คำถามสะท้อนภาพ ‘ลีกวนยูมองจีน’

ลี กวน ยู รัฐบุรุษคนสำคัญของสิงคโปร์ ผู้เปลี่ยนแปลงซากอาณานิคมล้าหลังห้กลายเป็นประเทศที่พลเมืองมีความกินดีอยู่ในระดับต้นของโลกได้เพียงหนึ่งชั่วคน หลายคนอาจจะบอกว่าขนาดของประเทศและของประชาชนมีส่วนช่วย แต่ก็ยังมีให้เห็นอีกหลายประเทศที่มีพื้นที่ไม่ต่างกับสิงคโปร์ แต่ก็ยังเป็นประเทศที่เดินไปไหนยังไม่ไกล…

1266369_10151977550181518_1396268512_oหนังสือเล่มใหม่ ‘LEE KUAN YEW : The grand master’s insights on China, the United States, and the World’ ซึ่งเป็นการรวมบทสัมภาษณ์ในที่ต่างๆ ของลีกวนยู โดยใช้การพูดคุยระหว่างลีกวนยูกับนักวิจัยจาก belfer center for science and international Affairs จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเป็นแกนกลางในการเดินเรื่อง

สื่อที่ไม่ใช่กระแสหลักหลายค่ายทั้งในและต่างประเทศ โดย ‘Siam Intelligence’ หยิบบทสัมภาษณ์ที่เต็มไปด้วยคมความคิดของลีกวนยู ขึ้นมานำเสนอ ด้วยบทวิเคราะห์เจาะลึก ‘ขอดเกร็ดพญามังกร’ อย่างตรงไปตรงมา

หนังสือเล่มนี้ได้ เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ และอดีตประธานสภาความมั่นคงสมัยประธานาธิบดี นิกสันและฟอร์ด มาเขียนคำนิยม ให้รู้ว่ามุมมองแบบไหนที่ ‘ถูกใช้’และ ‘ได้รับการยอมรับ’ ในแวดวงนักนโยบายของเวทีการเมืองระหว่างประเทศ

และแน่นอนความคิดเห็นของลีที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และเหล่าผู้เชี่ยวชาญสหรัฐฯ เข้าพบลีกวนยูนั้น จะเป็นเรื่องอื่นไปไม่ได้ นอกจากความคิดเห็นเรื่องร้อนแรงอย่าง “จีน” และ “อนาคตของจีน”และแน่นอนความคิดเห็นของลีที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และเหล่าผู้เชี่ยวชาญสหรัฐฯ เข้าพบลีกวนยูนั้น จะเป็นเรื่องอื่นไปไม่ได้ นอกจากความคิดเห็นเรื่องร้อนแรงอย่าง “จีน” และ “อนาคตของจีน”และแน่นอนความคิดเห็นของลีที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และเหล่าผู้เชี่ยวชาญสหรัฐฯ เข้าพบลีกวนยูนั้น จะเป็นเรื่องอื่นไปไม่ได้ นอกจากความคิดเห็นเรื่องร้อนแรงอย่าง “จีน” และ “อนาคตของจีน”และแน่นอนความคิดเห็นของลีที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และเหล่าผู้เชี่ยวชาญสหรัฐฯ เข้าพบลีกวนยูนั้น จะเป็นเรื่องอื่นไปไม่ได้ นอกจากความคิดเห็นเรื่องร้อนแรงอย่าง “จีน” และ “อนาคตของจีน”และแน่นอนความคิดเห็นของลีที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และเหล่าผู้เชี่ยวชาญสหรัฐฯ เข้าพบลีกวนยูนั้น จะเป็นเรื่องอื่นไปไม่ได้ นอกจากความคิดเห็นเรื่องร้อนแรงอย่าง “จีน” และ “อนาคตของจีน”มุมมองที่ลีกวนยู มีต่อทั้งประเทศจีนและสหรัฐอเมริกา บทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ได้สะท้อนความคิดเห็นที่ลีกวนยูมีต่อประเทศจีนได้อย่างแจ่มชัด

1.คำถาม : จีนต้องการแทนที่สหรัฐฯเพื่อเป็นที่ 1 แทนในเอเชียใช่หรือไม่?

ลีตอบ : จีนต้องการขึ้นเป็นที่ 1 แทนสหรัฐฯอย่างแน่นอน ไม่ต้องสงสัยในเรื่องนี้เลย โกลด์แมนแซคทำนายว่าในอีก 20 ปีข้างหน้าด้วยอัตราขนาดนี้ เศรษฐกิจจีนจะมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก จีนกำลังไล่ตามสหรัฐฯทั้งการส่งคนขึ้นไปบนอวกาศ และใช้มิสไซล์ยิงดาวเทียม แล้วพวกเขายังมีวัฒนธรรมอายุ 4,000 ปี คนอีก 1.3 พันล้านคน เอาแค่ส่วนน้อยในนี้ก็สามารถดึงกลุ่มอัจฉริยะมาได้ไม่รู้เท่าไหร่แล้ว

ตลาดของคน 1.3 พันล้านคนนี้ มีขนาดใหญ่เกินกว่าจะปฏิเสธได้ และทั้งรายได้และกำลังซื้อมีแต่จะเพิ่มมากขึ้น แต่จีนจะไม่มีวันเป็นอย่างประเทศตะวันตกเด็ดขาด จีนต้องการให้ประเทศตะวันตกยอมรับจีนในเรื่องนี้

2.คำถาม : ถ้าจีนเป็นมหาอำนาจได้จริง จีนจะเป็นอย่างไร?lee kuan yew with xi jinping[1]

 ลีตอบ : ในความคิดของจีน แต่เดิมมาจีนคือ “อาณาจักรกลาง” (จงกั๋ว) ในเอเชียสมัยโบราณ จีนเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค และประเทศอื่นรอบจีนต้องยอมรับอำนาจของจีน (เช่น การส่งบรรณาการมาคำนับ)

ไม่มีใครในเอเชีย (หรืออาเซียน) จะแน่ใจได้ว่าจีนจะทำตัวแบบเดียวกับสหรัฐฯแบบที่เคยเป็นมา จีนต้องการให้ประเทศอื่นในเอเชียให้ความเคารพนับถือจีน จีนอาจจะพูดว่าไม่ว่าประเทศจะใหญ่หรือเล็กต่างก็เท่าเทียมกัน แต่ในความเป็นจริงหากเราทำอะไรที่ทำให้จีนไม่พอใจ จีนก็จะบอกว่าคุณกำลังทำให้คน 1.3 พันล้านไม่พอใจนะ ช่วยรู้ที่รู้ทางของคุณด้วย

3.คำถาม : ยุทธศาสตร์ของจีนที่จะเป็นที่ 1 คืออะไร?

ลีตอบ : จีนจะไม่ท้าทายสหรัฐฯโดยตรง เพราะในขณะนี้สหรัฐฯมีความเข้มแข็งทางการทหาร และเทคโนโลยีที่เหนือกว่า แต่จีนจะใช้จำนวนคนที่มากกว่า ที่มีทั้งฝีมือและการศึกษาในการขายของถูก สร้างของถูก กว่าคนอื่นๆ

จีนเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของ เยอรมนี และ ญี่ปุ่น ที่ไปท้าทายระเบียบโลกในขณะนั้นโดยตรง จึงต้องประสบหายนะ ซึ่งจีนไม่โง่ และจีนจะใช้รายได้ประชาชาติ GDP ไม่ใช่รายได้ประชาชาติต่อหัว (จีนไม่สนใจรายได้ต่อคน เท่ากับรายได้ประเทศโดยรวม) เป็นอำนาจในการต่อรอง

แม้ขีดความสามารถทางการทหารของจีนจะไม่สามารถทัดเทียมกับสหรัฐฯในเวลาอันใกล้ แต่จีนจะพัฒนามาตรการแบบไม่สมมาตร (asymmetrical means) เพื่อทอนกำลังทหารของสหรัฐฯลง

จีนเข้าใจเป็นอย่างดีว่า การเติบโตของตนนั้นขึ้นกับการนำเข้า พลังงาน วัตถุดิบ และ อาหาร ดังนั้นจีนต้องการเส้นทางขนส่งทางทะเล สิ่งที่ปักกิ่งกังวลที่สุดคือ ‘ช่องแคบมะละกา’

จีนสามารถรอได้ถึง 30-50 ปี ที่จะใช้ช่วงเวลานี้ค่อยๆ สั่งสมกำลังทั้งทางเศรษฐกิจและทางทหารอย่างสันติ เปลี่ยนระบบเศรษฐกิจรวมศูนย์แบบคอมมิวนิสต์ ให้กลายเป็นระบบเศรษฐกิจแบบตลาด

จีนจะไม่เดินซ้ำรอย เยอรมนีและญี่ปุ่น ส่วนข้อผิดพลาดของโซเวียตก็คือ พวกเขาให้ความสำคัญกับการใช้จ่ายทางทหารมากจนเกินไป และให้ความสนใจกับเทคโนโลยีของพลเรือนน้อยเกินไป ดังนั้นเศรษฐกิจของโซเวียตจึงล่มสลาย ผู้นำจีนรู้ดีว่าถ้าเมื่อไหร่จีนไปแข่งขันสะสมอาวุธกับอเมริกา จีนจะหมดตัวทันที

ดังนั้นจีนจะยอมก้มหัวให้ในช่วงนี้ ยิ้มรอเวลาอีก 40-50 ปี หรือนานกว่านั้นก็ได้! เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ จีนจะมุ่งเน้นเรื่องการศึกษาให้กับเยาวชน โดยคัดเลือกคนที่มีสติปัญญาสูงสุด ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้ง เศรษฐกิจ การบริหารธุรกิจ และภาษาอังกฤษ

สำหรับยุทธศาสตร์ของจีนต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็มีง่ายๆ คือ “มาเติบโตกับเราสิ”

จีนจะดึงดูดประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าไปในขอบเขตอิทธิพลของตน ด้วยอำนาจอันล้นเหลือทางเศรษฐกิจ เพราะขนาดตลาดของจีนและกำลังซื้อของจีนจะมีขนาดใหญ่จนยากปฏิเสธได้ แม้แต่ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ก็จะถูกจีน “กลืน” อย่าง “สันติ”

ประเทศอื่นในเอเชียยังอยากให้สหรัฐฯอยู่ในเอเชียแปซิฟิกเพื่อคานอำนาจจีน อันที่จริงสหรัฐฯ ควรจะสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษกับประเทศอื่นในเอเชีย ให้สำเร็จก่อนหน้านี้สัก 30 ปี แต่ตอนนี้สายไปเสียแล้ว

จีนจะเน้นย้ำว่าพวกเขาจะใช้มาตรการทางเศรษฐกิจในการขยายเขตอิทธิพลของตนในเอเชีย ดังนั้นเครื่องมือที่พวกเขาจะใช้ในขณะนี้คือ เวทีทางการทูต ไม่ใช่การใช้กำลังทางทหาร

 4.คำถาม : จุดอ่อนของจีนมีอะไรบ้าง?

ลีตอบ : ตอนนี้จุดอ่อนภายในของจีนอยู่ที่ วัฒนธรรม, ภาษา และการไม่สามารถดึงดูดผู้ที่มีพรสวรรค์จากต่างประเทศ รวมทั้งระบบการปกครองChina[2]

ภาษาอังกฤษเป็นภาษาของโลกไปแล้ว ต่อให้จีนเปิดรับให้มีผู้ย้ายถิ่นเข้าไปในประเทศได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าคนเลือกได้ก็จะเลือกไปอเมริกามากกว่า การจะอยู่อาศัยในจีนได้ต้องใช้ภาษาจีน และระบบภาษาจีนนั้นยุ่งยากกว่ามาก

สิงคโปร์เป็นคนเชื้อชาติจีนเหมือนกัน แต่สิงคโปร์จงใจเลือกภาษาอังกฤษเป็นหลัก และภาษาจีนเป็นรอง เพื่อทำให้คนสิงคโปร์สามารถเชื่อมตัวเองเข้ากับโลกได้ และสามารถเข้าถึงวิทยาการและนวัตกรรมที่ล้ำหน้า

การเข้าถึงเรื่องนี้ไม่ใช่แค่ผ่านตัวภาษา แต่ยังเป็นระบบคิดที่ถูกครอบด้วยตัวภาษาอังกฤษอีกชั้นหนึ่ง เคยแนะนำผู้นำจีนเรื่องนโยบายภาษานี้ แต่จีนมีวัฒนธรรมและความภาคภูมิใจที่เข้มแข็งเกินกว่าจะทำเช่นเดียวกับสิงคโปร์ได้

ในแง่วัฒนธรรม แม้จีนจะสามารถไล่กวดทันสหรัฐฯในแง่เศรษฐกิจ แต่ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมจะไม่สามารถไล่ทันอเมริกาได้เลย เพราะจีนมีวัฒนธรรมที่จะไม่ยอมให้มีการแลกเปลี่ยน หรือแข่งขันทางความคิดอย่างเสรี

ให้คิดถึงตรรกะง่ายๆ ที่ว่า เป็นไปได้อย่างไรที่ประเทศที่มีประชากรมากกว่าอเมริกาถึงสี่เท่า แถมยังมีผู้คนที่มีความสามารถเต็มไปหมด แต่กลับไม่สามารถคิดเทคโนโลยีที่ล้ำยุคออกมาได้เลย?

ธรรมเนียมของจีนนั้นเมื่อส่วนกลางเข้มแข็ง ส่วนภูมิภาคจะอ่อนแอ และในทำนองกลับกันส่วนภูมิภาคเข้มแข็งเมื่อไหร่ ส่วนกลางก็จะอ่อนแอ

เมื่อส่วนกลางอ่อนแอ “จักรพรรดิก็จะอยู่ห่างออกไปและภูเขาก็จะสูงชันขึ้น” สิ่งเดียวที่จีนกลัวก็คือ การที่จีนจะคุมมวลชนของตนไม่อยู่ จีนรู้ว่าจะเกิดเรื่องนี้ขึ้นแต่ไม่รู้ว่าจะเป็นเมื่อใด

นอกจากนี้ก็มีปัญหาเรื่องขนาดอันใหญ่โตของประเทศ ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ย่ำแย่ ความอ่อนแอของสถาบัน ผลตกค้างของระบบเศรษฐกิจที่ผิดพลาดของโซเวียตที่จีนเคยนำมาใช้

ปัญหาใหญ่ที่สุดของจีนคือ ความแตกต่างระหว่างเมืองแถบชายฝั่งทะเลที่ร่ำรวย และเมืองในเขตที่ลึกเข้ามาในพื้นทวีปที่ยากจน (รวมทั้งความเหลื่อมล้ำในตัวเมืองเหล่านั้นด้วย) สิ่งเหล่านี้จะกลายเป็นปัจจัยทำให้เกิดการจราจลและอาจลุกลามบานปลายได้

เทคโนโลยีจะทำให้ระบอบการปกครองของจีนล้าสมัย ภายในอีก 20 ปีข้างหน้า (2030) เมืองต่างๆ ของจีนจะต้องรองรับประชากรราว 70-75%

คนเหล่านี้จะมีทั้ง โทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต ทีวีดาวเทียม เข้าถึงความรู้จากนอกประเทศได้ สามารถจัดตั้งกันเองได้ พอเมื่อเป็นดังนั้นแล้วระบบการปกครองแบบปัจจุบันจะใช้ไม่ได้อีก การตรวจสอบสอดส่องคนต่างๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันก็ทำไม่ได้ เพราะมีคนมากเกินไปที่จะทำได้ทั่วถึง

แต่จีนอาจผ่อนปัญหานี้ลงไปได้บ้างถ้าใช้วิธีแบบ “สัมฤทธิผลนิยม” คือยังคงใช้ระบบควบคุมอย่างเข้มงวด เหมือนที่จีนทำอยู่แล้ว ไม่อนุญาตให้มีการจราจล ไม่อนุญาตให้มีการประท้วง แล้วค่อยๆ โอนอำนาจให้กับท้องถิ่น และคนชั้นล่างลงไป

5.คำถาม : จะใช้เวลานานเท่าใด จีนถึงจะบรรลุเป้าหมายการเป็นผู้นำโลก?

ลีตอบ : จีนไม่เร่งรีบที่จะเป็นหมายเลข 1 ของโลกแทนสหรัฐฯ การมีพื้นที่อยู่ใน G20 (กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ 20 แห่ง หรือ The Group of Twenty Finance Ministers and Central Bank Governors) ก็โอเคสำหรับจีน ในกลุ่มนี้มุมมองของจีนก็จะถูกรับทราบอย่างชัดแจ้ง และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจก็ได้รับการปกป้อง แต่ต้นทุนในการรับผิดชอบก็จะกระจายออกไปให้กับอีก 19 ประเทศที่เหลือด้วย

ชนชั้นนำจีนแม้ว่าจะมีมุมมองที่ค่อนไปทางระมัดระวังตัวและอนุรักษ์นิยม แต่พวกเขาก็จะทำงานบนพื้นฐานของฉันทามติมากกว่าการโหวต และด้วยมุมมองระยะยาว

ดังนั้นศตวรรษที่ 21 ก็อาจเป็นศตวรรษของจีนก็ได้ หรือแชร์ร่วมกันกับสหรัฐก็ได้ แต่หลังจากนั้นศตวรรษของจีนก็จะตามมาอยู่ดี

 6.คำถาม : จีนมองบทบาทของสหรัฐในเอเชียอย่างไร?

ลีตอบ : จีนไม่เคยประมาทศักยภาพของประเทศอย่างสหรัฐอเมริกา ที่สามารถครองความเป็นผู้นำในภูมิภาคต่อเนื่องกันถึงเจ็ดทศวรรษ นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐยังประกันเสถียรภาพด้านความมั่นคงให้กับ Lee Kuan Yew Singaporeans people dogs[1]ญี่ปุ่น ประเทศเสือเอเชียทั้งหลาย รวมถึงจีนเองด้วย

จีนทราบดีว่าพวกเขายังต้องการตลาดของสหรัฐฯ เทคโนโลยีของสหรัฐฯ และการส่งนักศึกษาจีนไปเรียนต่อสหรัฐฯ เพื่อนำเอาความรู้ล้ำหน้าที่สุดของโลกกลับมาใช้ยังจีน ดังนั้นจีนมองไม่เห็นประโยชน์ที่จะไปต่อกรกับสหรัฐฯในช่วง 20-30 ปีนับจากนี้

ตรงข้ามจีนจะยอมรับระเบียบโลกที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ค่อยๆ รอเวลาที่เข้มแข็งพอที่จะ “นิยาม” ระเบียบการเมืองและเศรษฐกิจโลกขึ้นมาใหม่

7.คำถาม : จีนจะยังเติบโตด้วยตัวเลขสองหลักต่อไปได้อีกหรือไม่?

ลีตอบ : สามทศวรรษที่ผ่านมาจีนเติบโตในอัตราเฉลี่ย 10% ต่อปีบางครั้งถึง 12% ซึ่งเป็นการเติบโตที่ไม่ธรรมดา จีนน่าจะยังคงการเติบโตในอัตรานี้ได้อยู่ในทศวรรษข้างหน้า เพราะจีนมาจากฐานการเติบโตที่ต่ำ และจำนวนผู้บริโภคขนาด 1.3 พันล้าน จะช่วยเพิ่มการเติบโตได้แน่

8.คำถาม : จีนจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่?

ลีตอบ : จีนไม่มีทางเป็นประเทศที่เป็น “เสรีประชาธิปไตย” เพราะจีนจะล่มสลายทันที

ปัญญาชนจีนเองก็ตระหนักเรื่องนี้ดี การปฏิวัติประเทศให้เป็นประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นยาก ให้ดูขบวนนักศึกษาสมัยเทียนอันเหมิน เดี๋ยวนี้พวกเขาหายไปไหนแล้ว คนจีนต้องการให้จีนฟื้นกลับมาสู่ความยิ่งใหญ่ต่างหาก…

ชนชั้นนำจีนจะยอมรับเทคนิคใหม่ๆ ยกเว้นเส้นทางประชาธิปไตย ที่อนุญาตให้มีการลงคะแนนเสียงเท่ากันทุกคน และระบบหลายพรรคการเมือง เพราะพรรคคอมมิวนิสต์ต้องการควบคุมเสถียรภาพทางการเมือง และพวกเขาไม่ต้องการให้เกิดเหตุการณ์ที่มีขุนศึกควบคุมเขตต่างๆ ในท้องถิ่นอย่างในสมัยทศวรรษ 1920 และ 1930

 9.คำถาม : แล้วจีนจะเป็นที่ 1 ได้ไหม
ลีตอบ : จีนต้องตระหนักว่าศักยภาพตนเองอยู่ที่เศรษฐกิจไม่ใช่การทหาร จีนมีกำลังคนมากและสามารถผลิตของได้ถูกกว่าใครในโลก อิทธิพลของจีนในแง่นี้จะเติบโตมากขึ้นและมากขึ้นจนเกินศักยภาพ

ถ้าผู้นำของจีนที่ถูกเลือกขึ้นมาไม่ตระหนักถึงแนวทางนี้ ซึ่งมีลักษณะ ‘สัมฤทธิผลนิยม’ มากกว่าเป็นไปตามอุดมการณ์ทางการเมือง โอกาสที่ว่านี้มีสัก 20% และโอกาสนี้ก็อาจจะเพิ่มมากขึ้น เพราะจีนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของระบบการเมืองภายใน วัฒนธรรมทางธุรกิจ การลดปัญหาการคอร์รัปชั่น และการสร้างแนวคิดใหม่ๆ ขึ้นมา

ศตวรรษที่ 21 เป็นศตวรรษที่ฟื้นกลับคืนมาของเอเชียในโลก มีหายนะที่อยู่ในการคาดการณ์น้อยเต็มทีที่จะทำให้จีนแตกเป็นเสี่ยง และกลับไปเป็นประเทศที่มีพวกขุนศึกคอยรบกันอีก

จีนจะต้องตระหนักถึงเรื่องการศึกษากับประชาชนของตนในการเข้าถึงวิทยาการและเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า เพื่อที่จะทำให้สังคมเป็นอุตสาหกรรมเต็มรูปแบบในก้าวแรก ถัดจากนั้นก็จะบรรลุถึงสังคมไฮเทคโนโลยีในก้าวถัดไป กระบวนการทั้งหมดนี้อาจใช้เวลา 50-100 ปี

 

ธเนศ ศรีสุข