหรือผลิตสินค้าเป็นของตัวเอง จะพบว่า จากจำนวนคนที่คิดจะทำธุรกิจของตัวเอง 100 คน มาถึงกระบวนการทำ Prototype ประมาณ 30 คน จากนั้นสามารถทำออกมาเป็นรูปธรรม10 คน และทำได้ในปีแรกเหลือ 5 คน แต่อีก 3 ปีถัดไป เหลือรอดเพียงแค่ 1 คน หรือ คิดเป็นสัดส่วนเพียง 1% เท่านั้น

“การสร้างคนให้เป็นเจ้าของธุรกิจ หรือ สตาร์ท อัพนั้น อาจจะไม่ประสบความสำเร็จมากนักในประเทศไทย แต่สิ่งที่เราจะได้ คือ คนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิดแบบผู้ประกอบการ ซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมไทยกำลังต้องการ ดังนั้นการจะมองว่า เราล้มเหลวตั้งแต่เริ่มต้น ณ เวลานี้ หรือ วัยที่กำลังเรียนรู้ ถือว่าเป็นเรื่องปกติ และเราสามารถล้มกี่ครั้งก็ได้ พอล้มก็จับตลาดใหม่ มองหาอะไรใหม่ๆ สุดท้ายเชื่อว่า คนที่มีความพยายาม จะหาสิ่งที่ทำแล้วประสบความสำเร็จจนเจอ ทุกวันนี้ก็มีสตาร์ทอัพ ในประเทศไทยหลายๆรายที่เป็นตัวอย่างให้เห็นอยู่นับร้อยนับพันราย”