บนสนามธุรกิจของ “พงศ์พรหม ยามะรัต” หนุ่ม IT หัวใจ NGO

บนโลกที่ทุกสิ่งขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี และผู้บริโภคเองก็ต้องการทางเลือกใหม่ ๆ ที่สะดวก ยืดหยุ่นสูงและราคาที่ถูกลง ครั้งนี้ Business+ ได้มีโอกาสพูดคุยกับ “พงศ์พรหม ยามะรัต” ในโอกาสเข้ามาแนะนำ ซอฟต์แวร์ตัวใหม่ “WPS Office” ซอฟต์แวร์สัญชาติจีน ที่พร้อมลงสนามธุรกิจสู้ศึกเต็มกำลัง

พงศ์พรหม ยามะรัต เล่าถึงจุดเริ่มต้นของธุรกิจซอฟต์แวร์ตัวใหม่ ที่เจ้าตัวลงทุนเข้าไปคุยกับบริษัทแม่ที่ประเทศจีนด้วยตัวเองว่า โดยปกติแล้วซอฟต์แวร์ที่ใช้กันในประเทศไทย คือไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง แน่นอนว่า สำหรับประเทศที่กำลังพัฒนาการที่ต้องซื้อซอฟแวร์ราคาระดับนี้ มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกตัวในองค์กร ยังคงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถลงทุนได้เท่าที่ควร

เมื่อประมาณ 3 ปีที่แล้ว พงศ์พรหม จึงเริ่มหาข้อมูลและพบกับ WPS Corporation ในเครือคิงซอฟท์ คอร์ปอเรชั่น (Kingsoft Corporation) เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ชั้นนำผู้ให้บริการ WPS Office ของจีน และอยู่อันดับที่ 2 ของโลก จากทั้งหมดมีถึง 17 แบรนด์ทั่วโลก ตัวซอฟต์แวร์ทั้งแบบเสียค่าใช้จ่ายและโอเพ่น ออฟฟิศ ซึ่งในต่างประเทศจะมีทางเลือกค่อนข้างเยอะ แต่ประเทศไทยกลับอยู่ในกรอบที่มองว่าไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ คือแบรนด์เดียวที่ทำธุรกิจซอฟต์แวร์

“ผมจึงเดินทางไปปักกิ่ง เพื่อหาคอนเนคชันและสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ คำแรกที่ผมพูด คือผมไม่ได้มาเป็นตัวแทน แต่ผมต้องการเป็นบริษัทแรกในประเทศไทย ที่เข้ามาสร้าง Eco System ในประเทศไทย และสอง คือสร้างระบบความคิดใหม่ ที่จะไม่ใช้แค่อยู่ต่างประเทศอีกต่อไป ถ้าเข้ามาในไทยเราจะสร้างไฮเวย์ไว้ให้ และหากคุณรับคอนเนคชันนี้ได้ เราจะขอเป็นตัวแทนลงทุนด้วยเงินส่วนตัวด้วย และโชคดีที่ผู้บริหารฝั่งนั้นเข้าใจและยอมให้เจนเนอเรทด้วยคนไทย 100% หรือเป็นบริษัทสัญชาติไทย”

ทั้งนี้ WPS Office สำหรับสำนักงาน ปัจจุบันมียอดการ Download ทั่วโลกอยู่ที่ 2,000 ล้าน และมียอด Active Users ใช้งานเดือนละ 200 ล้านคน สามารถรองรับระบบปฏิบัติการทั้ง Windows, Linux, iOS บนมือถือ, Android ขณะที่มาร์เก็ตแชร์ของ PC อยู่ที่ 60% และในไทยเองจะใช้สปีชีส์เดียวกับต่างประเทศที่ค่อนข้าง Success

“เรามองว่าไม่ได้ต้องการที่จะมาแข่งกับไมโครซอฟท์ แต่กลับคิดว่ายังมีตลาดอีก 75% ที่เหลืออยู่ แน่นอนว่า มาร์เก็ตแชร์ อาจไปกระทบกับแบรนด์อันดับ 1 แต่สำหรับเราแค่มุ่งเป้าไปที่การทำตลาดให้สูงขึ้น”

สำหรับการทำตลาดในประเทศไทย พงศ์พรหม ยามะรัต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานตลาดและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท RMI Global Ventures ในฐานะเป็นบริษัทคู่ค้าและตัวแทนจำหน่ายโปรแกรม Thai WPS Office ได้วางโมเดลในระยะแรก คือการเจาะกลุ่มภาครัฐด้วยการปรับฟอนต์ไทย 13 ฟอนต์ ให้อยู่ในระบบทั้งหมด รวมทั้งเจาะกลุ่ม SME ไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งซอฟต์แวร์ที่ร่วมกันพัฒนาขึ้นนี้ มีจุดเด่นที่ดีไซน์เฉพาะการใช้งานของแต่ละองค์กร

“กลุ่มเป้าหมายของเรามี 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือ ธุรกิจ SME โจทย์คือ ทำอย่างไรที่จะสร้างออฟฟิศ ซอฟต์แวร์ ที่เทมเพลตการทำงานร่วมกันกับไอเดียที่เรารีเสิร์ชตลาดมากว่า 5-7 แสนไลเซนส์นั้นได้ ซึ่งการที่จะเดินทางไปถึง 4.0 ได้ แน่นอนมัลแวร์ที่หนีไม่ได้คือเรื่องของการทำบิ๊กดาต้า